ไป FUJI MOTORSPORTS MUSEUMกับ TOYOTA

โตโยต้าพาสื่อมวลชนไปดู FUJI MOTORSPORTS MUSEUM ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ของรถแข่งที่รวมรถแข่งในตำนานจากทั่วโลกถึง 40 คัน อายุกว่า 130 ปี ที่จากอดีตนำไปสู่วิวัฒนาการของรถในแต่ละยุคสมัย และเป็นรถที่หาดูได้ยาก มีหลากหลายยี่ห้อ ถือเป็นโอกาสอันดีของพวกเราที่มีโอกาสได้เข้าไปเยี่ยมชม ที่ประเทศญี่ปุ่น

ที่นี่เป็นพิพิธภัณฑ์มอเตอร์สปอร์ตที่มีโรงแรมFUJI Speed Way ตั้งอยู่และอยู่ติดกับสนามแข่ง FUJI Speed way ที่โด่งดังมองเห็นภูเขาไฟฟูจีชัดเจน ตั้งอยู่ที่เมือง OYAMA เขต Sunto จังหวัด Shizoka ประเทศญี่ปุ่น

เมื่อเดินเข้าพิพิธภัณฑ์สิ่งที่เห็นเด่นชัดก่อนที่จะผ่านช่องทางที่จะต้องเสียเงินก็คือ TOYOTA 7

Toyota 7 เป็นรถที่พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง Toyota Motor และ Yamaha Motor โดย มร. Jiro,Kawano ซึ่งเป็นผู้ออกแบบของทางโตโยต้า ออกแบบเพื่อใช้ในการแข่งขันตามกฎของ FIA เป็นโครงการรถแข่งที่สร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์โครงการแรกของโตโยต้า

โดยพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะแบ่งออกเป็น 3 ชั้น

ชั้นที่ 1 จะแสดงรถทางประวัติศาสตร์ความเป็นมาของมอเตอร์สปอร์ต

ชั้นที่ 2 จะเห็นวิวัฒนาการของรถมอเตอร์สปอร์ตแต่ละชนิดแต่ละรุ่น ที่ใช้ในการแข่งแรลลี่และพัฒนาจนสู่ยุคปัจจุบัน

ชั้นที่ 3 เป็นโซนขายของที่ระลึก มีร้านกาแฟ และเป็นล็อปบี้ของโรงแรม ชั้น 3 นี้มองไปเห็นสนามแข่งฟูจิสปีดเวย์ชัดเจนเลย

แล้วเราก็เดินทางเข้าชั้นหนึ่ง เจ้าหน้าทีที่นำเราเข้าไปคือคุณซาโต้ พร้อมคนแปล ทางเข้าก็เอาตั๋วแตะบาร์โคด ประตูก็จะเปิดให้เข้าไป

เริ่มแรกก็จะเป็นรถยุคประวัติศาสตร์ที่ใช้เครื่องจักร ไอน้ำ ใช้น้ำมันเบนซิน แล้วก็ใช้ไฟฟ้า

รถแข่งคันแรกปี1894 คือรถ M197 เป็นรถฝรั่งเศส มีเครื่องอยู่ข้างหน้าไปหมุนล้อหลัง เป็นรถขับเคลื่อนล้อหลังนั่นเอง

ฝรั่งเศสชอบแข่งรถ ที่นิยมเพราะถนนดีมาก สมัยก่อนเขานิยมปั่นจักรยานแข่งกันอยู่แล้ว และเมื่อมีรถการแข่งรถก็เกิดขึ้น

และผลจากการแข่งขัน องค์กรแข่งรถของฝรั่งเศสก็ให้การยอมรับว่าเครื่องเบนซินใช้ได้ดีกว่าอย่างอื่น ก็เลยหันมาใช้น้ำมันเบนซินกัน

รถยุคนั้นพวงมาลัยจะอยู่ตรงกลางเพื่อสะดวกในการมองเห็นซ้าย-ขวา

M197

Thomas Flyer Model L ปี 1909

Thomas Flyer Model L ปี 1909

Thomas Flyer Model L ปี 1909 ซึ่งเป็นรถอเมริกันใช้โฆษณาเพื่อขายรถ คันนี้เป็นเจ้าแรกที่แข่งขันแรลลี่รอบโลก ขับจากนิวยอร์คไปปารีส เพื่อดูประสิทธิภาพและความทนทานของรถโดยขับผ่านในเมืองและชนบท นี่คือหลักการขายของรถยนต์อเมริกา และทำให้รถคันนี้ก็เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก รถคันนี้ใช้น้ำมันเบนซิน

Ford 999

FORD 999 รถของอเมริกา สร้างเมื่อปี 1902โดยคุณเฮนรี่ฟอร์ดผู้ก่อตั้งฟอร์ดสร้างขึ้นมาเพื่อใช้้ในการแข่งขัน เป็นรถที่ทุกคนใช้ได้  เครื่องยนต์อยู่หน้า ขับเคลื่อนล้อหลัง

