ท้าคนท้ารถกับทริปประหยัดน้ำมันไปกับ ALL NEW FORD RANGER


ความท้าทายนั้นผมว่ามันมีอยู่ในตัวเราทุกคนแต่ความยากง่ายอาจจะไม่เท่ากันแล้วแต่ว่าคุณอยากตั้งโจทย์ไว้ยังไง แล้วคุณจะทำยังไงให้ไปถึง
มาครั้งนี้มันมีความท้าทายเกิดขึ้นมาเมื่อทาง ฟอร์ด ตั้งเป้าไว้ว่าน้ำมันหนึ่งถังจะวิ่งได้ไกลถึงไหนจึงได้ส่งเทียบเชิญมา มีหรือที่ผมจะปฎิเสธ กำหนดการคร่าวๆที่รู้มานั้นคือ น้ำมันหนึ่งถังวิ่งให้ได้เกิน 1,600 กิโลเมตรโดยใช้เส้นทางเชียงราย-กระบี่
เริ่มเดินทางเราเริ่มต้นเดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิ อ้าว!ทำไมถึงไปเริ่มที่นั่นล่ะก็พวกผมต้องเดินทางจากกรุงเทพฯขึ้นเครื่องไปเชียงรายแล้วขับลงมายังไงล่ะครับท่านผู้อ่าน


ก่อนที่เราจะไปขับเจ้า ฟอร์ดเรนเจอร์ ในการขับประหยัดนั้นขออธิบายกติกาทำความเข้าใจกันเสียก่อน การทดสอบประสิทธิภาพการประหยัดน้ำมันของฟอร์ด เรนเจอร์ ใหม่ ในครั้งนี้ ฟอร์ด ประเทศไทย ได้เชิญสื่อมวลชนสายยานยนต์จำนวน 24 คน เป็นผู้ทำการทดสอบโดยมีการควบคุมการทดสอบและประเมินผลโดยรองศาสตราจารย์ ดร. สายประสิทธิ์ เกิดนิยม อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย-เยอรมัน และคณะ พร้อมผู้แทนจำหน่ายฟอร์ด อเมริกันมอเตอร์ เชียงราย ผู้แทนจำหน่ายฟอร์ด สองแคว พิษณุโลก ผู้แทนจำหน่ายฟอร์ด นีโอ พระราม 2 ผู้แทนจำหน่ายฟอร์ด มิตรแท้ จังหวัดชุมพร และผู้แทนจำหน่ายฟอร์ด อนุภาษ มอเตอร์เซลส์ กระบี่ ร่วมเป็นสักขีพยานระหว่างการเดินทาง
ภายใต้ข้อกำหนดในการทดสอบโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากบัณฑิตวิทยาลัย วิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธรไทย-เยอรมัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือซึ่งกำหนดให้ใช้ความเร็วเฉลี่ยตลอดเส้นทางไม่ต่ำกว่า 60 กิโมเมตรต่อชั่วโมง นอกจากนี้ระหว่างการทดสอบรถฟอร์ด เรนเจอร์ ใหม่ ทุกคันจะต้องเปิดแอร์ไว้พัดลมเบอร์ 2 ระดับความเย็นอยู่กึ่งกลางตลอดเส้นทาง ห้ามเปิดกระจก หรือปิดแอร์โดยเด็ดขาด ส่วนระดับแรงดันลมยางนั้น ฟอร์ด เรนเจอร์ ใหม่ ใช้แรงดันลมยางตามมาตรฐานโรงงานสำหรับการขับขี่แบบประหยัด หรือ ECO-Mode ซึ่งจะติดไว้ข้างประตูรถฝั่งผู้ขับของฟอร์ด เรนเจอร์ ใหม่ และในคู่มือประจำทุกคัน คือมีแรงดันลมยาง 38 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว


