กรณีถุงลมนิรภัยจาก ทากาตะ ยังไม่เสร็จสิ้น เมื่อค่ายโตโยต้า ประกาศเรียกรถเข้ารับการตรวจสอบ ในญี่ปุ่น และในยุโรป 1.6 ล้านคัน เพื่อเปลี่ยนตัวจุดระเบิดถุงลมนิรภัยด้านผู้โดยสาร แต่การตรวจสอบนี้ไม่จำเป็นสำหรับในอเมริกา โดยเป็นรถทั้งสิ้น 22 รุ่นในตลาดญี่ปุ่น รวมทั้งรุ่นยอดนิยม โคโรลล่า และ วิทซ์ ที่ผลิตระหว่างเดือนมกราคม 2547 จนถึงเดือนธันวาคม 2548
สำนักข่าว เอพี. รายงานข่าวจากกรุงโตเกียวว่า ค่ายโตโยต้า ประกาศเรียกรถเข้ารับการตรวจสอบ ข้อบกพร่องของถุงลมนิรภัย ทากาตะ ทั้งใน อิตาลี, อังกฤษ และ สเปน แม้ว่าจะยังไม่มีรายงานการเกิดอุบัติเหตุจากรถเหล่านี้ โดยประเมินว่าจำนวนรถที่ต้องเข้ารับการเปลี่ยนตัวจุดระเบิดนี้ มากกว่า 15 ล้านคัน ทั่วโลก ส่วนในอเมริกา แม้ว่าจะไม่มีการเรียกรถเข้ารับการตรวจสอบ แต่ปริมาณของรถที่จำหน่าย อยู่ในราว 3 ล้านคัน ที่จำเป็นต้องได้รับชิ้นส่วนใหม่ หรืออย่างน้อยก็ 1 ข้าง
รายงานข่าวระบุว่า อุบัติเหตุที่เกิดจากการระเบิดตัวของถุงลมนิรภัย ทากาตะ แม้ว่าจะยังไม่เกิดอุบัติเหตุรุนแรง แต่ถุงลมก็ระเบิดออกมาแล้ว ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 8 ราย และบาดเจ็บอีกมากกว่า 100 ราย และประเมินว่า มีรถยนต์ที่ใช้ถุงลมนิรภัยที่อาจเปิดปัญหาแบบน้ี ราว 23.4 ล้านคัน ในอเมริกา โดยชิ้นส่วนตัวจุดระเบิดจะบรรจุด้วย แอมโมเนียม ไนเตรท ที่ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ฝุ่นละอองและไอนำ้ในระยะยาว จะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการจุดระเบิดก่อนเวลาอันควร
หลังจากเหตุการณ์นี้เป็นข่าวออกมา หน่วยงานของรัฐบาลอเมริกัน ประกาศปรับค่าย ทากาตะ เป็นเงิน 70 ล้านเหรียญ และอาจเพิ่มขึ้นไปถึง 200 ล้านเหรียญ หากเหตุการณ์ยังลุกลามต่อไป
ค่ายโตโยต้า, มาสด้า, ฮอนด้า, นิสสัน และเมื่อเร็วๆ นี้ ค่ายฟอร์ด ก็ตัดสินใจหยุดการใช้ชิ้นส่วนที่ต้องใช้แอมโมเนียม ไนเตรท เป็นตัวจุดระเบิด สำหรับรถยนต์ที่จะประกอบในอนาคต ขณะที่ค่าย มิตซูบิชิ และ ซูบารุ ก็กำลังพิจารณาที่จะหยุดใช้เช่นกัน
“ไพรม์มัส กรุ๊ป…