งานโตเกียวมอเตอร์โชว์จัดทุก 2 ปีที่กรุงโตเกียวประเทศญึ่ปุ่น สถานที่จัดงานก็คือที่ Tokyo Big Sight
ซึ่งครั้งนี้ทางบริษัทโตโยต้ามอเตอร์ (ประเทศไทย)จำกัด ก็ได้นำสื่อมวลชนจากประเทศไทยเข้าขมงานครั้งนี้ ซึ่งทีมงาน CAR ON LINE ก็ได้เดินทางไปในครั้งนี้ด้วย
โดยบูธที่เปิดตัวเป็นบูธแรกในรอบสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2560ก็คือบูธโตโยต้า โดยเปิดเวลา 8.30 น สื่อมวลชนจากทั่วโลกมากันเพียบ เพราะงานโตเกียวมอเตอร์โชว์เป็นงานหนึ่งที่ใหญ่ระดับโลกเลยทีเดียว
รถConcept Car หรือรถต้นแบบ คือรถที่เป็นต้นแบบที่จะผลิตของรุ่นต่อๆไป โดยอาศัยจากรถต้นแบบซึ่งอาจจะผลิตออกมาเหมือนกันเป๊ะ หรือาจะแตกต่างกันไปบ้างในรายละเอียดต่างๆ
รถรุ่นนี้นำเสนอภายใต้แนวคิดการเป็นรถที่ขับสนุกให้ทั้งความเร้าใจแบบรถสปอร์ต ในขณะที่ผสานความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแบบรถอีโคคาร์
ลักษณะเด่น
• การออกแบบทำให้คิดถึง รถแข่ง โตโยต้า กาซู เรซซิ่ง TS050 Hybrid ที่ลงแข่งในรายการ World Endurance Championship (WEC)
• ลักษณะการใช้หลังคาทาร์กา (Targa) เปิดประทุนแบบรถสปอร์ต เหมือนในรถสปอร์ตในตำนาน โตโยต้า สปอร์ต 800 (หรือ Yotahachi) และ Supra
• ขุมพลังความแรงจากระบบไฮบริดสำหรับรถแข่งของโตโยต้า (Toyota Hybrid System-Racing) พัฒนาจากเทคโนโลยีไฮบริดที่ต่อยอดจาก TS050 Hybrid
การออกแบบ
– รูปลักษณ์และฟังก์ชั่นการใช้งานเหมือนกับรถสปอร์ตตัวจริง รถต้นแบบ GR HV SPORTS Concept มาพร้อมไฟหน้าแบบแอลอีดี ล้ออลูมิเนียม และดิฟฟิวเซอร์หลังเหมือนกับรุ่น TS050 Hybrid สะท้อนความสัมพันธ์ของโตโยต้ากับกีฬามอเตอร์สปอร์ต
– สีดำด้านของตัวถังสื่อถึงพลังและความดุดัน
ภายใน
– ปุ่มเลือกตำแหน่งเกียร์อัตโนมัติแยกตำแหน่งอิสระ วางเรียงใต้คอนโซลกลางให้อารมณ์สปอร์ตเหมือนรถแข่ง
– ปุ่มสตาร์ทใช้ลูกเล่นซ่อนไว้ตรงหัวเกียร์ที่มีฝาเปิด-ปิด ปุ่มสตาร์ทรถ
ความสนุกในการควบคุมรถ
ยานยนต์ต้นแบบ “ไฟน์-คอมฟอร์ท ไรด์” (Fine-Comfort Ride)
ไฟน์-คอมฟอร์ท ไรด์” (Fine-Comfort Ride) ยานยนต์พลังงานเซลล์เชื้อเพลิง (FCV) ที่แสดงให้เห็นถึงการเดินทางในสังคมคาร์บอนต่ำด้วยการใช้พลังงานไฮโดรเจนและพลังงานที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้แบบล้ำหน้า รถต้นแบบ ไฟน์-คอมฟอร์ท ไรด์นำเสนอ “รูปแบบใหม่ของซาลูนระดับพรีเมียม” โดยมีโครงร่างที่ปรับเปลี่ยนได้สำหรับยานยนต์พลังงานไฟฟ้าโดยเฉพาะ และมีแหล่งไฟฟ้าขนาดใหญ่จากพลังงานไฮโดรเจน
