กระปุกเกียร์ อุปกรณ์สำหรับปรับทอร์กและอัตราเร็วของรถยนต์ให้เหมาะสมกับการขับขี่ และสามารถเปลี่ยนทิศทางการหมุนของเพลาเพื่อให้รถถอยหลังได้ด้วยในกระปุกเกียร์จะมีเฟืองที่มีอัตราทดต่างกันหลายชุด มีชิ้นส่วนที่ทำหน้าที่ต่างกันอยู่มากมาย เมื่อใช้งานถึงเวลาเกิดการชำรุดเสียหายได้ อันเป็นเรื่องธรรมดา การชำรุดเสียหายแต่ละจุดจะมีอาการ บอกถึงความเสียหายเกิดจากจุดใด การซ่อมจึงจะตรงจุดที่เสียหาย ไม่เสียเวลา ไม่สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ ฉะนั้นผู้ที่ใช้รถจึงน่าจะต้องรู้ใว้เพื่อเป็นแนวทาง
เกียร์ กระปุก เกียร์ธรรมดา หรือ manual gearbox แบ่งได้สองแบบ หนึ่ง เกียร์ขับหลัง สอง เกียร์ขับหน้าซึ่งจะมีชุดเฟืองท้ายรวมอยู่ในเกียร์ด้วย
เกียร์ ขับหลังคันเข้าเกียร์ไม่ยุ่งยากคันเข้าเกียร์ จะเสียบเข้ากระปุกเกียร์โดยตรง
เกียร์ ขับหน้าจากคันเข้าเกียร์ต้องมีต่อโยงไปที่เกียร์ การต่อโยงมี สองแบบ หนึ่ง เชื่อมต่อจากคันเข้าเกียร์ไปหาเกียร์ด้วยท่อนเหล็กลักษณะเป็นแป๊บ การทำงานเมื่อผลักคันเกียร์ไปทางซ้ายท่อนเหล็กจะบิดไปทางซ้ายเพื่อให้ตรงกับขาเลื่อนตำแหน่งเข้าเกียร์ หนึ่งและเกียร์ สอง ถ้าไม่โยกคันเกียร์ไปซ้ายขวา จะเป็นตำแหน่ง เข้าเกียร์ สามและเกียร์สี่ ถ้าดึงคันเกียร์มาขวาสุดเป็นตำแหน่งเข้าเกียร์ ห้า และ เกียร์ ถอยหลัง แบบที่สองใช้สายสลิงสองเส้น เส้นหนึ่งทำงานเมื่อโยกคันเข้าเกียร์ ไปซ้าหรือขวา เพื่อให้ตรงกับตำแหน่ง เกียร์ที่จะเข้า สลิงอีกเส้น เป็นเส้นเลื่อนตำแหน่งเกียร์
อาการผิดปกติ เริ่มจากเกียร์ขับหลัง ที่ส่วนมากเป็นรถปิ๊กอัพที่ใช้งานไปนานๆและในบางยี่ห้อ รถป้ายแดงวิ่งได้ สอง สาม หมื่น กิโล ไม่ได้เป็นทุกคัน คันที่เป็น คือเมื่อจอดติดเครื่องเกิดมีเสียงประหลาดบริเวณเกียร์ แต่เมื่อเหยียบ คลัทช์ เสียงประหลาดจะเงียบ ก็ลงความเห็นกันว่าเสียงดังนั้นเกิดจากสปริงจานคลัทช์ อ่อนไป เพื่อความเข้าใจใน สปริงตัวนี้ สปริงตัวนี้มีชื่อว่า Marcel spring สปริงแบบมาร์เซล ชุด สปริงในชุดแผ่นคลัทช์ ทำหน้าที่ผ่อนแรงกระชากเมื่อ คลัทช์จับ คือ เมื่อปล่อยคลัทช์ ประมาณครึ่งทาง และเมื่อเหยียบคลัทช์สุด คลัทช์ตัดการทำงาน ทำให้ภายในเกียร์เฟืองทุกตัวจะหยุดหมุนทำให้เสียงประหลาดนั้นหายไป