นายวัลลภ ตรีฤกษ์งาม กรรมการบริหารด้านการขายและการตลาด บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีแนวโน้มรุนแรงเพิ่มขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ โดยมีตัวเลขผู้ติดเชื้อในแต่ละวันเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนส่งผลให้เกิดความแออัดและรอคิวนานของประชาชนที่กำลังเข้าไปใช้บริการในโรงพยาบาลต่างๆ เป็นจำนวนมาก โดยรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย (Biosafety Mobile Unit) สำหรับการตรวจคัดกรองหาเชื้อโควิด-19 ในเชิงรุกแบบเคลื่อนที่ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในช่วงวิกฤติดังกล่าวนี้ โดยตู้ชีวนิรภัย (biosafety unit) ถูกออกแบบมาสำหรับติดตั้งอยู่บนกระบะรถ SUZUKI CARRY เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ ล่าสุดซูซูกิได้ร่วมพิธีส่งมอบรถ SUZUKI CARRY ในโครงการผลิตรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย ที่สามารถ SWAB ได้พร้อมกัน 3 ทาง จึงเก็บตัวอย่างได้ถึง 3 เคส ในครั้งเดียว สามารถตรวจคัดกรองโควิด-19 ได้กว่าวันละ 3,000 ราย โดยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ร่วมกับมูลนิธิโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร และ ทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน (หมอแล็บแพนด้า) ณ คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา
รถกระบะบรรทุกอเนกประสงค์เพื่อการพาณิชย์ขนาดย่อม SUZUKI CARRY ถึงแม้จะถูกจดจำในฐานะ “ฟู้ดทรัค” ธุรกิจติดล้อที่ใช้การตลาดเชิงรุกในการเข้าหาผู้บริโภค แทนที่การหยุดนิ่งอยู่กับที่ จนกลายเป็นขวัญใจผู้ประกอบการยุคใหม่ที่ต้องการอิสระในการเดินตามความฝันและต้องการมีธุรกิจเป็นของตัวเอง อีกทั้งความตั้งใจของซูซูกิต้องการให้รถ SUZUKI CARRY เป็นมากกว่ารถขนสินค้าหรือสัมภาระ เปรียบเสมือนดั่งพาร์ทเนอร์คนสำคัญ ที่พร้อมจะสนับสนุนและร่วมขับเคลื่อนอยู่เคียงข้างผู้ประกอบการด้วยความจริงใจ พร้อมเดินหน้าไปสู่จุดหมายและประสบความสำเร็จไปด้วยกัน
ทว่าเวลานี้ SUZUKI CARRY กำลังตอกย้ำชัดให้เห็นถึงดีเอ็นเอของความเป็นกระบะบรรทุกอเนกประสงค์ ด้วยการปรากฏโฉมในรูปแบบของ “รถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย” (SUZUKI CARRY Biosafety Mobile Unit) หรือ “รถตรวจโควิด” ที่พัฒนาจากรถตรวจโควิดต้นแบบให้สามารถตรวจเชิงรุกแบบเคลื่อนที่ในจำนวนมากได้ สามารถทำการ SWAB ได้พร้อมกัน 3 ทาง จึงเก็บตัวอย่างได้ถึง 3 เคส ในครั้งเดียว โดยเฉลี่ยสามารถตรวจคัดกรองผู้ที่เสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ได้กว่าวันละ 3,000 ราย นับว่าเป็นรถเก็บตัวอย่างชีวินิรภัยประสิทธิภาพเยี่ยมที่สามารถตรวจเชิงรุกได้อย่างรวดเร็วและเป็นจำนวนมากในขณะนี้ ปัจจุบันลุยปูพรมตรวจโควิดเคียงข้างบุคลากรทางการแพทย์ได้แล้วถึง 21 คัน โดยได้ส่งมอบรถคันล่าสุดเสริมทัพทีมแพทย์แล้วอย่างเป็นทางการ
รถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย (SUZUKI CARRY Biosafety Mobile Unit) ถือเป็นความภาคภูมิใจของซูซูกิ ที่เกิดจากความร่วมมือของ ทนพ. ภาคภูมิ เดชหัสดิน (หมอแล็บแพนด้า) ศูนย์นวัตกรรม KMITL FIGHT FOR COVID-19 และศูนย์วิจัยและออกแบบงานสร้างสรรค์ (Research and Creative Design Center: RCDC) คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในการพัฒนารถเก็บตัวอย่างชีวินิรภัยแบบเคลื่อนที่ เพื่อที่จะเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการการตรวจคัดกรองผู้เสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 เชิงรุกในสถานการณ์การระบาดอย่างรุนแรงในขณะนี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางการควบคุมการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มพื้นที่เสี่ยงให้เร็วที่สุด โดยออกแบบพื้นที่กระบะบรรทุกของ SUZUKI CARRY ขนาดกว้าง 1,670 มิลลิเมตร ยาว 2,450 มิลลิเมตร และรับน้ำหนักได้ 945 กิโลกรัม ให้เป็น “ตู้ชีวนิรภัย” (Biosafety Unit) ที่เปรียบเสมือนห้องปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ฯ ซึ่งบรรจุได้ถึง 3 ห้อง สามารถ SWAB