โตโยต้าพยายามพัฒนาความเป็นไปได้ของยานยนต์ FCVs ผ่านการพัฒนาของรถไฟน์-คอมฟอร์ท ไรด์ ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยิ่งยวด ด้วยการไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือสารประกอบที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (SoC) เลยในขณะรถวิ่ง มีระยะการเดินทางที่ไกลทำให้สะดวกสบาย และใช้เวลาเติมก๊าซไฮโดรเจนเพียงแค่สามนาที คุณสมบัติของไฟน์-คอมฟอร์ท ไรด์ มีดังนี้
รถโตโยต้า คอนเซ็ปต์-ไอ (TOYOTA Concept-i series)
รถต้นแบบแห่งอนาคตในยุคแห่งการเดินทางที่ใช้ระบบจักรกลอัจฉริยะ (AI) ทำให้รถเข้าใจผู้ขับขี่ และทำให้ผู้ขับขี่และรถเป็นเพื่อนคู่ใจกัน พร้อมทะยานไปกับผู้ขับขี่เสมือนเป็นเพื่อนคู่ใจที่ขาดกันไม่ได้ เพราะสามารถสื่ออารมณ์และความรู้สึกของผู้ขับขี่ได้
– เทคโนโลยีหลักของรถโตโยต้าคอนเซ็ปต์-ไอเป็นเทคโนโลยีที่เข้าใจคน ใช้จักรกลอัจฉริยะในการจดจำอารมณ์และประเมินความชอบของผู้ขับขี่
– เทคโนโลยีที่เข้าใจคน และเทคโนโลยีการขับเคลื่อนอัตโนมัติจะพาผู้ขับขี่เดินทางไปด้วยความปลอดภัยและทำให้เกิดความผ่อนคลายในจิตใจ นอกจากนั้น การผสมผสานเทคโนโลยีกับเอเจนต์เทคโนโลยี (Agent Technology) จึงมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถทำนายความรู้สึกของผู้ขับขี่ได้ อันจะนำไปสู่ความสนุกกับประสบการณ์การเดินทาง ที่สนุกสนาน
Concept I
– โตโยต้าวางแผนที่จะใช้โตโยต้าคอนเซ็ปต์-ไอบนท้องถนนประมาณปี พ.ศ. 2563 และจะทำการทดสอบถนนของรถที่ติดฟังก์ชั่นคอนเซปต์นี้ในงานนิทรรศการในประเทศญี่ปุ่น
Concept I -Ride
– รถขับเคลื่อนขนาดเล็กที่เน้นการใช้งานได้ทั่วไปในหลักการ “ออกแบบเพื่อรองรับการเดินทางในเมือง (User-friendly City Mobility) ติดตั้งประตูแบบปีกนก และเบาะนั่งไฟฟ้าอเนกประสงค์ควบคุมด้วยจอยสติ๊กเพื่อให้ผู้ที่ต้องใช้วีลแชร์สามารถขึ้น-ลงได้สะดวก รวมทั้งออกแบบพื้นที่ด้านหลังให้เก็บวีลแชร์ได้อย่างปลอดภัยอีกด้วย
– ที่นั่งและฟังก์ชั่นการขับขี่แบบอัตโนมัติทำให้ผู้ขับขี่ขับอย่างปลอดภัยและมั่นคง
– นอกจากนั้นยังมีการแชร์กับผู้ขับขี่คนอื่น ทำให้การขับขี่ง่ายขึ้น
