เพื่อนช่าง เพื่อคุณ เรื่องของ คลัทช์ (Clutch) โดย:ประสงค์ สัมโมทย์


เพื่อนช่าง เพื่อคุณ ตอนนี้ก็มาถึงเรื่องของ คลัทช์ มารู้จักคลัทช์กัน

คลัทช์ เป็นอุปกรณ์ชุดหนึ่ง มีหน้าที่การทำงานตัดต่อรอบจากเครื่องยนต์กับเกียร์ อุปกรณ์ในชุดคลัทช์มีส่วนสำคัญ มีฟลายวิล ชุดผ้าคลัทช์ จานกดคลัทช์ ลูกปืนคลัทช์ ก้ามปูคลัทช์

ฟลายวิล(FLYWHEEL) ล้อช่วยแรง มีหลายหน้าที่ เริ่มจากมีเฟืองที่ขอบเรียกว่าเฟืองฟลายวิล (FLYWHEEL RINGGEAR) มีหน้าที่อยู่สามหน้าที่ 1. เฟืองฟลายวิล มีหน้าที่ให้เฟืองสตาร์ทพาให้ไปหมุนเครื่องทำให้เครื่องยนต์ทำงาน 2. รับแรงและรอบจากเครื่องเมื่อเครื่องยนต์ทำงาน ช่วยให้รอบของเครื่องยนต์เกิดการเดินของรอบสม่ำเสมอ 3. มีหน้ารับการกดหนีบปล่อยจับของผ้าคลัทช์

ชุดผ้าคลัทช์ (CLUTCH DISC) อุปกรณ์ที่จะถูกหนีบกด มีหลายชิ้นส่วนร่วมอยู่หลายชิ้นใน หนึ่งชุดส่วนประกอบหลักจะเป็นโลหะที่เป็นเหล็ก ตรงกลางมีรูในรูจะเป็นร่องฟัน รูจะโตฟันจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ แกนปลายเกียร์ ส่วนที่เป็นรูนี้ จะเป็นคนละชิ้นกับใบจาน ที่เป็นแผ่นบางๆจะมีรูเล็กมีใว้ย้ำผ้าคลัทช์ยึดติด ระหว่าง อุปกรณ์สองชิ้นที่ไม่ติดกันมีสปริงแบบมาร์เซล(MARCEL SPRING) รับแรงกันกระชาก อีก4ตัว ผ้าคลัทช์ (CLUTCH LINING )มีลักษณะเป็นวงแหวนมีสองชิ้นวงกลมคล้ายโดนัทแต่แบนๆความหนา ประมาณ 4 มม.ทำด้วยวัสดุที่มีความฝืด

ชุดจานกดคลัทช์หรือหวีคลัทช์ (PRESSURE PLATE) ส่วนสำคัญมีสามชิ้น 1.เสื้อ 2.หวี 3.จานกด ที่รวมกันเป็นชุดหวีคลัทช์ 1.เสื้อ มีหน้าที่ ขันยึดติดกับฟลายวิล เมื่อเครื่องหมุน เสื้อจะหมุนตามตลอดเวลา

2.หวี เป็นสปริงทรงแผ่นโค้งปลายเป็นซี่ๆมองคล้ายหวี มีหน้าที่กดจานกดหนีบผ้าคลัทช์ ในขณะปกติทำให้เป็นการเชื่อมต่อเครื่องกับเกียร์ แต่เมื่อใดปลายหวีถูกกดด้วยลูกปืนคลัทช์ จานกดจะถูกยกขึ้น ทำให้ผ้าคลัทช์ไม่ถูกกดหนีบ จะเป็นการตัดการทำงานระหว่างเครื่องกับเกียร์ เครื่องยังคงหมุนแต่ภายในเกียร์เฟืองทุกตัวจะหยุดหมุน
3.จานกดด้านที่กดผ้าคลัทช์ต้องเรียบ ความกว้างเท่ากับผ้าคลัทช์

