Brand: ACURA (HONDA) Model: CL
Year: 1989 Miles: 100001 – More
From: นายพิชากร ถิระวัฒน์
Honda : Civic
1.รถเคยเกิดอาการเบรคติดมีควันไฟขึ้นที่ล้อด้านซ้าย ช่างแก้ไขโดยเปลี่ยนลูกสูบและลูกยางคาลิเปอร์ทั้ง 2ข้าง (ระยะทางวิ่ง200,500 กิโลเมตร) รถสามารถวิ่งไป และเบรคไม่มีปัญหาใดใด
2.ตอนนั้นช่างได้แจ้งว่า ผ้าเบรคเดิมหมด จานเบรคคด โช๊คหลังเสีย พอวิ่งไปได้ระยะ 203,000 กิโลเมตร ซึ่งเคยจดไว้ว่าต้องเปลี่ยนยาง จึงได้ให้ช่างคนเดิม ทำการเปลี่ยนยาง 4 เส้น ถ่วงยาง ตั้งศูนย์ เปลี่ยนผ้าเบรคด้านหน้ายี่ห้อเฟอโรโด ก้ามเบรคหล้งเบนดิก จานเบรคซื้อที่วรจักรร้านที่ขายอะไหล่Honda โช๊คมอนโร และสปริงทั้งหน้า-หลัง ลูกปืนล้อหน้า 2 ข้าง กลับปรากฏว่า เบรคสั่นสะเทือนจากเท้าถึงพวงมาลัยขึ้นลงๆ แต่ไม่เอียงไปซ้ายหรือขวา ช่างเลยจัดการเจียร์จานไปครั้งที่1 ทั้งหน้าและ หลัง ใช้ไป 1 เดือน ก็กลับมาสั่นอีกแล้ว แต่อาการไม่สั่นตลอดเวลา เป็นบางช่วงเท่านั้น ลองเจียร์จานครั้งที่ 2 ก็เป็นเหมือนเดิม และคราวนี้ยังมีเสียงเหมือนเหยียบสปริงที่ฝืดเพิ่มเข้ามา ดูเหมือนยิ่งแก้ยิ่งแย่
3.ล่าสุด ช่างได้ทำการเปลี่ยนrack 1 คู่ คันชักนอก 1 คู่ เปลี่ยนลูกสูบ และลูกยางคาลิเปอร์อีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากถอดออกมาดูแล้ว เป็นสนิมอย่างมาก พร้อมทั้งตั้งศูนย์ล้อ ถ่วงล้อใหม่ ผลออกมาเหมือนเดิม แต่เสียงคล้ายสปริงฝืด หายไป ซึ่งช่างบอกว่าสงสัยต้องเปลี่ยนชุดคาลิเปอร์ และช่วงล่างใหม่ทั้งหมดจึงจะแก้ปัญหาได้
ผมจึงเริ่มหาข้อมูลทางInternet พบWebของคุณอาธเนศร์ เลยตัดสินใจไปร้านส.รัตนยางยนต์ ทำการเจียร์จานเบรคแบบประชิดตามที่คุณอาธเนศร์แนะนำไว้ แล้ว ปรากฏว่าอาการดังกล่าวหายไปหมดแล้ว จึงอยากขอขอบคุณอย่างสูง และอยากถามเพื่อเป็นความรู้ว่า ทำไมผมเจียร์จานไปถึง 2 ครั้ง เห็นว่าเรียบดีแล้ว เมื่อมาเจียร์แบบประชิด สังเกตุว่าจานที่คิดว่าเจียร์มาดีแล้วยังคดมากเลยทั้ง 2 ข้าง กว่าที่จะเจียร์จนเรียบต้องไล่กัน3-4 ครั้งทีเดียว มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้จานมันคดและส่งผลได้ขนาดนั้น ขอบคุณครับ
การเจียร์จานเบรกแบบถอดออกไปเจียร์นั้น ทำได้และเคยดี แต่สมัยก่อน รถเราวิ่งกันไม่เร็วนัก และการเบรกก็ไม่ต้องใช้แรงกดมากเท่าไร รถก็หยุดได้ดี