Concepr I-Walk
– ด้วยขนาดที่กะทัดรัดเหมาะกับบริเวณทางเดินและฟังก์ชั่นการขับขี่แบบอัตโนมัติ รถรุ่นนี้สามารถเพิ่มระยะการเคลื่อนไหวด้วยความปลอดภัยและความผ่อนคลาย เหมาะกับผู้สูงอายุ
– ล้อจำนวน 3 ล้อ เป็นกลไกที่ปรับเปลี่ยนระยะฐานล้อ มีฟังก์ชั่นการบังคับเลี้ยว และมีพื้นต่ำ ทำให้ง่ายต่อการใช้และไม่จำเป็นต้องใส่เสื้อผ้าหรือรองเท้าที่เหมาะกับการขับขี่
– การให้บริการการแชร์ที่จุดชมวิวและสถานที่อื่น ๆ เพื่อเป็นการช่วยเหลือในบริเวณสถานที่ภายนอก
Tj CRUISER ออกแบบเพื่อผู้ขับขี่ที่มีไลฟ์สไตล์การทำงานและเล่นผสมผสานกันอย่างลงตัว โดย “T” ใน Tj CRUISER ย่อมาจาก “Toolbox“ หมายถึงคุณสมบัติที่สามารถใช้งานได้เหมือนกล่องเครื่องมือ ขณะที่ “j” ย่อมาจาก “joy” หมายถึงความสุขในการขับรถไปยังสถานที่ต่างๆ ตามปกติชื่อ “CRUISER” จะใช้กับกลุ่มผลิตภัณฑ์รถ SUV ของโตโยต้า และนำมาใช้กับ Tj CRUISER เพื่อแสดงกำลังแรงของรถรุ่นนี้ ภายในรถ เบาะผู้โดยสารสามารถปรับเอนราบได้ Tj CRUISER ไม่เพียงสามารถบรรทุกอุปกรณ์กลางแจ้งได้ง่าย แต่ยังเก็บของชิ้นใหญ่ เช่น กระดานโต้คลื่นยาว 3 เมตรและจักรยานได้อีกด้วย
Tj CRUISER จึงเป็นตัวแทนของความสมดุลอย่างกลมกลืนระหว่างความกว้างขวางของรถตู้ขนสินค้าและดีไซน์อันทรงพลังของ SUV
การออกแบบ
• ห้องโดยสารรูปสี่เหลี่ยมคล้ายกับรถตู้เพื่อประโยชน์ใช้สอยสูงสุด ล้อใหญ่ขนาดเท่า SUV เชื่อมกับช่วงหน้าที่บึกบึนเสริมระบบกันสะเทือนให้แข็งแรง Tj CRUISER จึงเป็นสัญลักษณ์ของรถสายพันธุ์ใหม่ที่ผสมความแข็งแกร่งของรถตู้และ SUV เข้าด้วยกัน
• ฝากระโปรง หลังคาและบังโคลนใช้วัสดุ (พร้อมเคลือบสีพิเศษ) กันรอยขีดข่วนและรอยเปื้อนแม้จะสัมผัสกับสิ่งสกปรกโดยบังเอิญก็ตาม
พื้นที่ภายใน
• เบาะผู้โดยสารหน้าและหลังสามารถปรับเอนราบเพื่อให้สามารถเก็บของยาวถึง 3 เมตรอย่างกระดานโต้คลื่นได้
• หลังเบาะและพื้นห้องเก็บของด้านหลังมีจุดทายดาวน์หลายตำแหน่งเพื่อยึดอุปกรณ์เสริมตั้งแต่กล่องขนาดเล็กไปจนถึงของชิ้นยาว นอกจากนี้ ประตูหลังยังสามารถเปิดได้กว้าง ช่วยให้ขนวัตถุขนาดใหญ่อย่างจักรยานเข้าออกได้ง่าย
• เบาะนั่งผู้โดยสารหลังคนขับสามารถพับไปข้างหน้าเพื่อให้มีพื้นที่สำหรับเก็บของชำหรือสินค้าอื่น
• ประตูเลื่อนเปิดกว้างช่วยให้บรรทุกและขนของออกจากรถด้านข้างได้สะดวก อีกทั้งยังช่วยให้สมาชิกในครอบครัวเข้าออกรถได้ง่าย