ได้ 3 คนในครั้งเดียว ต่อยอดจากรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยต้นแบบคันแรกที่ SWAB ได้เพียงครั้งละ 1 คน ทำให้ตรวจคัดกรองได้มากกว่า 3,000 คนต่อวัน ภายในตู้ชีวนิรภัยสร้างสรรค์ผ่านหลักการ Human-Centered Design ช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์ขณะปฏิบัติงาน ด้วยการติดตั้งระบบปรับและกรองอากาศด้วย HEPA Filter และระบบแรงดันบวก (Positive Pressure) ช่วยเสริมประสิทธิภาพให้แก่การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ล่าสุดเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา นายวัลลภ เป็นผู้แทนซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) ในการเข้าร่วมในพิธีส่งมอบรถ SUZUKI CARRY ในโครงการผลิตรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยอย่างเป็นทางการ เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ โดยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ร่วมกับมูลนิธิโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร และ หมอแล็บแพนด้า ณ คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยมี ผศ.ดร.อันธิกา สวัสดิ์ศรี คณบดีคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ และนายสุรเชษฐ ไชยอุปละ รองคณบดีฝ่ายกลยุทธ์สื่อสารองค์กรและสารสนเทศ ในฐานะตัวแทนสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พร้อมด้วย ทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน นักเทคนิคการแพทย์ที่ครองใจประชาชนในสังคมออนไลน์ผ่านเฟซบุ๊คชื่อ “หมอแล็บแพนด้า”
การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19ในขณะนี้ นับว่ามีความรุนแรงสูง การควบคุมการแพร่ระบาดด้วยการตรวจเชิงรุกจึงเป็นแนวทางที่สำคัญ ซึ่งหากมีรถเก็บตัวอย่างชีวินิรภัยที่มีความคล่องตัวสูง สามารถรุดหน้าไปตรวจเชิงรุกยังพื้นที่ระบาดหรือมีความเสี่ยงได้ในเวลาอันรวดเร็วมาเสริมกำลังกับบุคลากรทางการแพทย์ให้ทำงานแข่งกับเวลาได้อย่างทันท่วงที อีกทั้งยังช่วยปกป้องเจ้าหน้าที่ทางการแพทพย์ไม่ให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ก็จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อ และสามารถควบคุมการระบาดได้ในที่สุด
รถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย (SUZUKI CARRY Biosafety Mobile Unit) ลงถนนปฏิบัติการจริงอย่างเต็มประสิทธิภาพ สร้างผลงานเป็นที่ประจักษ์ในวงกว้าง ด้วยเหตุนี้จึงอยู่ในความสนใจของสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้องค์กรเอกชนหลายภาคส่วนเห็นความสำคัญ ร่วมสนับสนุนการสร้างรถ (SUZUKI CARRY Biosafety Mobile Unit) ในเชิงสาธารณประโยชน์มากขึ้น ปัจจุบันมีรถ (SUZUKI CARRY Biosafety Mobile Unit) ในปฏิบัติการตรวจคัดกรองเชิงรุกถึง 21 คัน และยังเพิ่มจำนวนต่อไปอีกเรื่อยๆ
นายวัลลภ กล่าวเพิ่มเติมว่า “SUZUKI CARRY Your Dream เคียงข้างทุกเส้นทางฝัน” ยังคงเป็นดีเอ็นเอที่ชัดเจนของ SUZUKI CARRY เพราะไม่ว่าความฝันของคุณจะเป็นอย่างไร หรืออยู่ท่ามกลางวิกฤติการณ์แบบไหน SUZUKI CARRY ก็พร้อมจะเป็นยานพาหนะที่อยู่เคียงข้างร่วมฝ่าวิกฤติในทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็น รถทำมาหากินในรูปแบบของฟู้ดทรัคกู้เศรษฐกิจของครอบครัว รถปันสุขที่แบ่งปันรอยยิ้มสู่สังคม หรือรอบนี้ที่ SUZUKI CARRY เป็นด่านหน้าร่วมกับทีมบุคลากรทางการแพทย์ในการปฏิบัติการเชิงรุกแบบเคลื่อนที่ และเป็นที่แน่นอนว่า เมื่อหมดวิกฤติการณ์นี้ รถ SUZUKI CARRY ก็จะสามารถเปลี่ยนสถานะเป็นรถอเนกประสงค์ในรูปแบบอื่นๆ เพื่อตอบสนองสังคมไทยต่อไปอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับโครงการ “SUZUKI Cause We Care” ซึ่งสิ่งที่เรามุ่งมั่นและต้องการสื่อสารไปยังลูกค้าและพี่น้องชาวไทยทุกท่านว่าเราไม่ใช่แค่เพียงผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์ แต่เราหวังเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือสังคม พร้อมกับการพัฒนาธุรกิจควบคู่ไปกับการอยู่คู่เคียงข้างชุมชนและสังคมไทยอย่างยั่งยืนอีกด้วย
ช่องทางการติดต่อ
www.suzuki.co.th
“ไพรม์มัส กรุ๊ป…