เมื่อเราเดินทางมาถึงสนานบินเชียงรายแล้ว ก็นั่งรถต่อมายังโชว์รูม ฟอร์ด อเมริกันมอเตอร์ เชียงราย เพื่อมาฟังสรุปเส้นทางที่เราจะวิ่งทดสอบกัน อ้อลืมบอกไปครับการทดสอบในครั้งนี้อย่างที่ทราบบอกไปแล้วว่ามีทั้งหมด 24 คนนั้นเราแบ่งออกเป็น 6 ทีม ทีมละ4 คนโดยในทีมนั้นจะแบ่งออกเป็นสองช่วงคือ ช่วงเชียงราย-กทม. และช่วง กทม.-กระบี่ ช่วงละ 2 คน
โดยในทีมนั้นนอกจากผมแล้วยังมีพี่ กบ รชฏ สุวรรณรัตน์ จาก showroom on air พี่ตู่วิโรจน์ ธัญญาหาญ จากไหนดีล่ะเอาเป็นเส้นทางยานยนต์แล้วกัน และคนสุดท้ายพี่โจ้ ดินทรรัตน์ บุญฉลวย จาก motor guide
หลังจากที่ฟังสรุปเส้นทางและกติกาแล้วเรามาจับฉลากเพื่อหารถที่เราจะขับโดยรถที่ใช้นั้นเป็นฟอร์ด เรนเจอร์ ใหม่ รุ่นดับเบิลแค็บ XLT ไฮไรเดอร์ เครื่องยนต์ดูราทอร์ค ทีดีซีไอ ขนาด 2.2 ลิตร วีจี เทอร์โบ แบบเกียร์ธรรมดา 6 สปีดและ เกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด อย่างละ 3 คัน ซึ่งผมจับได้หมายเลข 2 ซึ่งเป็นเกียร์ธรรมดา


ก่อนการเดินทางก็ต้องลงมาดูรถให้อยู่ในข้อกำหนดทั้งเรื่องแรงดันลมยางและปริมาณน้ำมันจนเป็นที่พอใจอย่างสุดท้ายที่ผมและพี่กบต้องทำก่อนเดินทางคือต้องชั่งน้ำหนักทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสาร
เราออกจากโชว์รูม ฟอร์ดอเมริกันมอเตอร์ เชียงราย มุ่งหน้าสู่จุดหมายแรกที่จังหวัดพะเยาเพื่อแวะรับประทานอาหารกัน อยากจะบอกท่านผู้อ่านถึงเทคนิคต่างๆที่ใช้กันในการขับประหยัดเริ่มตั้งแต่ ควบคุมความเร็วที่ใช้ให้เหมาะสมซึ่งในรถแต่ละคันนั้นจะไม่เท่ากันอันนี้คุณผู้อ่านต้องลองหากันเองนะครับว่ารถที่ท่านใช้นั้นความเร็วที่ประหยัดที่สุดจะอยู่ที่เท่าไร


ต่อมาการลดแรงต้านของลมหลักการง่ายๆครับเราจะทำยังไงให้ลมที่มาปะทะกับรถที่เราขับนั้นให้ลดลงน้อยที่สุดสำหรับพวกผมนั้นใช้วิธีขับตามรถบรรทุก หรือ พวกรถเทรลเลอร์ประเภทหัวลากเลยเพราะรถที่มีขนาดใหญ่ประเภทนั้นจะกรุยทางและแหวกลมไว้ให้รถเล็กแบบพวกเราตามหลักการอากาศพลศาสตร์แต่จะต้องขับเข้าไปใกล้หรือชิดขนาดที่เรียกว่าดูดท้ายคันข้างหน้าเลยนั้นคือสองอย่างหลักที่พวกผมใช้กันในการแข่งครั้งนี้ แต่วิธีหลังนี่ไม่ค่อยอยากจะแนะนำท่านผู้อ่านให้ทำซักเท่าไรเพราะมันอันตรายอยู่เหมือนกันถ้าท่านอยากจะขับประหยัดแล้วละก็ใช้วิธีคุมคันเร่งกับเกียร์ให้เหมาะสมกับความเร็วจะดีกว่า


โดยความเร็วที่เราใช้นั้นจะอยู่ในช่วง 65-70 กิโลเมตรต่อชั่วโมงซึ่งกว่าจะหาความเร็วที่เหมาะสมได้นั้นก็ใช้อยู่พอสมควรแถมยังต้องแข่งกับเวลาอีกต่างหากซึ่งถ้าใช้เวลาเฉลี่ยทั้งหมดต่ำกว่า 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมงในการแข่งขันก็ต้องถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขันซึ่งในแต่ละวันนั้นก็จะมีจุดลงเวลาเพื่อให้รู้ว่าเรานั้นใช้เวลาเกินหรือขาดไป หลังจากขับรถมาถึงจุดพักแรกเพื่อรับประทานอาหารกันทางทีมงานก็แจ้งว่าเรานั้นขับช้าเกินไป