ชุดคลัทช์ต้องมีลูกปืนคลัทช์ (RELEASE) ไปกด มีก้ามปู (RELEASE FORK)ไปดันลูกปืน ขาเขี่ยลูกปืนคลัทช์ทำงานเองไม่ได้ ต้องอาศัยการถ่ายทอดจากขาคลัทช์ การถ่ายทอดมีสองรูปแบบ

รูปแบบที่1ใช้สายสลิง เป็นการถ่ายทอด จะเรียกกันโดยทั่วไปว่าคลัทช์สาย แบบนี้ไม่ยุ่งยาก ปรับตั้งด้วยเกลียวที่ปลายสาย หรือ ปลอกสายด้านบนมีร่องเสียบคลิบเพื่อการปรับตั้ง ต้องให้มีระยะฟรีที่แป้นเหยียบประมาณ1นิ้ว เมื่อใช้งานไปผ้าคลัทช์สึก หวีคลัทช์จะสูงขึ้นทำให้มายันกับลูกปืนคลัทช์ ระยะฟรีจึงไม่มี ต้องปรับตั้ง ถ้าไม่ปรับตั้งก็จะเกิดคลัทช์ยัน เหมือนปล่อยคลัทช์ไม่สุด ความเสียหายลูกปืนคลัทช์อาจติดตายปลายหวีคลัทช์สึก ผ้าคลัทช์หมดเร็วกว่าเวลา

รูปแบบที่2 แบบไฮดรอลิค มีอุปกรณ์หลักอยู่สองชิ้น ชิ้นที่1แม่ปั๊มคลัทช์ (MASTER CYLINDER) ชิ้นที่2 ปั๊มคลัทช์ตัวล่าง(SLAVE CYLINDER) มีแป๊บเป็นตัวเชื่อมต่อ แม่ปั๊ม มีกระบอกใว้ใส่น้ำมัน ภายในเสื้อมีสปริงมีลูกสูบมีลูกยาง 2 ลูก ลูกที่อยู่ด้านในมีหน้าที่สร้างแรงดัน ตัวที่อยู่ด้านนอกเป็นซีลกันน้ำมันรั่วออกจากแม่ปั๊ม แม่ปั๊มมีหน้าที่สร้างแรงดันจากน้ำมันส่งไปตามแป๊บน้ำมันจะเข้าปั๊มคลัทช์ ตัวล่าง ปั๊มคลัทช์ ตัวล่างด้านในมีสปริง แรงดันน้อยๆมีลูกสูบ มีลูกยางกันน้ำมันแรงดันรั่ว เมื่อมีแรงดันจากแม่ปั๊มมาลูกสูบจะถูกดันออก ระหว่างปั๊มคลัทช์กับขาเขี่ยลูกปืนคลัทช์ จะมีตัวเชื่อมต่อเป็นเหล็กเป็นแท่งขนาดแท่งดินสอดำ ปลายทั้งสองข้างมลๆโดยทั่วๆไปจะเรียกว่าสาก เมื่อลูกสูบปั๊มคลัทช์ตัวล่างถูกดันออก สากก็จะไปดันขาเขี่ยลูกปืน ขาเขี่ยดันลูกปืนไปกดปลายหวีคลัทช์ ทำให้จานกดผ้าคลัทช์ถูกยกขึ้น ผ้าคลัทช์ลอยตัว ตรงจุดนี้จะเรียกว่าคลัทช์จาก ขณะจอดรถภายในเกียร์เฟือง4ชั้นหรือเฟืองราวล่าง เฟืองเกียร์ราวบนทุกตัวจะหยุดหมุน ทำให้เมื่อเหยียบคลัทช์เข้าเกียร์ได้สะดวก แต่ถ้าเหยียบคลัทช์ขณะจอดรถ แล้วจานกดยกขึ้นไม่สุดผ้าคลัทช์ยังคงหมุนทำให้ภายในเกียร์เฟืองทุกตัวจะยังคงไม่หยุดหมุน เรียกว่าคลัทช์ไม่จาก แต่ขณะรถวิ่งถึงแม้คลัทช์จะจากแล้ว เฟืองราวล่างหยุดหมุน แต่เพลาที่ส่งรอบออกจะส่งรอบกลับเข้ามาในเกียร์ แกนเฟืองราวบนที่มีไส้เฟืองซินโครไนซ์ เกาะติดอยู่ทำให้เฟืองซินโครไนซ์หมุน เมื่อเข้าเกียร์ ซินโครไนซ์เลื่อนตัวเพื่อเชื่อมต่อกับเฟืองเกียร์ ถ้าเฟืองทองเหลืองทำงานผิดปกติก็จะทำให้เข้าเกียร์ยาก