คุณสมบัติอื่นๆ
• คาดว่าจะใช้ตัวถัง TNGA platform รุ่นใหม่
• ระบบทำงานด้วยเครื่องยนต์ 2 ลิตร+ ระบบไฮบริด
• ใช้ระบบขับเคลื่อน FWD และ 4WD
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์เปอเรชั่น (TMC) เตรียมเผยชมรถเซนจูรีรุ่นใหม่ (ที่จะออกวางจำหน่ายกลางปี 2018)
เซ็นจูรีรุ่นที่ 3 ยังคงสืบสานตำนานงานฝีมือระดับปรมาจารย์และการผลิตคุณภาพสูงแบบโมโนซูคูริ (ระบบการผลิตแบบบูรณาการ) ในขณะเดียวกันก็คำนึงถึงสมรรถนะที่สามารถรับมือสภาพแวดล้อมที่ต้องการรถคุณภาพสูง และดีไซน์ที่ออกแบบเพื่อความสะดวกสบายของผู้โดยสาร การออกแบบทั้งภายในและภายนอกมอบเสน่ห์แบบใหม่แก่เซนจูรีโดยไม่ทิ้งต้นแบบเดิม นอกจากนี้เซนจูรี่ยังมีอุปกรณ์ล้ำหน้า พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกเหมาะสมสำหรับความเป็นลีมูซีนสุดหรู
เซ็นจูรีรุ่นใหม่ล่าสุดนี้ใช้พลัง 5.0 ลิตร ระบบไฮบริด V8 เพื่อการประหยัดพลังงานอันโดดเด่น ฐานล้อถูกปรับให้ยาวขึ้น ความสูงระหว่างชายบันไดสแตนเลสกับพื้นถูกปรับให้เตี้ยลง ขณะที่ความสูงของการเปิดประตูสูงขึ้น ทั้งหมดนี้เป็นการปรับแต่งเพื่อให้การนั่งเบาะหลังเป็นประสบการณ์ที่สุนทรีย์ยิ่งขึ้น รูปลักษณ์ภายนอกที่เรียบหรูและมีสไตล์โดดเด่นขึ้นด้วยองค์ประกอบการออกแบบแบบญี่ปุ่นที่ใช้ทั่วคันรวมถึงตระแกรงหน้าหม้อรถยนต์และขอบรถสีดำของไฟหลัง สำหรับด้านในนั้น หลังคาได้รับการออกแบบให้ยกสูงขึ้น*2 และใช้ผ้าแบบพิเศษ ส่วนเบาะหลังที่สามารถปรับเลื่อนได้นั้น (พร้อมระบบนวด) ได้รับการพัฒนาให้มีที่พักขาไฟฟ้าสำหรับความสะดวกสบายแบบชั้นหนึ่ง และประสบการณ์บนท้องถนนที่หรูหรา
รูปลักษณ์ภายใน
หลังคาที่สูงขึ้นและการใช้ดีไซน์แบบญี่ปุ่นดั้งเดิมสอดรับกับยานยนต์แห่งชนชั้นสูงที่สุด
สำหรับพื้นที่บริเวณเบาะหลัง การบุเบาะแบบลายเฮทเตอร์ครอบคลุมตั้งแต่หลังเบาะหน้าของรถจนกระทั่งขอบประตูทำให้พื้นที่แนวระนาบยิ่งดูกว้างขึ้น เบาะที่บุทำจากวัตถุดิบคุณภาพสูง ได้แก่ ขนแกะ 100% ที่ทั้งยืดหยุ่นและอ่อนนุ่ม รถรุ่นที่มาพร้อมกับการบุหนังข้างในทำให้เบาะมีความรู้สึกมีระดับและสัมผัสที่นุ่มนวล
เหมือนกับบริเวณเบาะหลัง เบาะหน้าใช้การบุเบาะลายเฮทเตอร์แนวระนาบที่ทำให้พื้นที่ดูกว้างขวางมากขึ้น การประดับด้วยลายเฮทเตอร์สีดำตรงกลางหน้าปัดยิ่งทำให้ภายในห้องโดยสารดูสูงส่งและปราณีตยิ่งขึ้น