แล้วจะต้องทำยังไงแบบนี้ผมกับพี่กบก็ต้องเพิ่มความเร็วขึ้นไปอีกเพื่อชดเชยเวลาที่หายไปต้องอธิบายให้ท่านผู้อ่านเข้าใจอีกอย่างว่าทางทีมงานนั้นจะคำนวณเวลาจากระยะทางเท่านั้นไม่นับเวลาที่รถหยุดหรือติดไฟแดงเช่น จากช่วงที่ 1 ระยะทาง 80 กม.ก็จะให้เวลาแค่ 80 นาทีหรือ 1 ชั่วโมง 20 นาที เท่านั้นซึ่งหมายความว่าต้องขับให้ความเร็วนั้นไม่ต่ำกว่า 60 กม./ชม. เพื่อชดเชยเวลาที่รถติดเข้าไปด้วย เรียกได้ว่าทำเอาผมกับพี่กบนั้นเครียดกันไปเลยเพราะต้องดูทั้งความเร็วและเวลาให้เหมาะสมกันด้วย ทำให้เรานั้นต้องวางแผนกันใหม่


ในช่วงของวันแรกนั้นจากเชียงรายมุ่งสู่จุดพักค้างคืนแรกที่พิษณุโลกนั้นทางที่วิ่งนั้นที่ทั้งขึ้นเขาลงเขาและทางราบก็เปลี่ยนเกียร์และคุมความเร็วไปพร้อมกันอีกด้วยซึ่งแม้บางครั้งอยากจะตบเข้าเกียร์ 6 ซึ่งเป็นเกียร์สุดท้ายกะว่าจะให้ประหยัดน้ำมันแบบสุดๆก็ไม่ได้เพราะจะไม่มีแรงส่งหรือแรงบิดในการไต่ขึ้นเขา ต้องเหยียบคลัทช์เปลี่ยนเกียร์ต่ำก็จะทำให้กินน้ำมันเข้าไปอีก
ส่วนทางราบนั้นบางช่วงก็ต้องคาไว้ที่เกียร์ 5 เพราะดูจากหน้าจอแสดงผลว่าเป็นเกียร์ที่เหมาะสมและประหยัดน้ำมันที่สุดที่ผมอยากจะบอกท่านผู้อ่านคือเกียร์สุดท้ายนั้นอาจจะไม่ใช่เกียร์ที่ประหยัดน้ำมันที่สุด
กว่าจะขับถึงโรงแรมที่พักนั้นก็ค่ำพอดีเราพักรับประทานอาหารพร้อมกันแล้วทางทีมงานก็แจ้งถึงระยะทางและความเร็วของแต่ละคันที่ทำได้ซึ่งเฉลี่ยออกมาแล้วรถที่ผมอยู่ที่ 62 กม./ชม.หลังจากนั้นเราก็แยกย้ายกันไปพักผ่อนก่อนจะเริ่มขับกันต่อในวันที่สอง


เช้ามาคณะของเราก็พร้อมออกเดินทางกัน จุดหมายของเราในวันนี้คือโชว์รูมฟอร์ด นีโอ พระราม 2 ซึ่งออกจากพิษณุโลกมุ่งหน้าสู่จุดพักรับประทานอาหารเที่ยงที่ outlet อยุธยาผมและพี่กบก็ปรึกษากันแล้วว่าวันนี้เราอาจจะต้องใช้ความเร็วเพื่อทำเวลาเผื่อรถติดในกรุงเทพฯอีกและทางในช่วงนี้ก็เป็นทางราบซะเป็นส่วนใหญ่
เวลาที่ทำสะสมไว้นั้นมีอยู่ประมาณ 10 นาทีได้แต่เป้าหมายนั้นคือต้องเหลือเผื่อไว้อย่างน้อย 30 นาทีสำหรับรถติดเพราะคำนวณเวลาเผื่อเหลือเผื่อขาดไว้หากเร็วเข้าไปยังจุดพักรถสุดท้ายที่ฟอร์ด นีโอ พระราม 2 เร็วไปก็ไม่เป็นไรเพราะยังมีผลัด 2 อีกที่ขับต่อแต่หากเข้าช้าไปละก็ผลัด 2 ก็คงจะเครียดหนัก


