ทั้งสามเจ้า ร่วมกันก่อตั้งบริษัท ในชื่อ อีวี คอมมอน อาร์ชิเต็ค EV Common Architecture Spirit Co. เพื่อดำเนินการพัฒนาโครงสร้างและอุปกรณ์สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อนำไปใช้ในรถยนต์หลายประเภท ตั้งแต่มินิแวน, เอสยูวี ไปจนถึงรถบรรทุกขนาดเบา
ความร่วมมือครั้งนี้ เพิ่งลงลึกในรายละเอียด และตกผลึกจนเป็นรูปร่างเมื่อเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา ในอันที่จะพัฒนากล่องเครื่องมือสำหรับชิ้นส่วนต่างๆ เพื่อให้ทั้ง โตโยต้า และ มาสด้า เลือกนำไปใช้กับผลิตภัณฑ์ของตนเอง
ความร่วมมือครั้งี้ เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการพัฒนาของแต่ละบริษัท โดยรองประธาบริหารโตโยต้า ชิเกกิ เทราชิ Shigeki Terashi จะดำรงตำแหน่งประธานในบริษัทก่อตั้งใหม่นี้
แถลงการณ์ของบริษัทระบุว่า ความเข้มงวดของการกำหนดค่าไอเสียในแต่ละประเทศ ทำให้ผู้ผลิตทั่วโลก จำเป็นต้องเร่งรีบในการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า แต่ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาค่อนข้างสูง โดยเฉพาะการจัดหาแบตเตอรี่ ทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกันในการพัฒนา และในอนาคต บริษัทแห่งนี้ จะเปิดกว้างสำหรับผู้ผลิตรายอื่นๆ และผู้ผลิตชิ้นส่วนรายอื่นด้วยเช่นกัน
“เม็ดเงินลงทุนจำนวนมหาศาล รวมทั้งระยะเวลาที่ต้องเร่งรีบในการพัฒนา กดดันให้ผู้ผลิตแต่ละเจ้าต้องหาวิธีการทำงาน” อีวี คอมมอน ระบุ “ข้อบังคับใหม่สำหรับสัดส่วนการขายรถยนต์ไฟฟ้า กำลังจะเกิดขึ้นในหลายแห่ง”
ในงานแสดง แฟรงค์เฟิร์ต ออโต้ โชว์ ที่ผ่านมา ค่ายรถยนต์ต่างๆ อาทิ บีเอ็มดับเบิลยู, เมอร์เซเดส-เบนซ์ และ โฟล์คสวาเก้น ต่างก็วางแผนงานในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ในปีต่อๆ ไป ขณะที่ จากัวร์ แลนด์ โรเวอร์ ก็วางแผนสำหรับปี 2563 และ ฮอนด้า ก็เปิดรถยนต์ไฟฟ้าไปเรียบร้อย
บริษัทแห่งใหม่นี้ จะคัดเลือกวิศวกรจากทั้ง 3 บริษัท ราว 40 คน มาเริ่มต้นทำงานในสำนักงานแห่งใหม่ของ โตโยต้า ในนาโกย่า โดย โตโยต้า ถือหุ้นมากที่สุด 90% และ มาสด้า และ เด็นโซ่ ถือหุ้นฝ่ายละ 5%
อีซูซุส่งเครื่อ…