อาจใช้ศัพท์แปลกๆ สักหน่อย เพราะความหมายของ Towing คือ การลากจูง แต่เมื่อนำมาใช้กับรถกระบะ ความหมายกลายเป็นว่า รถกระบะคันนั้น สามารถลากจูง โดยนำ้หนักของสิ่งของจะหนักมากที่สุดได้เท่าใด สำหรับบ้านเรา ยังไม่มีข้อบังคับเรื่องเหล่านี้ เพราะเราไม่นิยมที่จะเดินทางโดยมีรถพ่วงติดไปด้วย ไม่เหมือนในต่างประเทศ จะต้องระบุแรงฉุดลาก หรือ แรงในการลากจูง ว่าลากได้นำ้หนักเท่าใด เพราะคนซื้อก็จะเอาไปลากรถลาก หรืออื่นๆ ที่มีนำ้หนักพอควร แต่ยังไม่มีมาตรฐานออกมา
สมาคมวิศวกรรมยานยนต์ของอเมริกา หรือ Society of Automotive Engineers SAE จึงได้ตั้งมาตรฐานออกมาเป็นระเบียบข้อ J2807 ซึ่ง โตโยต้า มีข้อมูลเปิดเผยสำหรับรุ่น ทุนดรา ในอเมริกา ตามมาด้วย เจเนอรัล มอเตอร์ ก็ให้ข้อมูลแรงฉุดลากของรุ่น เชฟโรเลต ซิลเวอราโด 1500 และ จีเอ็มซี เซียร์ร่า 1500 รุ่นปี 2015 ออกมาแล้ว
ความแตกต่างของมาตรฐานแรงฉุดลาก จะคิดจาก นำ้หนักของตัวรถ รวมผู้โดยสาร รวมสิ่งของที่บรรทุก และกำลังของรถจะยังเหลือพอที่จะฉุดลากสิ่งของได้อีกเป็นนำ้หนักเท่าใด ตามมาตรฐาน J2807
สำหรับ จีเอ็ม รุ่นขับสอง เครื่องยนต์ วี6 จะลากจูงนำ้หนักได้ราว 2,800 กก. ขณะที่รุ่นขับสี่ เครื่องยนต์ วี6 ลากจูงได้ราว 3,450 กก. แต่ถ้าเป็นเครื่อง วี8 6.2 ลิตร พร้อมแพคเกจเพื่อการลากจูง จะลากจูงได้นำ้หนักสูงสุด 5,450 กก.
อีกไม่นาน ค่าย ฟอร์ด, แรม และ นิสสัน ก็ต้องปรับปรุงการทดสอบ เพื่อให้สามารถหาแรงฉุดลาก เพื่อเผยแพร่สำหรับผู้บริโภคตามมาตรฐาน J2807 นี้ ที่บังคับใช้เฉพาะรถกระบะเท่านั้น ไม่ได้รวมถึงรถบรรทุกขนาดใหญ่แต่อย่างใด
มาตรฐาน SAE J2807 ชี้แจงว่า เพื่อเป็นมาตรฐานนำ้หนักสำหรับการลากจูง ในขณะที่บนรถก็ต้องมีนำ้หนักของตนเองอยู่แล้ว ระบุว่า Performance Requirements for Determining Tow-Vehicle Gross Combination Weight Rating and Trailer Weight Rating โดยรถที่ทำการลากจูง จะต้องสามารถทำความเร็ว 0-50 กม./ชม. ได้ภายใน 12 วินาที หรือน้อยกว่า และเร่งความเร็วถึง 98 กม./ชม. ภายใน 30 วินาที หรือน้อยกว่า และมีข้อกำหนดสำหรับการวิ่งบนภูเขา ความยาว 18 กม. เปิดแอร์คอนดิชั่น โดยความเร็วต้องไม่น้อยกว่า 65 กม./ชม. และต้องเคลื่อนจากการจอดหยุดนิ่งบนภูเขาระยะทาง 5 เมตร ได้ภายใน 5 นาที โดยค่ายรถที่กล่าวถึงแล้ว ตกลงที่จะบังคับใช้สำหรับรถรุ่นปี 2013
อีซูซุส่งเครื่อ…