ที่พักวางขาที่ไร้ขั้นและปรับได้ รวมทั้งที่นั่งด้านหลังที่ปรับได้ (มาพร้อมกับระบบนวด) ยิ่งทำให้การนั่งรถสะดวกสบายมากขึ้นไปอีก
แผงจอ LCD อเนกประสงค์ที่อยู่ตรงกลางที่วางแขนทำให้ผู้โดยสารสามารถควบคุมที่นั่ง ช่องแอร์ และระบบเสียงทั้งหมดได้
นอกจากนี้ยังประดับด้วยการตกแต่งสำหรับธุรกิจหรือความสำราญ เช่น โต๊ะเขียนหนังสือ ไฟอ่านหนังสือ ระบบเอนเตอร์เทนเมนท์สำหรับเบาะหลังด้วยหน้าจอขนาดใหญ่ และระบบเสียงพรีเมียม 20 ลำโพง
รถยนต์ต้นแบบ คราวน์ คอนเซ็ปต์ ได้รับการพัฒนาทั้งด้านสมรรถนะการขับขี่และเทคโนโลยีการเชื่อมต่อบนรถยนต์ โดยผสานตำนานของ โตโยต้า คราวน์ ที่ก่อกำเนิดขึ้นครั้งแรกในปีพ.ศ. 2498 เข้ากับนวัตกรรมระดับสูงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในรถโตโยต้า คราวน์ ซึ่งจะแนะนำในสังคมแห่งการขับเคลื่อนในอนาคต
รถยนต์ต้นแบบ โตโยต้า คราวน์ คอนเซ็ปต์ มาพร้อมคุณสมบัติมากมาย
โดยเริ่มตั้งแต่การร่างลายเส้น ไปจนถึงขั้นตอนการผลิตรถบนพื้นฐานโครงสร้างแบบใหม่ของรถยนต์โตโยต้าที่เรียกว่า Toyota New Global Architecture (TNGA) ตลอดจนกระบวนการทดสอบในสนามนูร์เบิร์กริง ณ ประเทศเยอรมัน เพื่อให้มั่นใจว่าลูกค้าจะได้รับความสนุกในการขับขี่ ในขณะที่โตโยต้ากำลังพัฒนายนตกรรมเพื่อก้าวสู่สังคมแห่งการขับเคลื่อนในอนาคต
ดังนั้น รถคันนี้จึงมีทั้งสมรรถนะเหนือระดับในการสนองตอบต่อการควบคุม ให้ความรู้สึกมั่นใจขณะขับขี่ที่ทุกระดับความเร็ว และบนทุกสภาพพื้นผิว ทั้งนี้ ผู้ขับจะรู้สึกผ่อนคลายและเพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การขับขี่ที่ได้รับจากรถรุ่นนี้
การใช้ระบบการสื่อสารด้วยข้อมูล หรือ Data Communication Modules (DCM) เพื่อตอบสนองกับการใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตเพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์กับเครื่องมือต่างๆ ไว้ด้วยกัน หรือ IoT (Internet of Things)
โตโยต้า มุ่งหวังที่จะสร้างคุณค่าแบบใหม่สำหรับลูกค้า ผ่านการใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ซึ่งได้รับจากระบบการสื่อสารด้วยข้อมูล หรือ Data Communication Modules (DCM) ที่ติดตั้งในรถของโตโยต้า รวมถึงรถยนต์ต้นแบบ คราวน์ คอนเซ็ปต์ ที่จะวางจำหน่ายสู่ลูกค้า
