นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ที่ปรึกษาและเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายศักดิ์ สมบุญโต ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี พร้อมด้วย นางผกามาศ บุญทอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท โตโยต้ากาญจนบุรี 1995 ผู้จำหน่ายโตโยต้า จำกัด และนางรสวรรณ จงไมตรีพร เจ้าของธุรกิจกลุ่มตัดเย็บเสื้อโปโล ฮาร์ท โอทอป จ.กาญจนบุรี ร่วมจัดพิธีเปิด ศูนย์การเรียนรู้ โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ เพื่อตอกย้ำภาพลักษณ์องค์กรที่เป็นผู้นำในการยกระดับความรับผิดชอบของสังคม มุ่งสู่การแบ่งปันความรู้เพื่อก่อให้เกิดความยั่งยืนผ่านนวัตกรรมทางสังคม ณ กลุ่มตัดเย็บเสื้อโปโล ฮาร์ท โอทอป จ.กาญจนบุรี ในวันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
ศูนย์การเรียนรู้โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ เป็นหนึ่งในการดำเนินงานเพื่อต่อยอด โครงการ “โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์” นวัตกรรมสังคมรูปแบบใหม่ที่บริษัทฯ มุ่งมั่นจะยกระดับการดำเนินงานกิจกรรมทางสังคม ให้เข้าสู่ยุคของ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” หลังจากครบรอบ 50 ปี ในปี พ.ศ. 2555 โครงการนี้ว่าด้วยการนำปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ได้แก่ วิถีโตโยต้า ระบบการผลิตแบบโตโยต้า และปรัชญาลูกค้าเป็นที่หนึ่ง มาถ่ายทอดให้แก่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ให้สามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน สอดคล้องกับทิศทางการปฎิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจของรัฐบาลภายใต้ นโยบายประชารัฐ ที่เป็นการร่วมมือกันระหว่าง ภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน เพื่อร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้มีความมั่นคง
โครงการนี้เริ่มต้นดำเนินงาน ในปี พ.ศ.2556 กับกลุ่มตัดเย็บเสื้อโปโลฮาร์ท โอทอป จ.กาญจนบุรี เป็นโครงการนำร่องแห่งแรก โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากโตโยต้าเข้าไปร่วมสำรวจปัญหา และช่วยปรับปรุงแก้ไข จนธุรกิจสามารถทำได้ด้วยตัวเอง ผ่านกระบวนการ 4 ขั้นตอน ได้แก่ “รู้ เห็น เป็น ใจ” คือ รู้ รู้ปัญหาในทุกกระบวนการ เห็น เห็นแนวทางแก้ไขปัญหา เป็น ทำเป็นได้ด้วยตัวเอง และสุดท้าย ใจ คือ เข้าใจใส่ใจในการดำเนินงาน มีการส่งมอบโครงการให้เจ้าของธุรกิจดำเนินงานปรับปรุงด้วยตัวเอง เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ.2557 โดยบริษัทฯ ยังมีการติดตามผลอย่างต่อเนื่องทุกๆ 3 เดือน เพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจชุมชนนี้จะสามารถอยู่ได้ด้วยตัวเองอย่างยั่งยืน
เมื่อธุรกิจชุมชนนี้สามารถดำเนินธุรกิจอย่างมืออาชีพได้ด้วยตัวเอง สามารถรักษามาตรฐานการดำเนินงานและวัฒนธรรมไคเซ็น (การปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง) ตลอดจนมีศักยภาพที่จะถ่ายทอดความสำเร็จและประสบการณ์ที่ได้รับไปยังผู้ประกอบการรายอื่น จึงดำเนินงานจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ นี้ขึ้นเป็นแห่งแรก โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อแบ่งปันประสบการณ์และความรู้ทางด้านการปรับปรุงธุรกิจไปสู่ธุรกิจชุมชนอื่นๆ
2. แสดงให้เห็นถึงผลสัมฤทธิ์ของโครงการอย่างเป็นรูปธรรมภายหลังจากนำหลักการของโตโยต้าไปปรับใช้ ผ่านการรับฟังประสบการณ์จริงจากเจ้าของธุรกิจและเยี่ยมชมโรงงาน
ซึ่งบริษัทฯ คาดหวังว่าภายหลังจากการเปิดศูนย์การเรียนรู้ฯนี้ จะส่งผลให้ธุรกิจชุมชนที่เข้าร่วมรับฟังสามารถนำแนวทางการปรับปรุงธุรกิจของโตโยต้าไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเอง อันจะก่อให้เกิดความยั่งยืนทางธุรกิจสืบไป
นอกจากนี้บริษัทฯ ยังมีแผนที่จะขยายผลการดำเนินงานผ่านการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ฯ ให้ครอบคลุมทุกภูมิภาค ผ่านการจัดตั้งโครงการนำร่องอีก 3 จังหวัด 3 ประเภทธุรกิจ ได้แก่ กลุ่มตัดเย็บกระเป๋าผ้าเอส.เค. จ.เชียงใหม่ กลุ่มข้าวแตนสมุนไพรสายทิพย์ จ.ขอนแก่น และกลุ่มถ่านกะลามะพร้าวอัดแท่ง จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีส่วนช่วยพัฒนาศักยภาพในการดำเนินงานของ SMEs เพื่อสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจให้มั่นคง อันจะก่อให้เกิดความมั่งคั่งและยั่งยืน ตลอดจนพัฒนาประเทศเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจแบบมืออาชีพ
อีซูซุส่งเครื่อ…