การร่วมมือครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกของกลุ่มบริษัทในซิลิคอน แวลลี่ย์ ที่พัฒนาเทคโนโลยีชนิดใหม่ เพื่อใช้ในกิจการต่างๆ ไม่เฉพาะแต่ในรถยนต์เท่านั้น ซึ่งรวมทั้งต้องมีประสบการณ์ด้าน ปัญญาประดิษฐ์ artificial intelligence, การเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง และระบบหุ่นยนต์ต่างๆ เพื่อประหยัดทั้งเงินและเวลาในการพัฒนา ก่อนจะสามารถนำมาใช้ในรถยนต์ได้
ออโรร่า และ กลุ่มโฟล์ค ร่วมทำงานกันมาก่อนแล้วในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา เพื่อการตรวจสอบเซ็นเซอร์ชนิดต่างๆ ระบบฮาร์ดแวร์ และ ซอฟท์แวร์ ที่จะติดตั้งในยานยนต์ ที่สามารถให้บริการได้ด้วยตนเอง ในการเคลื่อนไปยังจุดต่างๆ ตามกำหนด
ในแถลงการณ์ของ โฟล์คสวาเก้น กล่าวว่า เทคโนโลยี ในการเคลื่อนที่โดยปราศจากการควบคุมนี้ สามารถเลือกนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง และในหลากหลายยี่ห้อของรถยนต์ในกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น การเคลื่อนที่ด้วยตัวเอง, การรับ-ส่งผู้โดยสาร การขนส่งสิ่งของ หรือรถบรรทุกที่ขับเคลื่อนตัวเอง
สำหรับฮูนได ออโรร่า จะร่วมกันพัฒนาในรถเฉพาะรุ่น และทดสอบตลาดในประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศจีน โดยรถรุ่นแรกที่ ฮุนได จะมอบหมายให้ทำการทดลอง เป็นรถยนต์ ฟูอัล เซลล์ ซึ่งจะนำออกแสดงในงาน ซีอีเอส เทคโนโลยี ในลาสเวกัส สัปดาห์หน้า
ฮุนได ต้องการให้มีเทคโนโลยีขับเคลื่อนด้วยตัวเอง ระดับ 4 โดยไม่ต้องมีผู้ขับขี่ และเลือกเดินทางได้ตามสภาพโดยรอบ ซึ่งจะตั้งชื่อให้เป็น “pilot smart cities” ในปี 2564
นับเป็นครั้งแรกที่มีการประกาศความร่วมมือกับค่ายรถยนต์เกาหลีใต้ ซึ่งมักไม่ค่อยเปิดเผยการทำงานพัฒนาเทคโนโลยีด้านต่างๆ มากนัก ทำให้บรรดานักลงทุน พากันกังวลว่า จะทำให้ไม่สามารถไล่ตามเทคโนโลยีที่ค่ายรถยนต์ต่างๆ พัฒนาและเปิดเผยข่าวสารกันอย่างรวดเร็ว แต่ค่ายเกาหลีใต้ เลือกที่จะพัฒนาอยู่ภายใน และไม่ค่อยเปิดเผยตัวมากนัก
นายทาดาโอะมิ ซู…