มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวียานยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊กอินไฮบริด
ตามรายงานสภาพภูมิอากาศโลกขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ระบุว่าอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกในปี 2563 ที่ผ่านมา มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นเกินกว่าค่าเฉลี่ยของระดับที่ปลอดภัยประมาณ 1.2 องศาเซลเซียส โดยตัวเลขดังกล่าวหมายถึง ‘ระดับที่ใกล้อันตราย’ ที่ต้องไม่สูงเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียส ตามที่เหล่านักวิทยาศาสตร์ได้กำหนดไว้ เพื่อป้องกันผลกระทบเชิงลบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้ตลอดระยะเวลาหกปีนับตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา เป็นช่วงเวลาที่โลกมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นมากเป็นประวัติการณ์ นับตั้งแต่ช่วงต้นของทศวรรษจนถึงปีนี้ยังถือเป็นปีที่โลกมีอุณหภูมิสูงที่สุดเท่าที่เคยปรากฏมาอีกด้วย(1)
ที่ผ่านมา มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น ได้ดำเนินการนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อร่วมรณรงค์ในการลดภาวะโลกร้อนและยังมุ่งมั่นส่งเสริมการขับเคลื่อนในแบบที่ยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของบริษัทฯ ที่ต้องการ ‘สร้างสรรค์สังคมให้ดีขึ้นด้วยสมรรถนะแห่งการขับเคลื่อน’ พร้อมด้วยพันธกิจด้าน ‘ความมุ่งมั่นพัฒนาเพื่อตอบแทนสังคมในแบบที่ยั่งยืน’ ด้วยเหตุผลดังกล่าว มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น จึงได้กำหนดแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมฉบับใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดทิศทางในการสร้างสรรค์สังคมให้ดียิ่งขึ้นในอีก 30 ปีข้างหน้า(2)
ทั้งนี้แผนงานด้านสิ่งแวดล้อมฉบับใหม่ ยังได้คำนึงถึงการประเมินวัฏจักรของยานยนต์ (Life Cycle Assessment หรือ LCA) ที่พิจารณาถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดกระบวนของขั้นตอนการผลิตรถยนต์ โดยการพิจารณาจะเริ่มตั้งแต่การผลิตชิ้นส่วนของรถยนต์ หรือ รถยนต์ทั้งคัน ตั้งแต่กระบวนการจัดหาวัตถุดิบสำหรับขั้นตอนการผลิตชิ้นส่วน การผลิตรถยนต์ การประกอบรถยนต์ การขับขี่ การผลิตเชื้อเพลิง และการกำจัด เพื่อทราบถึงปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดจากกระบวนการต่างๆ
โดยการประเมินวัฏจักรของยานยนต์ดังกล่าว ถูกนำมาใช้เพื่อการพัฒนาปรับปรุงในด้านความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้มีมากยิ่งขึ้น ทั้งในด้านกระบวนการผลิตชิ้นส่วน เทคโนโลยีการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า รวมทั้งรถยนต์รุ่นใหม่ต่างๆ โดยเปรียบเทียบกับปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการผลิตชิ้นส่วนและรถยนต์แบบดั้งเดิม มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี คือ ตัวอย่างสำคัญของรถยนต์ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้น้อยลงเมื่อเทียบกับรถยนต์แบบทั่วไป และยังช่วยรักษาสมดุลระหว่างการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของมนุษยชาติ ทั้งนี้การประเมินวัฏจักรของยานยนต์ยังได้ถูกนำไปใช้กับกระบวนการผลิตรถยนต์รุ่นปัจจุบัน เพื่อใช้ในการศึกษาถึงแนวทางการพัฒนารถยนต์รุ่นใหม่ๆ ในอนาคต รวมทั้งการปรับลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
และเมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ได้กำหนดแนวคิดในปีนี้ ได้แก่ ‘การฟื้นฟูระบบนิเวศ‘ โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อส่งเสริมให้ทุกคนปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่ที่มุ่งเน้นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และตระหนักถึงความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมร่วมฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์สำหรับคนรุ่นต่อๆ ไป โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต เพื่อร่วมกันลดการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติและหยุดการทำลายสิ่งแวดล้อม มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี เป็นหนึ่งในรถยนต์ที่มีอัตราการปล่อยไอเสียที่ต่ำ และยังถูกออกแบบขึ้นบนพื้นฐานของเทคโนโลยีแห่งอนาคตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเพียง 52.6 กม.ต่อลิตร(3) หรือ 1.9 ลิตรต่อ 100 กม.(3) ตามมาตรฐาน NEDC(4) และยังมีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับที่ต่ำเพียง 43 กรัมต่อกม.(3)
