เพื่อนช่างเพื่อคุณเป็นคอลัมน์ สำหรับท่านผู้อ่านที่ต้องการมีความรู้เกี่ยวกับรถยนต์และรู้จักรถยนต์ โดยเพื่อนช่างของเราก็คือ คุณประสงค์ สัมโมทย์ หรือช่างอาวุโสที่พวกเราให้ความนับถือ โดยเรียกกันติดปากว่าปู่ประสงค์
ปู่ประสงค์สั่งสมประสบการณ์มากมายในการซ่อมและดูแลรักษารถยนต์ แม้ตอนนี้ปู่จะอายุ 72 ปีแล้ว แต่ปู่ยังไม่เคยหยุดนิ่งในการศึกษาค้นคว้า คุณธเนศร์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา เห็นความรู้และความสามารถอันมากมายของปู่ประสงค์ก็ได้เชิญปู่มาจัดรายการร่วมกับคุณธเนศร์ด้วยที่ คลื่น FM.89.5 ช่วงเวลา 23.00 น.- 24.00 น. และที่ AM .1269 ทุกวันจันทร์-อาทิตย์ เวลา 16.00 – 17.00 น.
และนี้คืออีกความรู้หนึ่งที่ปู่ประสงค์ยินดีจะมอบให้ท่านผู้อ่านของเราค่ะ
เพื่อนช่างท่านใดที่ต้องการแบ่งปันข้อมูลดีๆให้กับท่านผู้อ่าน ก็ส่งบทความไปได้เลยนะคะที่ thunyaluk@caronline.net ทางเราจะน้อมรับด้วยความขอบคุณค่ะ
ทำไมต้องตั้งวาล์ว
การตรวจปรับตั้งระยะห่างวาล์ว เป็นหนึ่งในข้อกำหนดของ ตารางการบำรุงรักษา ในคู่มือการใช้รถ ระยะทางที่รถวิ่งใช้งานเป็นข้อกำหนด
รถแต่ละยี่ห้อจะกำหนดระยะทางไม่เท่ากันและรวมถึงระยะห่างของวาล์ว
ใช้รถยี่ห้อไหนก็ดูคู่มือในรถยี่ห้อนั้น วาล์วห่าง วาล์ว ยันเป็นเรื่องธรรมชาติของการสึกของชิ้นส่วนของระบบวาล์ว
ชุดการทำงานของวาล์ว (valve train) ขบวนการทำการปิดเปิด วาล์วไอดี วาล์วไอเสีย กลไกทั้งหมดที่ควบคุมการทำงานของวาล์วเครื่องยนต์ ประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ ตั้งแต่เพลาลูกเบี้ยวจนถึงวาล์ว
เริ่มจากวาล์ว(valve) วาล์วเป็นอุปกรณ์ใช้สำหรับควบคุมการไหลเข้าของไอดี ไหลออกของไอเสีย วาล์วมีลักษณะคล้ายดอกเห็ด บ่าวาล์วส่วนเอียงทำมุมกับแนวก้านวาล์ว เป็นส่วนที่กดกับบ่าวาล์วเพื่อกันการรั่ว
บ่าวาล์ว(valve seat) ลักษณะเป็นโลหะเหล็กแข็งทำจากวัสดุที่ทนทาน ใช้อัดเข้าไปที่ฝาสูบเพื่อทำหน้าที่เป็นบ่าวาล์ว มีมุมเอียงมุมเดียวกับดอกวาล์ว ใช้เป็นมุมให้ดอกวาล์วกด เพื่อเปิดให้ไอดีเข้าไอเสียออกและเมื่อปิดก็จะป้องกันการรั่วในจังหวะอัด