“ความปลอดภัยในรถหนึ่งคัน” สู่ “ความปลอดภัยของทั้งเมือง”
เทคโนโลยีที่ล้ำหน้าของโตโยต้า มิใช่แค่เพียงการมีเบรกอัตโนมัติ แต่ยังรวมถึงระบบการเชื่อมต่อด้านเทคโนโลยีสื่อสารอัจฉริยะ หรือ ITS Connect ซึ่งเป็นบริการด้านเทคโนโลยีการสื่อสารเชื่อมต่อในรถยนต์นำความปลอดภัยสู่สังคมผ่านการแบ่งปันข้อมูลร่วมกัน เช่น ข้อมูลสัญญาณไฟจราจรและยานพาหนะคันอื่น ทั้งนี้ โตโยต้ายังมีส่วนในการพัฒนาเทคโนโลยีการเชื่อมต่อด้านเทคโนโลยีในระยะแรกเริ่ม โดยเข้าร่วมโครงการศึกษาวิจัยที่จัดทำขึ้นโดยภาครัฐและภาคเอกชน
โตโยต้ามุ่งนำเสนอยนตกรรมที่สร้างความสนุกสนานให้ผู้ขับขี่ และภาคภูมิในในการเป็นเจ้าของ ทั้งเชื่อว่าเทคโนโลยีอันโดดเด่นที่มาพร้อมรถรุ่นนี้ รวมทั้งการให้บริการการเดินทางแบบใหม่ จะสร้างวิวัฒนาการที่น่าตื่นเต้นให้กับไลฟ์สไตล์ในการขับขี่ของลูกค้า
โดยรถคราวน์ คอนเซ็ปต์ มีกำหนดเปิดตัวเพื่อจำหน่ายช่วงฤดูร้อน ปีพ.ศ.2561
ยานยนต์ต้นแบบ “Sora1,” รถประจำทางพลังงานเซลล์เชื้อเพลิง (FC bus) โดยวางแผนจะจำหน่ายรถรุ่นดังกล่าวในเชิงพาณิชย์ในปี 2018 และคาดว่าจะนำ Sora กว่า 100 คันมาใช้ภายในพื้นที่เทศบาลนครโตเกียว ก่อน Tokyo 2020 Olympic และ Paralympic Games
โตโยต้าพัฒนารถต้นแบบ Sora จากวิสัยทัศน์ที่ต้องการสร้าง “สัญลักษณ์เมืองที่ยั่งยืน” จากความคิดหลักสองประการคือการใช้ลักษณะเฉพาะของเครื่องยนต์เซลล์เชื้อเพลิงให้เกิดประโยชน์สูงสุด และการเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้โดยสารที่ใช้รถประจำทาง
โตโยต้ามีเป้าหมายผลิตรถประจำทางที่มีประโยชน์ต่อโลกและผู้คน มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถทำประโยชน์ให้กับชุมชนได้มากกว่าบริการเพื่อการเดินทาง
ระบบพลังงานเซลล์เชื้อเพลิงโตโยต้า (Toyota Fuel Cell System-TFCS) ซึ่งใช้ในรถพลังงานเซลล์เชื้อเพลิง “มิไร” ถูกนำมาใช้ในรถรุ่นนี้ เพื่อประสิทธิภาพด้านสิ่งแวดล้อมระดับสูง กล่าวคือในขณะที่รถวิ่งจะไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือสารที่มีผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์(Substance of Concern-SoC)
Sora ติดตั้งสุดยอดระบบจ่ายพลังงานภายนอกที่สามารถจ่ายไฟฟ้ากำลังการผลิตสูง (ผลิตไฟฟ้าสูงสุด 9 kw และจ่ายกระแสไฟฟ้า 235 kWh2) ทั้งยังสามารถใช้เป็นแหล่งพลังงานฉุกเฉินได้ในกรณีเกิดภัยพิบัติ