ดังนั้น ผู้ที่เมื่อได้ยินเสียงประหลาดเหยียบคลัทช์แล้วเสียงประหลาดหายไป จึงคิดว่าเป็นเสียงที่เกิดจากสปริง ชุดผ้าคลัทช์ ก็เลยมีการเปลี่ยนผ้าคลัทช์ เสียงประหลาดก็จะหายไปพักหนึ่ง เลยคิดไปว่าทำถูกทางแล้ว แต่ด้วยความเป็นจริงเมื่อยกเกียร์ลงมาถ่ายน้ำมันเกียร์ทิ้ง เวลาใส่เกียร์กลับก็เอาน้ำมันเกียร์ใหม่ใส่ เสียงประหลาดที่เงียบเพราะน้ำมันเกียร์ใหม่นั่นเอง
เกียร์เมื่อใช้งานไปเป็นระยะทางมากๆ ย่อมมีการสึกหรอเป็นธรรมดา ขณะรถวิ่งมีเสียงครางบริเวณ เกียร์ ทุกเกียร์ เป็นไปได้ที่ลูกปืนเกียร์ สึกเป็นหน้าข้าวตัง คือในร่องรางมีลูกปืนวิ่งเป็นหลุมเป็นบ่อเล็กๆเวลาลูกปืนวิ่งจึงเหมือนรถวิ่งบนถนนขรุขระ
เกียร์เข้าแล้วหลุดมีสองอาการ หนึ่ง ดันคันเกียร์เข้าเกียร์ พอเร่งเครื่องคันเกียร์เด้งกลับออกมาเป็นเกียร์ว่าง อาการนี้จะเกิดกับเกียร์ เกียร์ 1 และ เกียร์ 3และ5 เหตุที่เกียร์1เกียร์3และเกียร์5 หลุดเนื่องจากเฟืองหนามเตยที่เป็นเฟืองประกอบร่วมกับเฟืองเกียร์ สึก เฟืองหนามเตย ลักษณะเป็นตุ่มขนาดเม็ดถั่วเขียวเขื่องๆ เกียร์หนึ่งมีประมาณ25 ตุ่ม เจ้าตุ่ม25ตุ่มนี้เป็นตัวที่ทำให้รถวิ่งได้เมื่อ ปลอกเลื่อน หรือเฟืองซิงโครไนซ์ ภายในมีร่องรับกับเฟืองหนามเตย เมื่อปลอกเลื่อนถูกเลื่อนเฟืองหนามเตยเข้าในร่องปลอกเลื่อน ก็จะพารถวิ่งได้แล้ว จึงเห็นได้ว่าเฟืองหนามเตยมีเนื้อที่การทำงานน้อยและต้องพารถไปทั้งคัน ย่อมเกิดความสึกหรอเสียหาย ประกอบกับเฟืองเกียร์มุมเฉียง เมื่อแรงส่งจากเพลาเกียร์ เมื่อเร่งเครื่องเฟืองเกียร์จึงถอยออกทำให้ เฟืองหนามเตย หลุดออกจาก ปลอกเลื่อนอาการเกียร์หลุดจึงเกิดขึ้น
ซึ่งต่างกับเกียร์2และเกียร์4 เร่งเครื่องเท่าไหร่ก็ไม่หลุดแต่เมื่อถอนคันเร่ง คันเกียร์จะเด้งหลุดเป็นเกียร์ว่าง สาเหตุ เมื่อถอนคันเร่งแรงส่งจากเพลาเกียร์ ไม่มี แต่จะมีแรงจาก เพลากลาง หรือ เพลาขับ ส่งกลับเข้ามาในเกียร์ ทำให้เฟืองที่เป็น ถอยหนีจากปลอกเลื่อน อาการเกียร์หลุดเมื่อถอนคันเร่งจึงเกิดขึ้น
