และเพื่อเป็นการรองรับความต้องการตรวจสภาพเครื่องยนต์ที่มีเป็นจำนวนมาก ปตท.จึงได้เปิดศูนย์บริการ PROCheck ประมาณ 120 แห่ง ทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 10 เม.ย ถึง 30 มิ.ย. ศกนี้ ตรวจเช็กเครื่องยนต์รวม 15 รายการ ด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัยพรัอมเจ้าหน้าที่ ที่เชี่ยวชาญและมีความชำนาญ สอบถามรายละเอียดได้ที่ 1365และ www.pttplc.com
ปกติแล้ว การดอง ถือเป็นวิธีถนอมอาหารที่มนุษย์เรารู้จักกันมาช้านาน บางท่านอาจจะชอบทานผลไม้ดอง
ผมอาจจะชอบแตงกวาดอง แต่โดยปกติแล้ว ด้วยรสชาติอันเปรี้ยวจี๊ด หรือไม่ก็เค็มปี๋
ขึ้นอยู่กับวิธีการดอง อาหารชนิดนั้นๆ ทำให้ผมไม่ค่อยชอบ ของดองเท่าไหร่
และแน่นอนว่าปกติ ผมเองก็ไม่ชอบ ดองงาน เอาไว้นานๆแบบนี้เท่าใดนัก
ทว่า คราวนี้ มันมีเหตุที่ทำให้ผม ต้อง ดอง ฮอนด้า แอคคอร์ด ใหม่ เอาไว้ในขวดโหลแห่งกาลเวลา เพื่อหวังว่าจะบ่มให้ได้ที่
รอให้ทั้งงานหนังสือพ็อกเก็ตบุ๊คฉบับนรกของน้องผมคนหนึ่ง เสร็จสิ้นไปช็อตใหญ่ๆ
รอให้งาน มอเตอร์โชว์ จบลงไป
และที่ต้องรออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือการปรับปรุงเว็บไซต์คาร์ออนไลน์กันขนานใหญ่
รวมทั้งจู่ๆ แรงบันดาลใจต่างๆ มันก็หดหายไปเสียดื้อๆ จนเกลี้ยง
และนั่นคือเหตุที่ทำให้ รีวิวของ แอคคอร์ดใหม่ ถูกดองจนรสชาติได้ที่
จนพร้อมจะออกสู่สายตาคุณผู้อ่านกันเสียที
ใครที่ติดตามอ่านรีวิวของผมเสมอมา
คงพอจะสงสัยอยู่บ้างว่า
ทำไม รูปของแอคคอร์ดใหม่ในคราวนี้ ถึงได้ใช้บรรยากาศฉากหลังเดียวกับ
ที่พบได้ในรีวิวของ บีเอ็มดับเบิลยู ซีรีส์ 5 รุ่นปัจจุบัน กันในหลายๆช็อต
เจตนาของผม ไม่มีอื่นใดมากไปกว่า จะพิสูจน์ให้เห็นกันชัดๆไปเลยว่า
เมื่อเทียบกัน ช็อตต่อช็อตแล้ว
เส้นสายตัวถังภายนอกของ แอคคอร์ดใหม่
มันไปละม้ายคล้ายคลึงกับ รถยุโรปรุ่นดังกล่าวจริงหรือไม่
ผมคงไม่ตัดสิน
เพราะนั่นไม่ใช่หน้าที่ผม
หากแต่ต้องเป็นวิจารณญาณ และรสนิยมด้านศิลปะของคุณผู้อ่านทุกท่าน
ที่จะต้องตอบใจตัวเองครับ
แอคคอร์ด คือรถยนต์นั่ง 1 ใน 2 หัวหอกหลักของฮอนด้าในการบุกตลาดโลก
แยกตัวออกมาจากตระกูลซีวิคในช่วงปี 1976 เพื่อเน้นจับกลุ่มลูกค้าที่อยากเปลี่ยนรถคันใหม่ให้
ใหญ่โตกว่าซีวิคนั่นเอง นอกจากนี้ แอคคอร์ด เป็น 1 ในรถยนต์รุ่นสำคัญในประวัติศาสตร์