รถของอังกฤษ Sun Beam Grandprix 1923

รถของอังกฤษ Sun Beam Grandprix 1923

สร้าง ประมาณ 100 ปีมาแล้วเป็นรถ Grandprix เป็นรถต้นแบบรุ่นแรก สร้างขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ก็เลยเป็นสีเขียวเหมือนเครื่องบินของอังกฤษ รถรุ่นนี้ผลิตโดยบริษัทเครื่องบิน ตัวรถก็เลยเหมือนเครื่องบิน หลังจากนั้นบริษัทผลิตเครื่องบินก็เปลี่ยนมาผลิตรถยนต์แทน

1926 Bugatti Type 35 ลงแข่ง Grang prix world championship รถจากอิตาลี ช่วงนั้นสีประจำรถของอิตาลีคือสีฟ้า

เมอร์เซเดสเบนซ์ที่เป็นรถแข่งเบอร์ 20 รถแข่งของเยอรมัน สีก็จะเป็นสีเงิน CMC Mercedes-Benz w25แข่ง กรังด์ปรีซ์

มีมุมหนึ่งซึ่งเป็นประวัติการแข่งของเอเซียซึ่งมีญี่ปุ่นกับไทย

ของไทยเป็นรถแข่งของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช หรือพระเจ้าพีระในปี 1936-1939 ซึ่งพระองค์ทรงชนะเลิศการแข่งขันกรังด์ปรีซ์ในยุโรปหลายครั้งจนได้รับพระราชทานเหรียญดาราทอง(BROC Road Racing Gold Star)จากอังกฤษ 3 ปีซ้อน จนได้รับการถวายสมญานามว่าเจ้าดาราทอง ทรงใช้ชื่อในการแข่งขันว่า “B.Bira” หรือ พ.พีระ

ในปี 1936 พระองค์ทรงลงแข่ง โมนาโค กรังด์ปรีซ์

และในปี 1939 พระองค์ได้ลงแข่ง เลอมังส์ 24 ชั่วโมง และพระองค์คือนักแข่งไทยคนแรกที่ลงแข่งขันฟอร์มูล่าร์วัน

ต่อมาพระองค์ได้เตรียมที่จะจัดแข่ง Bangkok Grandprix  ในวันที่10 ธันวาคม 1939แต่ก็ต้องยกเลิก เพราะเกิดสงครามโลก

ปี 1960 เป็นปีที่มอเตอร์สปอร์ตเป็นที่นิยมกันมาก

ในปี 1966 ประมาณ 60 ปีมาแล้วเป็นปีที่ สนาม Fuji Speed way ถือกำเนิด และรถ สองคันนี้ก็ลงแข่ง เบอร์ 8,23

รถคันเบอร์ 8 คือรถ Toyota7 เป็นรถแข่งคันแรงและเป็นรถที่แข่งชนะหลายสนามแข่งในปี 1969

รถคันเบอร์ 23 คือนิสสัน 382 R เป็นรถปี 1969 ก็เป็นรถแข่งที่น่าประทับใจอีกหนึ่งคัน

และในปี 1969มีการจัดแข่งกรังด์ปรีซ์ อเมริกา-แคนาดาซึ่งการแข่งขันครั้งนี้ก็ได้มาจัดที่ฟูจิสปีดเวย์ รถ Toyota 7 ก็เข้าร่วมแข่งขันครั้งนี้ด้วย

หมดที่ชั้น หนึ่งแล้ว ก็ขึ้นไปที่ชั้นสองซึ่ง ชั้น สองเป็นมอเตอร์สปอร์ตแต่ละชนิดแต่ละรุ่นและเป็นรถแข่งแรลลี่

ขึ้นไปก็เจอ Porsche 904 Carerra GTX ซึ่งเป็นรถที่เข้าแข่งแรลลี่ที่อิตาลี

คันสีแดงคือ ALFA ROMEO รถแข่งของอิตาลี

และมีรถแข่งแรลลี่ 5 คันที่ เป็นรถญี่ปุ่นทั้งหมด และที่เห็นคือรถที่แข่งแรลลี่ซาฟารีที่เคนย่า

และมีรถแข่งแรลลี่ซาฟารีของนิสสันด้วยตอนนั้นใช้ชื่อว่า Datsun แข่งชนะแรลลี่ซาฟ่ารี 3 ครั้งที่โชว์เดิมเดิมเลยจากการแข่งขัน

