ซ่อมรถเอง ระวังผิดกฎหมายลิขสิทธิ์

นับแต่คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในยานยนต์ปัจจุบันนี้ เลยมีข้อแนะนำ อาจเป็นคำเตือนสำหรับช่างที่ไม่มีสังกัด หรือผู้บริโภค ที่ซ่อมแซมรถด้วยตัวเอง หรือดัดแปลงชิ้นส่วนต่างๆ ของรถยนต์ หรือการจูนเครื่องยนต์ การปรับตั้งสมองกลของรถยนต์เสียใหม่ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากบริษัทผู้ผลิต อาจเข้าข่ายผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ได้โดยง่าย
IMG_6095
มูลนิธิเฝ้าระวังด้านอิเล็คทรอนิค องค์กรที่ไม่แสวงกำไร เปิดเผยว่า กฎหมายด้านลิขสิทธิ์ในยุคดิจิตอล ฉบับใหม่ ระบุว่า การปรับตั้งหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลในกล่อง อีซียู electronic control units หรือกล่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กในยานยนต์ อาจเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายได้ โดย มูลนิธิ ได้ร้องขอไปยังสำนักงานลิขสิทธิ์ เพื่อให้ยกเว้นสำหรับผู้ที่ทำเป็นงานอดิเรก หรือซ่อมแซมเครื่องใช้ภายในบ้าน จากกฎหมายข้อนี้
IMG_6096
สำนักงานลิขสิทธิ์ ได้ออกรับฟังความคิดเห็นจากผู้บริโภคเมื่อ 3 ปีก่อน ถึงกิจกรรมที่สามารถกระทำได้โดยไม่ผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ข้อนี้ อาจให้หมายความถึงบุคคลซึ่งกระทำการซ่อมแซมเทคโนโลยีนั้น โดยไม่ได้ปรับแก้สาระสำคัญใดๆ ของอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคนั้น โดยกฎหมายอาจบังคับใช้ในกลางปี 2558 นี้
ยานยนต์ปัจจุบัน ใช้กล่อง อีซียู หลายกล่อง เพื่อควบคุมฟังก์ชั่นต่างๆ ของเครื่องยนต์ ทั้งควบคุมการทำงานของเครื่อง การบังคับขับเคลื่อนและเบรก ด้วยโค้ดคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ผลิตกำหนดเอาไว้ตามกฎหมายใหม่ ระบุให้ ช่างเทคนิคหรือพวกทำงานอดิเรก จำเป็นต้องขออนุญาตจากผู้ผลิต เพื่อทำการซ่อมแซม ก่อนจะสามารถเปิดกล่อง อีซียู ได้
กิจกรรมข้อห้ามที่อยู่ภายใต้กฎหมายนี้ คือการปรับจูนกล่อง อีซียู เพื่อเพิ่มกำลังเครื่องยนต์ หรือเพื่อให้ประหยัดน้ำมัน ที่จำเป็นต้องเพิ่มความจุของ อีซียู ให้ได้สเปคตามต้องการ ซึ่งปัจจุบัน ยังไม่มีความขัดแย้งที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายลิขสิทธิ์นี้ ที่เป็นรูปธรรมเด่นชัด ผู้บริโภค หรือเจ้าของรถ มีความเสี่ยงเพียงการยกเลิกระยะเวลารับประกัน หากมีการปรับแต่งกล่อง อีซียู ด้วยตนเอง

Facebook Comments