อุตสาหกรรมยานยนต์ญี่ปุ่น ที่ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งรถยนต์ขายดีที่สุดของสหรัฐอเมริกาใน
ช่วงทศวรรษที่ 1990 ได้เป็นผลสำเร็จ
ฮอนด้าเริ่มใช้นโยบาย "ผลิตรถยนต์แยกตัวถังให้ตรงกับรสนิยมของแต่ละตลาด"
กับแอคคอร์ด มาตั้งแต่รุ่นที่ 5 ซึ่งเปิดตัวเมื่อเดือนกันยายน 1993 โดยในช่วงนั้น
ฮอนด้าทำตลาดแอคคอร์ดทั่วโลก ด้วยรูปโฉมของรุ่นที่พ่อค้ารถมือสองบ้านเรา
เรียกไปเองว่ารุ่น "ไฟท้ายก้อนเดียว" แต่ยกเว้นประเทศในยุโรป ซึ่งถูกแทนที่ด้วย
ตัวถังฟาสต์แบ็ก 5 ประตู ซึ่งทำตลาดในญี่ปุ่นภายใต้ชื่อ แอสคอท อินโนวา
(ASCOT INNOVA) แต่ยังมีตัวถัง คูเป้ และแวกอน ส่งออกจากสหรัฐอเมริกาเข้าไป
ทำตลาดประกบด้วย
จนกระทั่งเดือนกันยายน 1997 ฮอนด้าเริ่มสร้างความแตกต่างให้กับแอคคอร์ด มากถึง 3 รูปลักษณ์
เพื่อ 3 ทวีป โดยในญี่ปุ่น จะมีรุ่นตัวถังเพรียว ทำตลาดร่วมกันทั้งรุ่นซีดาน แวกอน
และรุ่นซีดานที่ดัดแปลงด้านหน้าเล็กน้อยในชื่อ ทอร์นีโอ (TORNEO)
ขณะที่เวอร์ชันยุโรป จะมีตัวถังซีดาน และแฮตช์แบ็ก 5 ประตู ซึ่งมีดีไซน์ป้อมๆ แยกออกมาเป็นพิเศษ
ส่วนเวอร์ชันอเมริกาและไทย รวมทั้งตลาดโลก จะใช้ตัวถังที่มีขนาดใหญ่สุด
โดยมีชื่อเรียกในหมู่พ่อค้ารถมือสองบ้านเราว่ารุ่น "งูเห่า"
และล่าสุดเมื่อเปิดตัวรุ่นปัจจุบันในช่วงปลายปี 2002 ฮอนด้าเริ่มมองเห็นถึงยอดขายที่ลดลงของเวอร์ชันยุโรป
เนื่องจากการแข่งขันในตลาดรถยนต์ขนาดกลาง D-Segment รุนแรงมาก
และแทบจะกลายเป็นการผูกขาดจากผู้ผลิตชาวยุโรปด้วยกันเองเป็นส่วนใหญ่
มีเพียง มาสด้า 6 ที่สามารถเจาะเข้าไปทะลุใจของชาวยุโรปได้อย่างสบายๆซึ่งอาจไม่คุ้มค่าพอ
ที่จะพัฒนาตัวถังใหม่ขึ้นมาเพื่อตลาดยุโรปโดยเฉพาะ ทำให้ในที่สุด แอคคอร์ดรุ่นปัจจุบัน
ที่เปิดตัวมาตั้งแต่ ปี 2002 จึงมีออกมาให้เลือกใช้เพียงแค่เวอร์ชันญี่ปุ่น-ยุโรป และเวอร์ชันอเมริกัน-ไทย
ทว่า สถานการณ์ก็เหมือนจะไม่ดีขึ้นเท่าใดนัก เพราะยอดขายของแอคคอร์ด ทั้งในญี่ปุ่น และยุโรป
ในปัจจุบัน ถือว่าน้อยมากๆ เมื่อเทียบกับตัวเลขจากสหรัฐอเมริกา จีน ไทย ออสเตรเลีย ฯลฯ
28 พฤษภาคม 2007
ในงานมอเตอร์เอ็กซ์โป 2007 ที่แชลเลนเจอร์ ฮอลล์ เมืองทองธานี
ขณะกำลังเดินเล่นอย่างสบายอารมณ์ในรอบสื่อมวลชน วันที่ผมมักเรียกว่า "วันพบญาติ"
ใครบางคนมาบอกกับผมว่า "เฮ้ย โตโยต้า เอาโคโรลล่า อัลติส ใหม่มาโชว์อ่ะ มึงไปดูมาหรือยัง?"