อาการคลัทช์ผิดปกติ คลัทช์ลื่น คลัทช์สั่น คลัทช์ไม่จาก

คลัทช์ลื่น เกิดจากผ้าคลัทช์เปื้อนน้ำมัน อันเกิดจากน้ำมันเกียร์รั่ว จากจารบีที่ทาแกนเพลาเกียร์4 เวลาประกอบเกียร์เชื่อมต่อกับเครื่อง ทามากเกินความจำเป็น รูผ้าคลัทช์จะกวาดส่วนเกินออกเมื่อเกิดการหมุนจารบีจึงถูกเหวี่ยงไปถูกผ้าคลัทช์ ผ้าคลัทช์บาง การออกตัวของรถอืดเร่งแล้วรถไม่ค่อยเคลื่อนที่จึงไปพาลเอาว่าเครื่องอืดเร่งไม่ออก เมื่อเร่งรอบสูงความเร็วรถไม่ค่อยขึ้น แต่รอบเครื่องยนต์ขึ้นไม่สัมพันธ์กับความเร็วของรถ

ผ้าคลัทช์ใกล้จะหมดจะรู้ได้อย่างไร โดยปกติเมื่อคลัทช์ใหม่ๆ เข้าเกียร์ออกรถพอขยับปล่อยเพียงเล็กน้อยรถก็เคลื่อนตัวแล้ว พอใช้งานไปการปล่อยคลัทช์เริ่มต้องสูงขึ้น จนกระทั้งต้องปล่อยถึงครึ่งทางของระยะที่เหยียบรถถึงจะเคลื่อนตัว ผ้าคลัทช์ใกล้จะหมดแล้ว ถ้าปล่อยจนสุดรถไม่เคลื่อนตัว ผ้าคลัทช์หมดแล้ว

คลัทช์สั่น จะเป็นแต่ในขณะเข้าเกียร์1 หรือเกียร์ถอยหลัง เมื่อเข้าเกียร์ปล่อยคลัทช์ จะเกิดเครื่องเขย่า จะเกิดขึ้นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับพื้นที่ๆรถจอด ถ้าออกรถที่ขึ้นคอสะพานอาการจะเป็นมาก แต่ถ้าจอดรถบนสะพานขาลงอาจจะไม่เกิดอาการ ที่เป็นเช่นนี้เกิดจากการจับผ้าคลัทช์ได้ไม่เต็มหน้า และเมื่อต้องใช้แรงมากๆขณะรถเริ่มออกตัว การที่ผ้าคลัทช์จับไม่เต็มหน้าจึงมีผลทำให้เกิดอาการคลัทช์สั่น

