ตลาดรถยนต์เดือนสิงหาคม

นายสุรศักดิ์ สุทองวัน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนสิงหาคม 2563 มียอดการขายรวมทั้งสิ้น 68,883 คัน ลดลง 12.1% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 21,300 คัน ลดลง 30.3% รถเพื่อการพาณิชย์ 47,583 คัน ลดลง 0.5%ขณะที่ รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ มีจำนวน 37,035 คัน ลดลง 3.1%

  • ประเด็นสำคัญ 

ตลาดรถยนต์เดือนสิงหาคมมีปริมาณการขาย 68,883 คัน ลดลง 12.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 30.3% และตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 0.5% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา ยังคงเป็นผลจากสถานการณ์ COVID-19 แต่อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่ายอดขายโดยรวมของเดือนสิงหาคมปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม เนื่องจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวดีชึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่4 หลังจากที่รัฐบาลได้ดำเนินการผ่อนคลายให้ธุรกิจสามารถกลับมาดำเนินการได้ ประกอบกับการที่รัฐบาลออกมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากสถานการณ์COVID-19 ทั้งมาตรการด้านการเงินและการคลังเพื่อช่วยเหลือประชาชนทั่วไปและผู้ประกอบการโดยทั่วไป ส่งผลในเชิงบวกให้กับตลาดรถยนต์ 

ส่วนตลาดรถยนต์สะสม 8 เดือน มีปริมาณการขาย 448,006 คัน  ลดลง 32.9% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 40.7% ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 28.1% เป็นผลกระทบมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ไม่เพียงแต่ตลาดรถยนต์ไทย แต่ส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศและทั่วโลกติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง 

สำหรับเดือนสิงหาคมนี้ จากการที่ภาครัฐฯ ได้ดำเนินการผ่อนคลายให้ธุรกิจสามารถกลับมาดำเนินการได้ ภายใต้มาตรการที่กำหนด ควบคู่ไปกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้นในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลัง COVID-19 เพื่อฟื้นความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และการควบคุมสถานการณ์เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น รวมถึงการเริ่มมีการจัดงานส่งเสริมการขายจากค่ายรถยนต์ ได้แก่ งาน Big Motor Sale 2020 ช่วงปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา สร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนและผู้บริโภค ส่งผลให้ตลาดรถยนต์ในเดือนกันยายนมีทิศทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนสิงหาคม 2563
  • ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 68,883 คัน ลดลง 12.1%                               

อันดับที่ 1 โตโยต้า      21,599 คัน      ลดลง      31.9%        ส่วนแบ่งตลาด 31.4%

อันดับที่ 2 อีซูซุ         16,557 คัน      เพิ่มขึ้น    11.9%         ส่วนแบ่งตลาด 24.0%

อันดับที่ 3 ฮอนด้า      8,610 คัน      ลดลง      45.3%        ส่วนแบ่งตลาด 12.5%

  • ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 21,300 คัน ลดลง 30.3%                                  

อันดับที่ 1 ฮอนด้า      7,099 คัน      ลดลง       39.6%       ส่วนแบ่งตลาด 33.3%

อันดับที่ 2 โตโยต้า      5,278 คัน      ลดลง       43.5%       ส่วนแบ่งตลาด 24.8%

อันดับที่ 3 นิสสัน       2,332 คัน       ลดลง       19.4%       ส่วนแบ่งตลาด 10.9%

  • ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 47,583 คัน ลดลง 0.5%                     

อันดับที่ 1 อีซูซุ                  16,557 คัน      เพิ่มขึ้น    11.9%         ส่วนแบ่งตลาด 34.8%

อันดับที่ 2 โตโยต้า      16,321 คัน      ลดลง     25.7%         ส่วนแบ่งตลาด 34.3%   

อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ      3,189 คัน      ลดลง     21.7%         ส่วนแบ่งตลาด  6.7%

  • ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน*  (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) 