ที่นั่งแนวนอนพร้อมกลไกพับเก็บอัตโนมัติช่วยเพิ่มความสะดวก (ครั้งแรกในญี่ปุ่น)
รถประจำทางติดตั้งที่นั่งแนวนอนพร้อมกลไกพับเก็บอัตโนมัติ เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับรถเข็นเด็กหรือรถวีลแชร์ และเมื่อไม่มีรถเข็นเด็กหรือรถวีลแชร์ ก็จะเป็นการเพิ่มจำนวนที่นั่งให้กับผู้โดยสาร
ที่นั่งแนวนอนพร้อมกลไกพับเก็บอัตโนมัติ
เพิ่มความปลอดภัยด้วยฟังก์ชั่นตรวจสอบรอบรถ ( Bus Peripheral Monitoring) (ครั้งแรกในญี่ปุ่น3)
กล้องวงจรปิดความละเอียดสูง 8 ตัว ติดตั้งทั้งด้านในและด้านนอกรถ ทำหน้าที่ตรวจจับภาพคนเดินเท้าและจักรยานรอบรถ เป็นฟังก์ชั่นตรวจสอบรอบนอกที่ช่วยเตือนคนขับด้วยเสียงและภาพ เพื่อเพิ่มความปลอดภัย
เพิ่มความปลอดภัยด้วยฟังก์ชั่นควบคุมการเร่ง (Acceleration Control Function) (ครั้งแรกในญี่ปุ่น3)
เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารที่ยืนอยู่ ฟังก์ชั่นควบคุมการเร่งจะทำให้ไม่เกิดการเร่งรถด้วยความเร็วฉับพลันและทำให้ออกรถได้อย่างนุ่มนวล รวมทั้ง ผู้โดยสารจะไม่เกิดอาการเซเนื่องจากรถไม่มีการเปลี่ยนเกียร์
เพิ่มความง่ายในการขึ้น-ลงรถด้วยระบบควบคุมการจอดอัตโนมัติ (Automatic Arrival Control4 )(ครั้งแรกในญีปุ่น
ระบบควบคุมการจอดอัตโนมัติจะจับเส้นนำทางบนพื้นถนน และใช้ระบบควบคุมและชะลอความเร็วอัตโนมัติ เพื่อหยุดรถประจำทางให้อยู่ห่างจากป้ายรถประจำทางประมาณ 3 ถึง 6 ซม. และภายในระยะ 10 ซม.ก่อนหรือหลังจุดหยุดรถ ช่วยอำนวยความสะดวกในการขึ้น-ลงของผู้โดยสารที่มีรถเข็นเด็กและรถวีลแชร์
เพิ่มความสะดวกสบายด้วย ITS Connect
เพิ่มประสิทธิภาพในการเดินทาง ความเร็ว ความแม่นยำและความสะดวกสบาย ด้วยระบบ ITS Connect ที่เชื่อมการสื่อสารระหว่างรถกับรถ (vehicle-to-vehicle) และรถกับโครงสร้างพื้นฐาน (vehicle-to-infrastructure) เพื่อให้ขับขี่ได้อย่างปลอดภัย พร้อมสนับสนุนรถประจำทางให้สามารถวิ่งเป็นขบวนและช่วยให้ได้สิทธิ์ก่อนเมื่ออยู่ที่สัญญาณไฟจราจร (PTPS5)
การออกแบบ
เน้นการดีไซน์แบบสามมิติที่แตกต่างจากทรงหกเหลี่ยม (ทรงกล่อง) แบบรถประจำทางทั่วไป ไฟหน้าและไฟท้ายใช้หลอดไฟ LED ด้วยดีไซน์เฉพาะตัวนี้ ผู้ใช้บริการทราบได้ทันทีว่านี่คือ รถประจำทางพลังงานเซลล์เชื้อเพลิง FC Bus
“ไพรม์มัส กรุ๊ป…