เกร็ดเล็กๆน้อยๆ ในสมัยที่ยังไม่มีจานกดแบบหวีคลัทช์ ในสมัยนั้นจะเรียกว่าคลัทช์นิ้ว มีชิ้นส่วนหลายชิ้น จะมีอยู่ชิ้นหนึ่งเรียกกันในสมัยนั้นว่านิ้ว มีอยู่สามนิ้วไว้รับสิ่งที่จะมากดเพื่อยกจานกดผ้าคลัทช์ นิ้ว3นิ้วนี้ก็มีความสำคัญไม่เบา ถ้าตั้ง3นิ้วสูงต่ำไม่เท่ากันก็จะเกิดอาการคลัทช์สั่นได้ และจะใช้สปริงเป็นตัวกดจานกด 1 ชุดจะมีสปริงอยู่6ตัว สปริง6ตัวนี่ละเป็นส่วนสำคัญ เพราะจะไม่รู้เลยว่า สปริงแต่ละตัวมีแรงกดมากน้อยต่างกันแค่ไหน เมื่อวางตำแหน่งสปริงไม่ถูกต้องก็จะเกิดอาการคลัทช์สั่น การยกคลัทช์ในสมัยนั้นโอกาสที่จะต้องยกถึงสองครั้งสามครั้งเป็นเรื่องธรรมดา เมื่อทำเสร็จแล้วจะลองดูว่าคลัทช์จะสั่นหรือไม่โดยเอาขอนไม้มาขวางหน้ายางล้อหน้า เข้าเกียร์1ปล่อยคลัทช์ ถ้ามามีอาการคลัทช์ก็เป็น อันว่าโชคดีไปแต่ถ้าเกิดคลัทช์ขึ้นมาก็ต้องยกเกียร์ออกมาใหม่

เกร็ดเล็กๆน้อยๆ ในสมัยที่ยังไม่มีจานกดแบบหวีคลัทช์ ในสมัยนั้นจะเรียกว่าคลัทช์นิ้ว มีชิ้นส่วนหลายชิ้น จะมีอยู่ชิ้นหนึ่งเรียกกันในสมัยนั้นว่านิ้ว มีอยู่สามนิ้วไว้รับสิ่งที่จะมากดเพื่อยกจานกดผ้าคลัทช์ นิ้ว3นิ้วนี้ก็มีความสำคัญไม่เบา ถ้าตั้ง3นิ้วสูงต่ำไม่เท่ากันก็จะเกิดอาการคลัทช์สั่นได้ และจะใช้สปริงเป็นตัวกดจานกด 1 ชุดจะมีสปริงอยู่6ตัว สปริง6ตัวนี่ละเป็นส่วนสำคัญ เพราะจะไม่รู้เลยว่า สปริงแต่ละตัวมีแรงกดมากน้อยต่างกันแค่ไหน เมื่อวางตำแหน่งสปริงไม่ถูกต้องก็จะเกิดอาการคลัทช์สั่น การยกคลัทช์ในสมัยนั้นโอกาสที่จะต้องยกถึงสองครั้งสามครั้งเป็นเรื่องธรรมดา เมื่อทำเสร็จแล้วจะลองดูว่าคลัทช์จะสั่นหรือไม่โดยเอาขอนไม้มาขวางหน้ายางล้อหน้า เข้าเกียร์1ปล่อยคลัทช์ ถ้ามามีอาการคลัทช์ก็เป็น อันว่าโชคดีไปแต่ถ้าเกิดคลัทช์ขึ้นมาก็ต้องยกเกียร์ออกมาใหม่

น้ำมันที่ใช้ในระบบ ไฮดรอลิค ใช้ชนิดเดียวกับน้ำมันเบรก ภายในระบบต้องไม่มีอากาศ เพราะฉะนั้นจึงต้องมีการไล่ลมให้หมดภายในระบบ แต่อายุการใช้งาน จะต่างกับระบบเบรกที่มีอายุการใช้งาน โดยในหนังสือคู่มือประจำรถทั่วๆไปน้ำมันเบรก ต้องถ่ายเปลี่ยนที่ 40,000 กม.หรือ 4ปี แต่ในข้อมูล บริษัทน้ำมันให้อายุน้ำมันเบรก 20,000 หรือ 2ปี แต่การถ่ายเปลี่ยนน้ำมันคลัทช์ไม่มีในหนังสือคู่มือประจำรถ เพราะการใช้งานระหว่าง การทำงานของ เบรกกับคลัทช์ต่างกัน ระบบเบรกจะมีความร้อนมาเกี่ยวข้อง แต่ระบบคลัทช์ไม่มีความร้อนมาเกี่ยวข้องเลย จึงไม่มีความจำเป็นต้องถ่ายเปลี่ยนน้ำมันเช่นเดียวกับน้ำมันเบรก