แม้จะคาดคิดมาก่อนแล้วว่า เป็นไปได้ทั้งสิ้น ว่าจะมาอวดโฉม และไม่มาอวดโฉม ตามกระแสข่าวก่อนหน้านั้น
แต่ด้วยความตื่นเต้น ตามประสาของคนบ้ารถ สองเท้าของผม ก้าวฉับๆไปถึงพื้นที่ของบูธโตโยต้า
คนของโตโยต้า ใส่สูท ยืนกระจายๆกันรายล้อมอยู่บนพื้นที่บูธ สายตาที่จับจ้องไปยัง รถคันสีทอง
บนแท่นหมุนนั้น ผมบอกไม่ถูกจริงๆ ว่าพวกเขาคิดอย่างไรกัน เพราะดูสายตาแทบทุกคู่
ที่จับจ้องไปยังตัวรถนั้น ถ้าไม่รู้สึกเฉยชา ก็มีบางคนรู้สึกกระอักกระอ่วนใจอยู่บ้าง
สัญชาตญาณ บอกผมว่า มันผิดไปจากการเปิดตัว โคโรลล่าใหม่ทุกๆครั้งที่ผ่านมา
มันไม่น่าจะขายดีเลย มันจะเป็นไปอย่างที่ผมคาดการณ์ไว้ เมื่อครั้งที่เห็นการเปิดตัว
เวอร์ชันจีน ก่อนหน้านั้นเมื่อเกือบ 1 ปีก่อน
และหลังจากนั้น ทุกอย่างก็เป็นไปตามที่ผมคิดเอาไว้
ในรอบประชาชนของงาน มอเตอร์ เอ็กซ์โป ครั้งนั้น วันไหนที่ผมไปงาน
ผมจะต้องแวะไปที่บูธโตโยต้า และฮอนด้า
และสิ่งที่ผมพบเห็นแทบทุกครั้ง และมันไม่ต่างกันเลยแม้แต่ครั้งเดียว ก็คือ
จำนวนคนไปยืนดู โคโรลล่า อัลติส ใหม่ อยู่ในระดับ หร็อมแหร็ม
บ้างเมียงมองอยู่แป๊บนึง ยกโทรศัพท์มือถือ มาถ่ายรูป ก้มลงดูหน้าจอมือถือตัวเอง
แล้วเดินจากมา
บ้าง ก็ มอง อย่างไม่เชื่อสายตา เข้าไปดูใกล้ๆ แล้วหันไปพูดกับผองเพื่อนอีกสองคนที่มาด้วยกันว่า
"เนี่ยเหรอวะ รุ่นใหม่ ไม่เห็นว่ามันจะต่างจากเดิมเลยหวะ!" แล้วก็พากันเดินเฟดหายตัวจากไป
บ้างก็บอกว่า "อืมม คิดไงละแม่ ถ้านี่จะเป็นรถใหม่ของบ้านเรา?"
พ่อบ้านตอบเลยว่า "ไปดูซีวิคแล้วหรือยังละพ่อ?"
สายตาผมก็กวาดไปมองยัง บูธฮอนด้า ซึ่งอยู่ติดกัน
และ มีผู้คนไปดูซีวิคกันอย่างต่อเนื่อง ไม่ขาดสาย
แม้จะเปิดตัวล่วงหน้าไปก่อนแล้วเป็นปีก็ตาม
เรื่องราวมันก็เป็นไปตามคาด ไม่เว้นหลังจากวันเปิดตัว
เมื่อ 29 มกราคม 2008 ที่ผ่านมา ที่รัชดาลัยเธียร์เตอร์
เอสพลานาด ถนนรัชดาภิเษก
มีรายงานมาให้ดูกันว่า ยอดขายของซีวิคใหม่ แตะระดับ
เดือนละ 3,500 คันต่อเดือนขึ้นมา
ในขณะที่ โคโรลล่า ใหม่ ตั้งเป้ายอดขายไว้เดือนละ 2,500 คัน
กลับออกสตาร์ต ได้ไม่ดีเท่าใดนักเลย?