ปริมาณการขาย 37,035 คัน ลดลง 3.1%

อันดับที่ 1 อีซูซุ           15,280 คัน     เพิ่มขึ้น     15.1%        ส่วนแบ่งตลาด 41.3%

อันดับที่ 2 โตโยต้า      13,565 คัน     ลดลง      30.3%        ส่วนแบ่งตลาด36.6%

อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ        3,189 คัน     ลดลง      21.7%        ส่วนแบ่งตลาด   8.6%

                             *ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด ตัน) 3,752 คัน

                                       โตโยต้า 1,750 คัน– มิตซูบิชิ 934 คัน – ฟอร์ด 533 – คัน– อีซูซุ 422 คัน – นิสสัน 106 คัน – เชฟโรเลต คัน

  • ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 33,283 คัน เพิ่มขึ้น 0.1%

อันดับที่ 1 อีซูซุ                  14,858 คัน     เพิ่มขึ้น     17.7%        ส่วนแบ่งตลาด 44.6%

อันดับที่ 2 โตโยต้า       11,815 คัน     ลดลง      25.7%        ส่วนแบ่งตลาด 35.5%

 อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ         2,255 คัน     ลดลง      28.1%        ส่วนแบ่งตลาด   6.8%

  • สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – สิงหาคม 2563
  •  ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 448,006 คัน ลดลง 32.9%                               

             อันดับที่ 1 โตโยต้า     133,374 คัน    ลดลง      43.3%        ส่วนแบ่งตลาด 29.3%

             อันดับที่ 2 อีซูซุ            108,088 คัน    ลดลง      11.1%        ส่วนแบ่งตลาด 24.1%

             อันดับที่ 3 ฮอนด้า      55,970 คัน     ลดลง      37.5%        ส่วนแบ่งตลาด 12.5%

  •  ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 150,700 คัน ลดลง 40.7%                                 

อันดับที่ 1 ฮอนด้า      46,834 คัน      ลดลง     30.9%          ส่วนแบ่งตลาด 31.1%

อันดับที่ 2 โตโยต้า      40,246 คัน      ลดลง     49.5%          ส่วนแบ่งตลาด 26.7%

อันดับที่ 3 นิสสัน       17,109 คัน      ลดลง     34.8%          ส่วนแบ่งตลาด 11.4%

  •  ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 297,306 คัน ลดลง28.1%                     

อันดับที่ 1 อีซูซุ                  108,088 คัน    ลดลง     11.1%          ส่วนแบ่งตลาด 36.4%

อันดับที่ 2 โตโยต้า        93,128 คัน    ลดลง     40.0%          ส่วนแบ่งตลาด31.3%

อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ       21,705 คัน    ลดลง    36.3%         ส่วนแบ่งตลาด  7.3%

  •  ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) 

ปริมาณการขาย 236,151 คัน ลดลง 29.6%

อันดับที่ 1 อีซูซุ          100,170 คัน    ลดลง     10.1%          ส่วนแบ่งตลาด 42.4%

อันดับที่ 2 โตโยต้า        80,253 คัน    ลดลง     41.6%          ส่วนแบ่งตลาด 34.0%

อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ       21,705 คัน    ลดลง     36.3%          ส่วนแบ่งตลาด   9.2%

                             *ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด ตัน) 23,71คัน

โตโยต้า 9,337 คัน – มิตซูบิชิ 5,611 คัน – อีซูซุ 3,887 คัน – ฟอร์ด 3,05คัน – นิสสัน 1,173 คัน –เชฟโรเลต 652 คัน

  •  ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 212,435 คัน ลดลง 27.5%

อันดับที่ 1 อีซูซุ                  96,283 คัน      ลดลง        7.6%        ส่วนแบ่งตลาด 45.3%

อันดับที่ 2 โตโยต้า      70,916 คัน      ลดลง      39.4%        ส่วนแบ่งตลาด 33.4%

 อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ      16,094 คัน      ลดลง      35.1%        ส่วนแบ่งตลาด 7.6%

                                                                                                          

Facebook Comments