Toyota Celicaแข่งแรลลี่ที่ออสเตรเลีย

ซูบารุปี 1996 เบอร์555 แข่งแรลลี่

Toyota Celica ลงแข่งแรลลี่ที่ ออสเตรเลีย

Mitsubishi Evolution III

เบนท์ลี่ส์คันนี้แข่งเลอมังส์ ที่ประเทศฝรั่งเศสเป็นปีแรกที่เบนท์ลี่ย์ส่งรถลงแข่งเลอมังส์ 24 ชั่วโมงเ สนามเลอมังส์แข่ง 24 ชั่วโมงเพื่อดูความทนทานและประสิทธิภาพของรถ และเริ่มให้ความสำคัญกับไฟหน้า เพราะต้องวิ่งตอนกลางคืน และปีนี้ 2023 สนามเลอมังส์ก็ครบรอบ 100ปีแล้ว

1991รถมาสด้า 787 B เป็นคันแรกที่ชนะเลิศเลอมังส์กรังด์ปรีซ์ที่อิตาลี ใช้เครื่องยนต์โรตารี่

โตโยต้า GT ONE ก็ลงแข่งขันแต่ได้ทีสอง

คันนี้คือรถ โตโยต้า TF 109ที่ลงแข่ง F1ซึ่งแข่งจนถึงปี 2009 การแข่ง F1 หนึ่งปีจะเปลี่ยนกฎหนึ่งครั้ง

1978มีFootWorkทีม เป็นทีมที่นิยมสูงมากในสมัยนั้นเอามาลงแข่งที่สนามฟูจิสปีดเวย์

นิสสัน Skyline GTR NISMO

Toyoya 2000 GT ได้รับรางวัลเรื่องของความเร็ว คันนี้ทำให้โตโยต้ามีชื่อเสียงมากในญี่ปุ่น และหลังจากนั้นก็พัฒนาเป็น 2000 GT เพื่อวางจำหน่าย แต่ปรับเปลี่ยนไฟหน้าเป็นป๊อปอัพ ผลิตแค่ 351 คันเท่านั้น และก็ขายหมดอย่างรวดเร็ว

Honda N8XR แข่งที่สนาม นูเบิร์กริง

รถแข่ง NASCAR คันนี้เป็นรถต้นแบบ Camry แข่งในสนามNASCAR ความเร็ววิ่งได้ถึง 400 กม/ชั่วโมง

อีกคันสีดำเครื่งยนต์โตโยต้าชนะเลิศที่อเมริกาปี 2002

ส่วน Toyota98 แข่ง 10 ครั้ง ชนะ 10 ครั้ง เริ่มแข่งปี 1991-1993 ชื่อรถ Eagle mark  III แข่งในรายการ อิมซ่าจีดีพี

คันนี้อยู่ในมุม รถแข่งรุ่นใหม่ของญี่ปุ่น ก็คือโตโยต้า ซูปร้า ปี2019 Toyota Gazoo Racing Team

และมาภาพล่าสุดพูดถึงการพัฒนารถในอนาคต ว่าเชื้อเพลิงชนิดใดถึงจะเหมาะสม

เมื่อ 130 ปีก่อน การแข่งขันก็เริ่มต้นจากรถที่ใช้น้ำมัน ไอน้ำและไฟฟ้า ซึ่งการแข่งขันก็เป็นจุดเริ่มต้นของมอเตอร์สปอร์ต และนำไปสู่การเลือกและพัฒนาเทคโนโลยี่ในแต่ละยุคสมัย

ปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์ทำงานเกี่ยวข้องกับนวัตกรรมทางเทคโนโลยี่ ในด้านพลังงานที่ตระหนักถึงความเป็นกลางทางคาร์บอน ผ่านเชื้อเพลิงชีวภาพ ไฟฟ้า และไฮโดรเจน และแหล่งพลังงานอื่นอื่น

และท่านประธาน AKIO TOYODA ของโตโยต้าก็ตระหนักถึงความเป็นกลางทางคาร์บอนเพื่อลดมลภาวะ

ในปี 2021 จึงใช้รถที่ใช้พลังงานไฮโดรเจนในการแข่งขัน รายการ 24 ชั่วโมง โดยมีทีมแข่งชื่อROOKIE Racing ทีม

โดยมอเตอร์ก็จะยังคงอยู่เพื่อการพัฒนารถให้ดียิ่งๆขึ้น เพราะการลงสนามแข่งจะได้เห็นถึงความทนทานความสมบุกสมบันของรถ

และได้เห็นเทคโนโลยี่ และการใช้เชื้อเพลิงว่าแบบไหนถึงเหมาะสม เพื่อเลือกเทคโนโลยี่ในอนาคตต่อไป ซึ่งก็จะเน้นสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

ความท้าทายครั้งใหม่สำหรับการขับเคลื่อนต่อไปได้เริ่มขึ้นแล้ว ภายในขอบเขตของมอเตอร์สปอร์ต

ธัญญลักษณ์ เสนีวงศ์​ ณ อยุธยา(Alongcaronline)

ผู้หญิงขับรถ

Facebook Comments