เมืองเล็กๆ แห่งหนึ่งนอกกรุงนิวเดลฮี ซึ่งเมื่อ 30 ปีก่อนเป็นพื้นที่การเกษตร ชื่อ เกอร์กอน Gurgaon ห่างจากกรุงนิวเดลฮี ราว 32 กม. ที่ปัจจุบันได้ถูกวางตำแหน่งให้เป็นสวนอุตสาหกรรม ดำเนินงานโดยภาคเอกชนเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบัน มีประชากรมากกว่า 2 ล้านคน แต่ขาดแคลนบริการด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งถนน ประชา ไฟฟ้าส่องสว่าง รวมทั้งระบบขนส่งมวลชน เพราะเป็นท้องไร่ท้องนามาก่อน แม้ว่าการตัดถนนเส้นใหม่ๆ จะค่อนข้างทันสมัย แต่ก็มีปัญหาการจราจรติดขัด เพราะมีรถใหม่เพิ่มเข้ามาในถนนมากกว่าเดือนละ 60,000 คัน ทำให้มีปัญหาด้านการจราจรและขนส่งมวลชนสำหรับประชากรของเมือง
หนังสือพิมพ์ ไทมส์ ออฟ อินเดีย The Times of India รายงานข่าวว่า เมืองเกอร์กอน กำลังจะได้ระบบการขนส่งส่วนบุคคลที่เร็วขึ้น หรือระบบ personal rapid transit (PRT) ในรูปของแท็กซี่ที่ไม่ต้องมีคนขับ เพราะใช้วิ่งไปตามราง ในภาพ เป็นระบบที่เปิดให้บริการที่เมือง มาสดาร์ ซิตี้ Masdar City อาหรับอิมิเรตต์ หรือดูไบ โดยกรมทางหลวงของอินเดีย ได้ลงนามในสัญญาโครงการนำร่อง เพื่อก่อสร้างโครงข่ายระบบรางสำหรับ พีอาร์ที ระยะทางราว 15 กม. ประกอบด้วยสถานีจอดรถปกติ 16 สถานี ที่สามารถวิ่งสวนทางได้ และใช้ตู้โดยสารขนาดเล็กจำนวน 1,100 ตู้ แต่ละตู้บรรทุกผู้โดยสารได้ 5 คน พร้อมสัมภาระส่วนบุคคล ตู้โดยสารจะห้อยและเดินทางไปตามราง เดินทางด้วยความเร็ว 60 กม./ชม.
กรมทางหลวงอินเดียประเมินว่า ระบบขนส่งมวลชนขนาดเล็กนี้ จะสามารถขนส่งผู้โดยสารไปในทิศทางเดียวกันได้ 30,000 คน/ชม. และช่วยให้การจราจรที่ติดขัดบนท้องถนนลดลงได้มาก โดยเฉพาะเมื่อมีการขยายเส้นทางเพิ่มขึ้นในอนาคต และขณะนี้ได้รับซองเสนอราคาค่าก่อสร้างโครงการแรก มูลค่าราว 3,840 ล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้าง 1 ปี โดยผู้ลงทุนจะได้รายได้จากค่าตั๋วโดยสาร 25 ปี
สิ่งที่น่าสนใจสำหรับโครงการนี้ก็คือ หากมีผู้โดยสารที่เร่งรีบ และต้องการเช่าตู้โดยสารเพียงผู้เดียว จะสามารถวิ่งผ่านจุดจอดทั้งหมดไปยังปลายทางที่ต้องการได้ เช่นเดียวกับตู้โดยสารที่มีผู้โดยสารเต็มตู้ ก็สามารถเลือกจุดปลายทางโดยไม่ต้องจอดสถานีรายทางได้ทันที
อีซูซุส่งเครื่อ…