น้ำมันเบรกมีคุณสมบัติ จุดเดือดสูงกว่าน้ำ 1เท่า DOT3 จะมีจุดเดือดเริ่มใช้งานที่ 205 องศา C หลังการใช้งานจุดเดือดจะลดลงเหลือ 140 องศาC DOT 4 จะมีจุดเดือดเริ่มใช้งานที่ 230 องศาC หลังการใช้งานจุดเดือดจะลดลงเหลือ 155 องศาC
ในระบบเบรก เมื่อเหยียบเบรก ผ้าเบรกจะเสียดสีกับจานเบรกจึงเกิดความร้อนแล้วถ่ายเทความร้อนมายังน้ำมันเบรก น้ำมันเบรกจึงต้องมีจุดเดือดที่สูงกว่าน้ำ ถ้าร้อนจนน้ำมันเบรกเดือดก็จะเกิดฟองอากาศหรือ วาเปอร์ล็อค (Vapour Lock) ทำให้เกิด เบรกต่ำ เบรกจม เบรกหาย ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่งในการขับรถ

ระบบคลัทช์เป็นแต่เพียงเมื่อเหยียบคลัทช์ น้ำมันจากแม่ปั้มคลัทช์ดันน้ำมันไปปั้มคลัทช์ตัวล่าง พอปล่อยคลัทช์น้ำมันก็จะไหลกลับมาที่แม่ปั้มคลัทช์เหมือนเดิม เป็นเช่นนี้ตลอดไป เป็นการถ่ายเทกลับไปกลับมา จึงไม่มีการสิ้นเปลือง ถ้ามีน้ำมันพร่องหายไปก็แสดงว่า เกิดความเสียหายขึ้นแล้ว

ระบบคลัทช์น้ำมัน ก็เกิดความเสียหายได้ ลูกยางที่เคลื่อนตัวถูกับกระบอกจะเกิดการสึก ปั้มตัวล่างจะเห็นน้ำมันไหลซึมออกมามากขึ้น ถึงรั่วหยด ปั้มตัวบนลูกยางมีสองจุด ตัวนอกจะหยดให้เห็น แต่ตัวในจะรู้ที่มีอาการเป็นตัวบอกเหตุ เช่นขณะติดไฟแดงเข้าเกียร์เหยียบคลัทช์ รถจะค่อยๆเคลื่อนตัวทั้งๆที่ยังไม่ได้ปล่อยคลัทช์ เป็นการรั่วภายใน น้ำมันที่มีแรงดันเมื่อเหยียบคลัทช์ใว้น้ำมันกลับรั่วผ่านลูกยาง กลับขึ้นกระป๋อง ทำให้แรงดันลดลงคล้ายกับเราค่อยๆปล่อยคลัทช์ ถ้าเกิดอาการอย่างนี้ก็ต้องเปลี่ยนลูกยาง

ก่อนเปลี่ยนลูกยางดูว่ากระบอกสึกหรือไม่ถ้ากระบอกสึก ก็ต้องเปลี่ยนทั้งตัว เมื่อเปลี่ยนอุปกรณ์เรียบร้อยข้อสำคัญ คือต้องไล่ลมให้ออกจากระบบให้หมด มิฉะนั้นคลัทช์จะทำงานไม่สมบูรณ์คือเข้าเกียร์ไม่ได้ ไล่ลมเปิดหัวไล่ลมปล่อยให้น้ำมันไหลออกโดย ไม่ต้องเหยียบคลัทช์ก็ได้

Facebook Comments