ปลอกก้านวาล์ว(valae guide)ปลอกก้านวาล์ว ลักษณะ เป็นหลอด ปลอกจะอัดเข้าไปในฝาสูบ ใช้เป็นตัวประคองการเคลื่อนที่ของวาล์วให้ได้ศูนย์
ซีลก้านวาล์ว (valve seal ) ชิ้นส่วนซึ่งเป็นยาง อยู่ที่ปลายปลอกก้านวาล์วด้านสปริง มีทั้งวาล์วไอดีและวาล์วไอเสีย แต่ด้วยความเป็นจริง ความจำเป็นที่ต้องมีซีลก้านวาล์วเพียงวาล์วไอดี เพราะในจังหวะดูดวาล์วไอดีเปิดจะมีแรงดูดส่วนหนึ่ง ดูดผ่านปลอกวาล์วทำให้น้ำมันเครื่องถูกดูดลงไปรวมกับ ส่วนผสมเชื้อเพลิงกับอากาศ ทำให้เกิดควันขาว
ความจริงเครื่องยนต์ในสมัยก่อนปลอกวาล์วไม่มีซีลหรือสิ่งที่ป้องกันไม่ให้น้ำมันเครื่องลงตามปลอกวาล์ว
เริ่มแรกที่เห็นและพอจะจำได้ เครื่อง 3 เค ของโตโยต้า ใช้โอริงใส่ที่ก้านวาล์วส่วนบน พวกเครื่องนิสสันจะเป็น คล้ายหมวกทรงสูง ปีกหมวกเอาสปริงกดใว้ ด้านบนแกนวาล์ว ทะลุขึ้นมา
แต่ในปัจจุบัน เป็นลักษณะซีล มีสปริงเพื่อการกระชับแกนให้แน่นขึ้น ตอกติดกับปลอกวาล์ว มีทั้งวาล์วไอดีและวาล์วไอเสีย
แต่ข้อสังเกตุ ที่เห็นสองยี่ห้อที่บ่งใช้ระหว่างซีลวาล์วไอดีและวาล์วไอเสีย โตโยต้าจะแยกใส่ซีลวาล์วไอดีถุงหนึ่ง ซีลวาล์วไอเสียอีกถุง ฮอนด้า จะใช้สีของสปริงเป็นตัวแยก ซีลวาล์วไอดีจะสีขาว ซีลวาล์วไอเสียจะใช้สีดำ
สปริงวาล์ว(valve spring) ขดลวดสปริงใส่ครอบก้านวาล์ว เพื่อทำให้วาล์วปิดสนิท โดยเมื่อสปริงยืดตัว
แหวนรองสปริงวาล์วตัวบน (spring retainer) ขอบของแหวนจะรับกับสปริง มีรูให้แกนวาล์วโผล่ออกมาเพื่อล๊อค
ประกับล๊อคแกนวาล์ว (valve keepers) มีสองชิ้นด้านในใช้ล๊อคจับแกนวาล์ว ด้านนอกอยู่ในรูแหวนรองสปริง
ชุดส่วนของวาล์ว อาจจะมีมากกว่านี้ เช่นแหวนรองสปริงวาล์ว สปริงวาล์ที่มีสองแบบ คือข้อของสปริงจะห่างเท่าๆกัน กับมีข้อชิดกันสองสามข้อ จะไม่กล่าวถึง ต่อไปจะกล่าวถึงส่วนประกอบที่ทำให้วาล์วเปิด และคงไม่ย้อนกลับไปจนถึงสมัย วาล์วทั้งชุดอยู่ในเสื้อสูบ
ยุคแรกการพัฒนาชุดวาล์ว ที่เอาชุดวาล์วมาใว้บนฝาสูบ ที่เรียกว่า โอเวอร์เฮดวาล์ว ส่วนเพลาราวลิ้นยังอยู่ในเสื้อสูบ การที่เพลาราวลิ้นยังอยู่ในเสื้อสูบจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ ถ่ายทอดจากเพลาราวลิ้นจนถึงวาล์ว มีลูกกระทุ้ง ตะเกียบวาล์ว กระเดื่องวาล์ว ทุกชิ้นส่วนที่เชื่อมต่อมากจุด ก็เกิดการสึกหรอจากหลายจุดทำให้ระยะห่างของวาล์วเกิดขึ้น จึงเกิดเสียงวาล์วดัง จึงต้องมีการปรับตั้งวาล์ว