ปัญหาของเกียร์นอกจากเกียร์หลุดยังมีเรื่องเกียร์เข้ายาก ก็ต้องแยกแยะว่าเกียร์อะไรเข้ายากเป็นเกียร์อะไร เริ่ม รถจอดอยู่มีสองเกียร์ที่จะใช้ก็มีอยู่สองเกียร์ที่จะใช้ เกียร์1และเกียร์ถอยหลัง เมื่อจะเดินหน้าเข้าเกียร์1แล้วเกียร์เข้ายาก คงจะมีอยู่สองปัญหารวมกัน หนึ่งคลัทช์ไม่จาก+เฟืองซิงโครเมท คลัทช์ไม่จาก คือเมื่อเหยียบจนสุดแล้วภายในเกียร์ไม่หยุดหมุน +กับเฟืองซิงโครเมทไม่จับเฟืองเกียร์1 จึงมีปัญหาเกียร์1เข้ายาก ส่วนเกียร์ถอยหลังมีอยู่สาเหตุเดียวคือคลัทช์ไม่จาก เกียร์ถอยหลังเป็นเกียร์เดียวที่เมื่อเข้าเกียร์เป็นการเลื่อนเฟืองเข้าขบกัน เมื่อเฟืองไม่หยุดหมุน จะมีเสียงเฟืองระกัน
เมื่อรถเคลื่อนตัวเปลี่ยนเกียร์เป็นเกียร์2-3-4-5 ไม่ว่าจะเป็นเกียร์ไหนเข้ายาก ตัดปัญหาเรื่องคลัทช์ไม่จากไปได้เลย เพราะขณะรถเคลื่อนตัว เพลาจะมีรอบกลับเข้าไปในเกียร์ เฟืองซิงโครเมทหรือที่เรียกกันว่าเฟืองทองเหลือง จะเป็นพระเอกจับให้เฟืองส่วนที่หมุนกับเฟืองที่ไม่หมุน หมุนไปพร้อมๆกันทำให้ปลอกเลื่อน เลื่อนเข้าเชื่อมต่อได้
ถ้าเฟืองซิงโครเมทเกิดเป็นผู้ร้ายขึ้นมา ไม่จับเฟืองตัวที่หมุนไม่อยู่ ก็ทำให้เฟืองตัวที่ไม่หมุนเชื่อมต่อกับเฟืองตัวที่หมุนไม่ได้ ทำให้การเข้าเกียร์จึงเข้ายากถึงไม่เข้า
สาเหตุที่เฟืองทองเหลืองไม่จับ เมื่อก่อนเป็นเรื่องของเฟืองทองเหลืองทีสึกไปตามอายุการใช้งาน แต่ในปัจจุบันนี้ มีตัวที่มาเกี่ยวข้องด้วยคือน้ำมันเกียร์ ที่ทุกวันนี้น้ำมันเกียร์มีมาตรฐานคุณภาพทีกำหนดให้ใช้กับอุปกรณ์ใดการใช้น้ำมันเกียร์ ที่ไม่มีการเจาะจงมาตรฐานของน้ำมันเกียร์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดเฟืองทองเหลืองในเกียร์ไม่จับกับเฟืองเกียร์
มาตรฐานน้ำมันเกียร์ API กำหนดใช้ตัวอักษรGLเป็นตัวที่บอกถึงว่าเป็นน้ำมันเกียร์และเฟืองท้าย เป็นมาตรฐานใด
เริ่มตั้งแต่ GL-1 คือน้ำมันพื้นฐานที่ไม่มีส่วนผสมของสารเพิ่มคุณภาพ
GL-2 คือ มีการเติมสารเพิ่มคุณภาพเล็กน้อย เช่น สารลดความฝืด เป็นต้น
GL-3 คือ มีการเติมสารเพิ่มคุณภาพมากขึ้น เช่น สารรับแรงกดอัด(EP) เป็นต้น
GL-4 คือ มีการเติมสารเพิ่มคุณภาพ(สารEP)น้อยกว่าGL-5ประมาณ 50%
GL-5 คือ มีการเติมสารเพิ่มคุณภาพ(EP) มากเป็นพิเศษ
GL=GEAR LUBRICANT