ทั้งนี้ มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี ยังเป็นรถยนต์แบบปลั๊กอินไฮบริดที่ขายดีที่สุดในโลก ที่มีจำหน่ายแล้วกว่า 60 ประเทศทั่วโลก ด้วยยอดจำหน่ายสะสมทั่วโลกมากกว่า 283,000 คัน เมื่อสิ้นสุดเดือนพฤษภาคมปี 2564 ที่ผ่านมา จึงถือเป็นยานยนต์ทางเลือกที่ดีที่สุดในปัจจุบันสำหรับการขับเคลื่อนที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะด้วยอุปสรรคและข้อจำกัดในด้านระยะทางการขับขี่ กอปรกับสถานีชาร์จไฟฟ้าที่มีอยู่อย่างจำกัด จึงส่งผลให้การใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (BEV) ยังคงมีอุปสรรคและข้อจำกัดอยู่มากมาย แม้ว่าจะปลอดจากมลภาวะทางอากาศก็ตาม
ทั้งนี้ มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี ยังเป็นรถยนต์รุ่นแฟล็กชิพที่สำคัญและแสดงถึงความเชี่ยวชาญของ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ทั้งในด้านเทคโนโลยีนวัตกรรมด้านพลังงานไฟฟ้า ยานยนต์อเนกประสงค์ และเทคโนโลยีระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ ที่ส่งผลให้ มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวีมอบประสบการณ์การขับขี่ที่นุ่มนวล มีความต่อเนื่องและเงียบ พร้อมอัตราการเร่งแซงที่ยอดเยี่ยมและทรงพลัง ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) และโดดเด่นด้วยเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี สามารถขับขี่ได้ทั้งในโหมดไฟฟ้า (EV) สำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน และยังสามารถเป็นรถยนต์แบบไฮบริด (HEV) สำหรับการเดินทางระยะไกล พร้อมสร้างความเพลิดเพลินให้แก่ผู้ขับขี่โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการหาสถานีชาร์จไฟฟ้า มั่นใจยิ่งขึ้นด้วยสมรรถนะอันยอดเยี่ยมของเทคโนโลยีมอเตอร์ไฟฟ้าคู่ ที่ทำงานร่วมกับระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ ซูเปอร์-ออลวิลล์คอนโทรล (S-AWC) ที่ช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถควบคุมรถยนต์ได้อย่างมั่นใจในทุกสภาพอากาศและทุกสภาพถนน
มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าจากตัวรถมาใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่มีขนาดสูงสุดถึง 1,500 วัตต์ ด้วยการเสียบปลั๊กเข้ากับช่องจ่ายกระแสไฟฟ้าภายในตัวรถที่มีอยู่ 2 จุด เพื่อให้สามารถสัมผัสกับไลฟ์สไตล์กลางแจ้งรูปแบบใหม่ และยังสามารถใช้เป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้าสำรองเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน หรือ กรณีที่ไฟฟ้าดับ เพราะ มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เอง และยังสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่ที่พักอาศัยด้วยเทคโนโลยีระบบพลังงานแบบ Vehicle-to-Home (V2H) ได้นานถึง 10 วัน(5) สำหรับครัวเรือนทั่วไป โดยแบตเตอรี่ต้องถูกชาร์จไฟเต็มและมีน้ำมันเต็มถัง
ดังนั้น มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี จึงถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการขับเคลื่อนในแบบที่ยั่งยืน เพราะเป็นยานยนต์ที่สามารถใช้งานได้จริง มีความทนทาน มีประสิทธิภาพ มีค่าใช้จ่ายที่ต่ำ และเป็นรถยนต์พีเอชอีวี สัญชาติญี่ปุ่นรุ่นแรกที่ถูกผลิตขึ้นในประเทศไทย เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าชาวไทยที่กำลังมองหารถยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก, รายงานว่าด้วยสภาพภูมิอากาศโลกปี 2563 (https://news.un.org)
- มิตซูบิชิ มอเตอร์ส, การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม (www.mitsubishi-motors.com)
- อ้างอิงข้อมูลผลิตภัณฑ์จาก Eco Sticker
- มาตรฐานการทดสอบรูปแบบใหม่ของยุโรป (New European Driving Cycle หรือ NEDC) คือ กระบวนการทดสอบเพื่อวัดอัตราการบริโภคน้ำมันและการ
- ปริมาณและระยะเวลาการใช้กระแสไฟฟ้าคำนวณโดยสมมติฐานของ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น โดยปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้าในครัวเรือนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 10kWh / วัน ซึ่งไม่นับรวมกับปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นจากระบบ V2H โดยปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ใช้อาจแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่