การพัฒนาต่อมา คือการที่เอาเพลาราวลิ้นมาใว้บนฝาสูบ ที่เรียกว่า โอเวอร์เฮดแคมชาร์ฟ ยุคแรกมีเพียงเพลาราวลิ้นเพียงอันเดียว ยุคนี้ยังต้องมีกระเดื่องอยู่
การพัฒนามาถึงยุคปัจจุบัน จะเป็นเพลาราวลิ้นคู่ ที่ไม่ต้องมีกระเดื่องใช้เพลาราวลิ้นกดกับถ้วยกดวาล์วโดยตรงเลย ก็ต้องมีการตรวจสอบปรับตั้ง แต่ช่างบางคนจะบอกว่าไม่ต้องปรับตั้งเพราะไม่มีตัวตั้งความจริงก้นถ้วยด้านบนมีแผ่นชีมที่มีความหนาอยู่หลายขนาด ในยุคที่ยังไม่ใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิง วาล์วไอดีวาล์วจะยัน ส่วนวาล์วไอเสียยังเป็นปกติดี แก้ไขด้วยการเอาชีมมาฝนให้บางลงก็ใช้ได้ พอมาถึงยุคมีแต่ถ้วยไม่มีชีม ในยุคที่ใช้แก๊สก็เอาถ้วยไปโรงกลึง กลึงด้านในลงไปก็ใช้ได้
การเปิดปิดของวาล์ว วาล์วเปิดได้ด้วยปลายลูกเบี้ยวเพลาราวลิ้นกดสู้แรงสปริงหดตัว เมื่อถึงจังหวะปิดปลายลูกเบี้ยวเปลี่ยนมุมไม่กด สปริงก็จะยืดตัวดึงก้านวาล์วทำให้ปากวาล์วชิดกับบ่าวาล์ว เป็นการปิดที่มีการกระแทกกันนิดๆของวาล์วกับบ่าวาล์ว ย่อมเกิดการสึกหรอได้ เมื่อสึกหรอมากขึ้นแกนวาล์วจะถูกสปริงวาล์วดึงขึ้นทำให้ระยะห่างของวาล์วน้อยลง ปล่อยใว้ถ้าไม่ปรับตั้ง ระยะห่างไม่มีที่เรียกว่าวาล์วยัน
เมื่อวาล์วยันวาล์วจะปิดไม่สนิทจะส่งผลให้เครื่องยนต์เกิดปัญหา เครื่องยนต์ในรอบเดินเบารอบไม่นิ่งเครื่องยนต์กำลังตก วาล์วไอดียัน กำลังอัดรั่ว อาจมีแบล็คฟาย ในท่อไอดี ไอเสียยันไฟที่เกิดจากการจุดระเบิด แล้บผ่านจุดที่ปิดไม่สนิท ทำให้บ่าวาล์วแหว่ง ปากวาล์วเบี้ยว ในขณะเร่งเครื่องอาจมีเสียงระเบิดในท่อไอเสีย คงจะพอเข้าใจว่ามีความจำเป็นในการต้องตรวจตั้งวาล์ว
ถ้าไม่สนใจตรวจตั้งวาล์ว เมื่อวาล์วยันจนเกิดความเสียหายกับบ่าวาล์ว ปากวาล์วเสียแล้ว การปรับตั้งก็ไม่ทำให้สิ่งที่เสียไปแล้วกลับคืนมาได้ โดยเฉพาะเครื่องยนต์ที่ใช้แก๊ส วาล์วไอเสียจะยันเมื่อไม่มีการตรวจตั้งวาล์ว สาเหตุเนื่องจากบ่าวาล์วสึก เร็วกว่าปกติ จาก ปตท แนะนำให้ตรวจสอบวาล์วทุกๆประมาณ 50,000 กิโลเมตร