เรามาถึงจุดพักรถที่อยุธยาแวะรับประทานอาหารกันแล้วก็ดูเวลาแล้วว่าประมาณบ่ายโมงกว่าๆกับระยะทางอีกเกือบ300กม.คำนวณเวลาแล้วจะไปถึงจุดหมายประมาณ 4-5โมงเย็นแล้วเราจะต้องวิ่งผ่านสะพานพระราม 9 ในช่วงเวลานั้นซึ่งเป็นเวลาที่รถติดแบบสาหัสทีเดียวทำให้เราต้องรีบออกเดินทางจากอยุธยานั้นเรามุ่งหน้าสู่ถนนวงแหวนตะวันออกขึ้นทางด่วนรามอินทราออกท่าเรือมุ่งหน้าดาวคะนองซึ่งในช่วงที่วิ่งผ่านเข้ากทม.เมืองฟ้าอมรนั้นไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นรถไม่ติดเลยหรืออาจจะเป็นผลมาจากบอลยูโรที่เตะกันอยู่ในช่วงนั้นก็เป็นได้ทำให้เราไปถึงโชว์รูม ฟอร์ด นีโอ พระราม 2 ในช่วงเวลาก่อนห้าโมงเย็น


ซึ่งเกจ์น้ำมันของรถผมนั้นตกลงมาอยู่บริเวณครึ่งถังและหน้าจอแสดงผลไว้ว่าสามารถวิ่งได้อีกประมาณ 800 กม. ก็เป็นอันว่าผมหมดหน้าที่ลงตรงนี้และส่งไม้ต่อให้กับผลัดที่ 2
ส่วนผลการแข่งขันมีดังนี้ครับ
เกียร์ธรรมดา 6 สปีด
1. อันดับที่ 1 มีอัตราสิ้นเปลือง 20.82 กิโลเมตรต่อลิตร ใช้ปริมาณน้ำมัน 77.13 ลิตร วิ่งได้ได้ระยะทางรวม 1,606 กิโลเมตร ด้วยความเร็วเฉลี่ยตลอดการเดินทาง 62.09 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
2. อันดับที่ 2 มีอัตราสิ้นเปลือง 19.98 กิโลเมตรต่อลิตร ใช้ปริมาณน้ำมัน 80.39 ลิตร วิ่งได้ได้ระยะทางรวม 1,606 กิโลเมตร ด้วยความเร็วเฉลี่ยตลอดการเดินทาง 61.45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
3. อันดับที่ 3 มีอัตราสิ้นเปลือง 18.26 กิโลเมตรต่อลิตร ใช้ปริมาณน้ำมัน 85.93 ลิตร วิ่งได้ได้ระยะทางรวม 1,569 กิโลเมตร ด้วยความเร็วเฉลี่ยตลอดการเดินทาง 64.57 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

เกียร์อัตโนมัติ 6 สปิด
1. อันดับที่ 1 มีอัตราสิ้นเปลือง 17.43 กิโลเมตรต่อลิตร ใช้ปริมาณน้ำมัน 85.93 ลิตร วิ่งได้ได้ระยะทางรวม 1,498 กิโลเมตร ด้วยความเร็วเฉลี่ยตลอดการเดินทาง 62.5 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
2. อันดับที่ 2 มีอัตราสิ้นเปลือง 17.11 กิโลเมตรต่อลิตร ใช้ปริมาณน้ำมัน ใช้ปริมาณน้ำมัน 85.93 ลิตร วิ่งได้ได้ระยะทางรวม 1,470 กิโลเมตร ด้วยความเร็วเฉลี่ยตลอดการเดินทาง 62.16 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
3. อันดับที่ 3 มีอัตราสิ้นเปลือง 16.76 11 กิโลเมตรต่อลิตร ใช้ปริมาณน้ำมัน ใช้ปริมาณน้ำมัน 85.93 ลิตร วิ่งได้ได้ระยะทางรวม 1,440 ด้วยความเร็วเฉลี่ยตลอดการเดินทาง 65.01 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ทีมผมนั้นได้ที่สองของเกียร์ธรรมดาครับซึ่งผลที่ออกมานั้นแสดงให้เห็นว่าน้ำมันหนึ่งถังของ ฟอร์ดเรนเจอร์นั้นวิ่งได้ไกลกว่า 1700 กิโลเมตร

###############################################

premsak@caronline.net

Facebook Comments