สำนักข่าว นิกเกอิ รายงานข่าวจากกรุงโตเกียว ระบุว่า โตโยต้า มอเตอร์ ตกลงใจที่จะร่วมเป็นหุ้นส่วนกับ เจร่า Jera ซึ่งเป็นความร่วมทุนระหว่าง โตเกียว อีเล็คตริค พาวเวอร์ Tokyo Electric Power และ ชูบุ อีเล็คตริค พาวเวอร์ Chubu Electric Power ในการนำชุดแบตเตอรี่เก่า จากรถยนต์ไฟฟ้า หรือรถไฮบริด มาพัฒนาเป็นระบบการกักเก็บพลังงาน ในอนาคต
ระบบการกักเก็บพลังงานแบบใหม่ จะประกอบด้วยชุดแบตเตอรี่ ลิเธียม ไอออน และ นิคเกิค-เมตัล ไฮดราย โดยบริษัททั้งสองแห่ง มีเป้าหมายที่จะพัฒนาเทคโนโลยีแบบใหม่ ที่จะนำชุดแบตเตอรี่ทั้งสองชนิด ที่ใช้แล้วจากรถยนต์ไฟฟ้า นำมาผสมใช้งานใหม่ต่อไป
โตโยต้า และ เจร่า มีเป้าหมายที่จะพัฒนาระบบการกักเก็บชุดแบตเตอรี่ แบบใหม่นี้ ให้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณนี้ จากนั้นในปี 2565 จึงจะเริ่มการกักเก็บพลังงานจากสายส่ง เพื่อการทดลองทางเทคนิค สำหรับการใช้งานที่ปลอดภัยต่อไปในอนาคต
ระบบนี้ คาดว่าจะนำไปใช้ในการกักเก็บพลังงานไฟฟ้าจาก แหล่งผลิตพลังงานทางเลือก ทั้งโซล่า เซลส์, กระแสลม และแหล่งพลังงานอื่นๆ ที่สามารถสร้างกระแสไฟฟ้าให้เกิดขึ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ในการกักเก็บ และนำกระแสไฟไปใช้งาน ตามแต่ระดับความต้องการของกระแสไฟฟ้า ในขณะนั้น
ในปี 2563 ตัวเลขจากสมาคมผู้ผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์ ระบุว่า มีจำนวนรถยนต์ไฟฟ้า อยู่ 117,000 คัน รถยนต์ไฮบริด 9.28 ล้านคัน มากกว่ารถยนต์ไฟฟ้า ราว 80 เท่า และหาก โตโยต้า ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยยต์ไฮบริดรายใหญ่ ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่นี้ ต้องนับว่าเป็นจังหวะเหมาะ ในการนำชุดแบตเตอรี่เก่า จากรถยนต์ นำมารีไซเคิลเพื่อกลับไปใช้งานอีกครั้งหนึ่ง ได้ในเวลาที่เหมาะสม
ประเมินกันว่า จำนวนของชุดแบตเตอรี่เก่า จะออกมาในจำนวนมากที่สุด หลังจากปี 2568 หากผู้ผลิตสามารถนำชุดแบตเตอรี่เก่า กลับมาใช้งานได้ใหม่อีกครั้ง ก็ช่วยให้ตลาดของพลังงานทดแทนในประเทศญี่ปุ่น ขยายตัวเพิ่มขึ้น รวมทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และช่วยลดไอเสียที่จะเกิดจากกรีนเฮ้าส์ ในการทำลายชุดแบตเตอรี่เก่าเหล่านี้
อีซูซุส่งเครื่อ…