จนถึงกับต้องปลดภาพยนตร์โฆษณา ที่ใช้ออร์แลนโด บลูม
เป็นพรีเซ็นเตอร์ อันเป็นงบที่ต้องลงขันกันในหมู่โตโยต้าทั่วเอเซีย
ที่ต้องเปิดตัวรถโคโรลล่า เวอร์ชันเดียวกันนี้
หันมาใช้ภาพยนตร์โฆษณา เรื่องใหม่ที่ถ่ายทำแถวๆ
สนามบินสุวรรณภูมิ (อีกแล้วเหรอ โลเกชันนี้ ซ้ำจริงๆ) กันแทน
หนังโฆษณาเรื่องใหม่ เพิ่งเริ่มฉายเมื่อไม่กี่สัปดาห์มานี้เอง
พร้อมกับ เสียงของ Narrator ที่เน้นถ้อยคำเชิงโฆษณา
ขบกัดคู่แข่งคู่รักคู่แค้นอย่าง ฮอนด้า ซีวิค โดยอ้อมๆ
ผมชักเริ่มเอะใจ
เฮ้! อะไรกัน? โคโรลล่า อัลติสใหม่ มันจะเลวร้ายขนาดนั้นเลยเหรอ?
"ผมไม่เชื่อ!"
ในโลกนี้ มันไม่มีหรอก รถที่เลวร้ายไปเสียทุกอย่างจนหาดีไม่ได้เลย
ขนาดซางยอง สตาร์วิค ที่ผมด่าในเรื่องงานวิศวกรรมของมันจนเละเทะ
แต่ก็ยังมีข้อดีที่เหมาะกับคนที่ต้องการนั่งโดยสารไปอย่างเดียวเหมือนกัน
หรือแม้แต่ โปรตอน เจ็น-ทู ที่ผมถึงขั้น "สาบส่ง" ว่าเป็นรถอะไรก็ไม่รู้
เร่งยังขี้เกียจจะเร่ง เลี้ยวยังขี้เกียจจะเลี้ยว เบรกยังขี้เกียจจะเบรก
แต่อย่างน้อย รูปลักษณ์ภายนอกของมัน ก็ยังสวย แบบที่รถญี่ปุ่นไม่กล้าทำขายนะ!
แล้วนี่ รถระดับ โคโรลล่า รถที่ถือว่าเป็นหน้าตาของโตโยต้าเค้าเลย
จะมาทำเสียกันง่ายๆ มันไม่น่าเป็นไปได้นะ
นึกได้ดังนั้น ก็เลยยกหูโทรถามตาโบ้ต พีอาร์เพื่อนเลิฟของผม ที่โตโยต้า
นัดวันเวลา ยืมรถมาทดลอง
และนั่นละ คือที่มาของบทความนี้
โคโรลล่าใหม่ ซีรีส์ 140 ถือเป็นสายพันธุ์ที่ 10 จากตระกูลโคโรลล่า นับตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 1966
หรือกว่า 40 ปีที่แล้ว
ตัวเลขสถิติที่น่าสนใจก็คือ นับตั้งแต่เปิดตัว โคโรลล่า ครองแชมป์รถยนต์ขายดีที่สุดในญี่ปุ่นต่อเนื่องกันมาแล้วถึง 36 ปี!
(ยกเว้นปี 2002 ที่โดนฮอนด้า แจ้ส เบียดแซงขึ้นไปครองแชมป์แทน อยู่ 1 ปี) ด้วยยอดขายรวมกว่า 11 ล้านคัน!!
(ขอวงเล็บอีกทีว่า ตอนนี้ ฮอนด้า ฟิต/แจ้ส เริ่มเบียดแซงหน้าขึ้นมาเป็นอันดับ 1 แทนอยู่บ้างในบางเดือนแล้ว)
ส่วนในต่างประเทศ โคโรลล่ามีจำหน่ายในกว่า 140 ประเทศ ทั่วโลก ด้วยจำนวนยอดขายรวมทั้งสิ้น 31 ล้านคัน!!!