EP=EXTREME PRESSURE สารEP คือสารเพิ่มคุณภาพชนิดหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่รับแรงกระทบกระแทกกันโดยตรงของฟันเฟืองเกียร์ ลักษณะการทำงานของสาร EP คือ เมื่อเกิดการกระแทกกันอย่างรุนแรง ณ จุดใดของฟันเฟืองเกียร์ จุดดังกล่าวจะเกิดความร้อนขึ้น ในขณะเดียวกันสารEP จะวิ่งเข้าไปทำปฎิกิริยากับผิวโลหะ ณ จุดนั้นๆ เพื่อรองรับการกระแทก หรือแรงเฉือนที่หนักหน่วงได้
เมื่อเปรียบเทียบตั้งแต่1ถึง5จะเห็นได้ว่าควรจะเจาะจงใช้ให้ถูกต้อง ที่มีเพียง4กับ5เท่านั้นที่จะปกป้อง เกียร์และเฟืองท้าย ให้คงทนตลอดการใช้งาน แต่ข้อควรระวังคือ ระหว่างGL4 กับ GL5 ถ้ามักง่ายเอา GL5 ไปเติมเป็นน้ำมันเกียร์ อาจทำให้เกิดเกียร์เข้ายากทุกเกียร์ เพราะสารเพิ่มคุณภาพที่มากจะทำให้เฟืองทองเหลือง ไม่จับกับเฟืองเกียร์ให้หมุนไปพร้อมๆกันเกียร์จึงเข้ายาก แต่ก็มีน้ำมันบางยี่ห้อ ที่ บ่งบอกว่าน้ำมันGL5ของเขาใช้เป็นน้ำมันเกียร์ได้ และไม่เป็นอันตรายกับเฟืองทองเหลือง ถ้ามักง่ายเอาGL4 ไปเติมเฟืองท้าย เฟืองท้ายก็จะเสียหายก่อนเวลาอันสมควร ในหนังสือคู่มือประจำรถจะมีคำแนะนำใว้ทุกเล่ม
เมื่อเกิดปัญหาเกียร์เข้ายาก จะไปลงความเห็นเลยคงไม่ถูกต้อง ต้องหาสาเหตุจนแน่ใจว่าเกิดจากอะไรเป็นสาเหตุให้เกียร์เข้ายาก เกียร์เข้ายากแบ่งออกเป็นสองลักษณะการใช้งาน ลักษณะที่หนึ่ง ขณะรถจอด เกียร์1และเกียร์ถอยหลัง คงผ่านตามาแล้ว
ลักษณะที่สองขณะรถวิ่ง ถ้ามีอาการเกียร์เข้ายากขณะรถวิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเกียร์อะไร เมื่อจะหาสาเหตุการเข้าเกียร์ยาก ต้องจอดรถติดเครื่องเดินเบา เหยียบคลัทช์ให้สุด เริ่มจากเข้าเกียร์2ไม่ต้องปล่อยคลัทช์ แล้วเปลี่ยนเป็นเกียร์3 เรื่อยไปจนครบทุกเกียร์ ถ้าทุกเกียร์เข้าง่ายเป็นปกติดีแสดงว่าภายในเกียร์ไม่มีสิ่งผิดปกติ อันนี้แน่นอนว่าขณะรถวิ่งรอบของเพลาจะส่งเข้ามาในเกียร์ เฟืองทองเหลืองจะมีรอบที่หมุนจะจับเฟืองเกียร์ไม่อยู่ ถ้าพอจะนึกได้ว่าอาการเกียร์เข้ายากหลังไปเปลี่ยนน้ำมันเกียร์มา ก็ต้องกลับไปถามผู้ที่เปลี่ยนน้ำมันเกียร์ ได้เอาน้ำมันเกียร์มาตรฐานอะไรมาใส่ ถ้าเขาบอกว่าเอา GL5 มาใส่ให้ก็ถ่ายออก ล้างเกียร์ แล้วเอา GL-4 มาใส่อาการเกียร์เข้ายากคงจะหาย เพราะมีตัวอย่างมาแล้ว
จำได้บ้างไม่ได้บ้างหลงลืมไปบ้าง เรื่องเกียร์ก็คงพอแต่เพียงเท่านี้
“ไพรม์มัส กรุ๊ป…