ประเทศไหนมีโตโยต้าขาย ประเทศนั้น ต้องมี โคโรลล่า ทำตลาดด้วย
ตัวเลขเหล่านี้ ยืนยันได้ถึงความไว้วางใจของลูกค้าทั่วโลก ที่มีต่อรถยนต์คอมแพกต์รุ่นสำคัญที่สุด
และขายดีที่สุดในประวัติศาสตร์ของโตโยต้าและของวงการรถยนต์ทั่วโลก
สำหรับตลาดเมืองไทย เจเนอเรชันแรกของโคโรลล่า KE10 ถูกนำเข้าสำเร็จรูปทั้งคันจากโรงงานในญี่ปุ่น
มาเปิดตัวถึงเมืองไทย เมื่อปี 1966 ส่วนเจเนอเรชันที่ 2 หรือ KE20 KE25 เปิดตัวในปี 1970
ตามห่างตลาดญี่ปุ่นไม่นานนัก
โคโรลล่า เริ่มขึ้นสายการผลิตในเมืองไทยอย่างเป็นทางการ ในเจเนอเรชันที่ 3 KE30 เมื่อปี 1974
ณ โรงงานประกอบรถยนต์ที่สำโรง ทำตลาดเรื่อยมา ในฐานะรถยนต์นั่งรุ่นยอดนิยมที่ขายดีที่สุดในเมืองไทย
อย่างต่อเนื่องมายาวนาน จนถึงรุ่นที่แล้ว เจเนอเรชันที่ 9 ZZE122 อัลติส ที่ย้ายมาขึ้นสายการประกอบที่โรงงาน
เกตเวย์ ฉะเชิงเทรา ตลอด 40 ปีที่ผ่านมา จำนวนประชากรของโคโรลล่า ในเมืองไทย มียอดขายสะสมมากถึง
455,000 คัน!!
ทุกครั้งที่โตโยต้า เปิดตัวโคโรลล่าโฉมใหม่ ผู้คนทั่วโลกต่างพากันจับตามองถึงความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆที่จะเกิดขึ้น
และในรุ่นใหม่นี้ ก็มีหลายสิ่งหลายอย่างที่น่าสนใจ เริ่มจากการเพิ่มชื่อรุ่นต่อท้ายรุ่นซีดาน ของเวอร์ชันญี่ปุ่น
ซึ่งแม้จะไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับคนไทย เพราะเราคุ้นกับชื่อโคโรลล่า อัลติส
กันอยู่แล้ว แต่สำหรับตลาดญี่ปุ่น นี่ถือเป็นครั้งแรกที่โตโยต้าเพิ่มชื่อรุ่นต่อท้ายให้กับโคโรลล่า ซีดาน
โดยชื่อแอ็กซิโอ นั้น มาจากคำว่า AXIA ในภาษากรีก อันแปลว่า "คุณภาพ"
บ่งบอกถึงความพยายามครั้งใหม่ของโตโยต้า ในการยกระดับความคุ้มค่าที่เป็นจุดขายหลัก
ของโคโรลล่าอัน ครองใจลูกค้าทั่วโลกมานาน ให้ดียิ่งขึ้น ส่วนรุ่นแวกอน ฟิลเดอร์ ยังคงมีชื่อต่อท้ายเหมือนเดิม
เวอร์ชันที่ทำตลาดในญี่ปุ่นของโคโรลล่าใหม่ทั้งแอ็กซิโอ และฟิลเดอร์ ถือเป็นรุ่น NORMAL BODY
ซึ่งมาพร้อมกับขนาดตัวถังเท่ากันกับรุ่นเดิมทั้ง 2 แบบ ด้วยความยาว 4,410 มิลลิเมตร
กว้าง 1,695 มิลลิเมตร สูง 1,460-1,470 มิลลิเมตร และระยะฐานล้อ 2,600 มิลลิเมตร
แต่ สำหรับเวอร์ชันตลาดโลก ที่จะทะยอยเปิดตัวหลังจากนี้ จะใช้ตัวถังแบบ WIDE BODY
หรือมีความกว้างเกินพิกัดรถยนต์ขนาดเล็กของญี่ปุ่น 1,700 มิลลิเมตร นั่นเอง
นั่นหมายความว่า เมื่อรวมกับการปรับปรุงขนาดตัวถังด้านต่างๆแล้ว
ตัวรถของเวอร์ชันไทยจะมีขนาดตัวถังยาวขึ้นกว่าเดิม 4,530 เป็น 4,540 มิลลิเมตร กว้างขึ้นจากเดิม
1,710 เป็น 1,760 มิลลิเมตร ถือว่ากว้างที่สุดในบรรดารถยนต์คอมแพกต์จากฝั่งญี่ปุ่น
สูง 1,490 มิลลิเมตร แต่ยังคงมีระยะฐานล้อเท่าเดิม 2,600 มิลลิเมตร
การทำตัวถังแยกออกมาเป็น 2 ขนาดความกว้างนั่นไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับโตโยต้า
เพราะในสมัยก่อน โตโยต้าเคยใช้วิธีนี้ในการทำตลาดคัมรี รุ่นปี 1990-1994
เพราะ ด้วยเหตุในญี่ปุ่น มีกฎหมายการแบ่งพิกัดขนาดรถยนต์
เพื่อการจัดเก็บภาษีอยู่ 3 แบบ คือ
– แบบ K-CAR ไม่เกิน 660 ซีซี ไม่เกิน 64 แรงม้า (PS) เสียภาษีต่างๆต่ำสุด
– รถยนต์ขนาดเล็ก 5 NUMBER เครื่องยนต์ไม่เกิน 2,000 ซีซี แรงม้าไม่เกิน 200 ตัว (PS) ตัวถังกว้างไม่เกิน 1,700 มิลลิเมตร
– รถยนต์นั่งมาตรฐาน 3 NUMBER ที่มีขนาดใหญ่เกินพิกัดทั้ง 2 ข้อข้างบนขึ้นไป เสียภาษีต่างๆเยอะสุด
สมัยก่อน แคมรี ยังต้องการยอดขายในบ้านตัวเองอยู่ เพราะยังขายดี จึงต้องทำเวอร์ชันตัวถังกว้าง
WIDE BODY ออกขายในตลาดต่างประเทศ ไม่เช่นนั้นจะมีขนาดเล็กจนสู้กับคู่แข่งอย่าง
ฮอนด้า แอคคอร์ด ไม่ได้ แต่แล้ว ปัจจุบันนี้ แคมรี ขายดีในสหรัฐอเมริกา
มากพอที่จะไม่ต้องแยแสตลาดญี่ปุ่น ซึ่งเปลี่ยนรสนิยม หันไปซื้อมินิแวน
และรถยนต์ซับ-คอมแพกต์แนวอเนกประสงค์กันมากขึ้น
จึงมีตัวถังที่มีขนาดความกว้างเพียงแบบเดียว ขายทั่วโลก
(แต่ดัดแปลงเป็น 2 เวอร์ชันญี่ปุ่น-อเมริกา และ เวอร์ชันออสเตรเลีย-เอเซีย
อย่างที่เห็นในบ้านเรา)
นโยบายนี้ โตโยต้าเริ่มนำมาใช้กับโคโรลล่าตั้งแต่รุ่นที่แล้ว ZZE-120 SERIES เป็นต้นมา
เนื่องจากเหตุผลหนึ่งที่โคโรล่ายังขายดีอยู่ในญี่ปุ่น เพราะมีความกว้างไม่เกิน 1,700 มิลลิเมตร
ตามพิกัดภาษีสำหรับรถยนต์ขนาดเล็ก เสียภาษีไม่แพงนัก แต่ในตลาดต่างประเทศ คู่แข่งค่ายญี่ปุ่น
ทั้งฮอนด้า มาสด้า ซูบารุและมิตซูบิชิ ที่มองว่า ทำตัวถังกว้าง 1,695 มิลลิเมตรเท่าเดิม
ขายไปก็สู้โคโรลล่าไม่ได้ ต่างพากันเพิ่มขนาดตัวถังให้กว้างขึ้นไปให้เกินกว่า 1,700 มิลลิเมตร
เพื่อหวังประกบคู่แข่งระดับโลก ทั้ง โฟล์กสวาเกน กอล์ฟ ฟอร์ด โฟกัส เรโนลต์ เมกาน เปอโยต์ 307
ซีตรอง C4 เฟียต บราโว-บราวา ฯลฯ รวมทั้งเอาใจลูกค้าฝรั่งร่างยักษ์
ในเมื่อยังขายดีในบ้านตัวเองอยู่ แต่ต้องรักษาส่วนแบ่งยอดขายนอกญี่ปุ่นด้วย
โตโยต้าจึงอาศัยความได้เปรียบทั้งงบลงทุนในการพัฒนารถยนต์รุ่นใหม่ ที่มากพอ
การลดต้นทุนที่เลื่องลือกันในฝีมือ และบุคลากรชั้นหัวกะทิ สร้างโคโรลล่าออกมา
2 ขนาดความกว้างตัวถังอย่างที่เห็นกันอยู่ทั้งในรุ่นที่แล้ว และรุ่นใหม่ล่าสุดนี้
ถึงเวอร์ชันญี่ปุ่น โตโยต้ามอบหมายให้ HIROYA FUJITA รับหน้าที่ Chief Enginner
ที่ดูแลโครงการพัฒนาโคโรลล่าใหม่ ส่วนเวอร์ชันไทย ผู้ที่เข้ามาดูแลงานนี้ร่วมกัน
นั่นคือ Y.Kawamoto (ยาซึยูกิ คาวาโมโต) ; Chief Enginner
งานออกแบบของโคโรลล่า ซีดานใหม่ เป็นผลงานของสตูดิโอออกแบบฝั่งญี่ปุ่น โดยนักออกแบบใช้เวลา
ทำงานเพื่อค้นหาแรงบันดาลใจถึง 4 เดือนในอิตาลี เพื่อให้ได้งานออกแบบที่แตกต่างอย่างโดดเด่น
แม้กระทั่งขับขี่อยู่บนท้องถนนของเมืองตูริน ลู่ลมด้วยค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานอากาศ (Cd)
ต่ำเพียง 0.28 เท่านั้น ถือว่าลดลงจากรุ่นเดิมนิดหน่อย
ทว่า มีลูกค้าจำนวนไม่น้อยที่มีปฏิกิริยาเชิงลบ เมื่อเห็นรูปโฉมคันจริง ที่เหมือนกับเวอร์ชันจีนไม่มีผิด
หลายคนมองแล้วบอกกับผมว่าแนวเส้นสายตัวถังทั้งคัน กลับดูเหมือนว่า เป็นเพียงการนำเอา
โคโรลล่า อัลติสรุ่นปัจจุบัน มาขยายความกว้าง แล้วดัดแปลงแนวเส้นต่างๆ ให้ดูลงตัวยิ่งขึ้น
ถ้าเปรียบให้เข้าใจง่ายเข้า ก็พอจะสรุปได้ว่า เป็นการนำเอาโคโรลล่า อัลติสรุ่นปัจจุบัน ไปลนไฟ
จนเส้นสายตัวถังเดิม ละลายลงมา แล้วค่อยเติมแต่งรายละเอียดของ แคมรี
เวอร์ชันเอเซีย-โอเซียเนีย เข้าไปนั่นเอง
แม้จะสร้างขึ้นบนพื้นฐานของเวอร์ชันญี่ปุ่น แต่ชิ้นส่วนตัวถังด้านหน้า กลับออกแบบใหม่หมด
ให้แตกต่างไปอย่างชัดเจน เปลือกกันชนหน้าพลาสติกรีไซเคิลได้ ถูกออกแบบให้
กินพื้นที่ไปจนถึงขอบด้านบนของชุดไฟหน้า คล้ายกับน้องเล็กรุ่น ยาริส ขณะที่ชุดไฟหน้าแบบ
HID (มีเฉพาะรุ่น 1.8G ตัวท็อปที่เห็นนี้) มาในสไตล์เรียว และดูสวยงามกว่าเวอร์ชันญี่ปุ่น
ชุดไฟท้าย กลับยึดแนวเส้นของโคโรลล่า อัลติส รุ่นปัจจุบัน
แถมลายไฟท้าย ยังย้อนรอยกลับไปใช้ลวดลาย
ที่เหมือนกับ อัลติส ปี 2001 ไม่มีผิดเพี้ยน!!
ขณะที่กันชนด้านหลัง เล่นแนวขอบสัน
จนเหมือนดัดแปลงมาจากเปลือกกันชนท้ายของรุ่นเดิม
ความแตกต่างจากภายนอกในระหว่างแต่ละรุ่นด้วยกันเองนั้น มีอยู่ 4 ตำแหน่ง
ดูที่กระจังหน้า ซึ่งในรุ่น 1,800 ซีซี จะมีลายโครเมียม แปะทับลงไปอีกชั้นหนึ่ง
ขณะที่รุ่น 1,600 ซีซี ที่เห็นอยู่นี้ จะไม่มี เป็นกระจังหน้าสีดำธรรมดา
จุดที่ 2 คือ ล้ออัลลอย ของรุ่น 1,800 ซีซี กับ 1,600 ซีซี ก็จะมีลวดลายต่างกัน ตามรูปที่เห็น
“ไพรม์มัส กรุ๊ป…