คือสมัยก่อนนั้น รถยนต์น้ำหนักไม่มาก กำลังหรือแรงบิดก็ไม่สูง ถนนยังไม่ดีพอสำหรับการขับขี่เร็วมากนัก การเบรกหรือห้ามล้อ จึงยังไม่รุนแรงเหมือนรถยนต์ในปัจจุบัน
หากเราจะมองว่า เอ๊ะ มันก็เหมือนกันนี่หว่า ก็ได้ครับ
แต่การมองอย่างนั้น เป็นการมองเพียงภายนอก คือชิ้นส่วนของอุปกรณ์ ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงการทำงาน
ดูแค่น้ำมันเบรก ก็เห็นแล้วว่า เบรกของรถรุ่นใหม่ จำเป็นจะต้องใช้น้ำมันดีขึ้น ทนความร้อนสูงขึ้น เราก็พอจะมองออกว่า เบรกของรถใหม่ในสมัยนี้ จะต้องทำงานหนักกว่าสมัยก่อนเอามากทีเดียว แม้จะมีรูปร่างเหมือนกัน
ดังนั้น เบรกของรถอย่าง JAZZ จึงมีคุณภาพคุณสมบัติ ดีกว่าของรถแคมรี ปีแรกแรกอีกหลายเท่า ดีกว่าของ Accord รุ่นแรกอีกมากมายนัก แต่เราไม่ทันคิดกันครับ
ดังนั้น การซ่อมเบรก จึงต้องทำด้วยวิธีการที่พัฒนาตามขึ้นมา ผ้าเบรกเองก็ต้องพัฒนา เช่นเดียวกับน้ำมันเบรก
อะไรที่ไม่พัฒนา ก็ต้องหลีกทางให้กับพัฒนาการทั้งนั้น
ผมเอง ก็ต้องศึกษาเพิ่มเติมขึ้นอีกมาก จึงจะกล้ามาตอบปัญหา อย่างเช่นเรื่องน้ำมันเครื่อง เรื่องเกียร์อัตโนมัติ อะไรต่ออะไรเหล่านี้ หากคุณไปที่บ้านผม ก็จะเห็นตำรับตำรามากมาย ในห้องทำงานของผม นี่ไม่ได้รวมถึงการศึกษาที่ได้ไปพบไปเห็นจากต่างประเทศ จากผู้ผลิตอุปกรณ์มากมายหลายแห่งนะครับ
มาเรื่องการซ่อมเบรก ที่เดิมนั้น ใช้การถอดออกไปเจียร์ก็ได้แล้วกันบ้าง แต่ก่อน รถวิ่งกันไม่เร็ว และไม่ได้ใช้เครื่องยนต์กำลังสูงอย่างสมัยนี้ จริงไหม
การจับของผ้าเบรกที่นุ่มกว่าสมัยนี้ ก็จับได้ ไม่มีปัญหาอะไร แม้จานจะไม่เรียบจริง
จานไม่เรียบนั้น ไม่ได้เกิดจากจานไม่เรียบอย่างเดียว แต่เกิดจากการติดตั้งไม่เรียบก็ได้ จริงไหม
แต่ทุกอย่างสมัยก่อน ไม่เป็นไร เพราะอย่างที่บอก เครื่องไม่แรง รถไม่เร็ว การหยุดก็ไม่ต้องใช้ระยะสั้นอย่างปัจจุบัน อะไรที่ OFF ไปบ้างเล็กน้อย ก็ไม่ทำให้เกิดปัญหา
แต่เดี๋ยวนี้ ไม่ใช่เหมือนก่อน
เพราะเดี๋ยวนี้ รถเร็วขึ้น หยุดได้ในระยะสั้นขึ้น และจำเป็นต้องให้หยุดได้ในระยะสั้น เนื่องจากรถของเราไม่ได้วิ่งอยู่เพียงคันเดียวบนถนน ทุกคัน หรือคันอื่นเขาใช้ระยะสั้นลง เราจะใช้ระยะยาวอย่างเดิม ย่อมเอามาขับบนถนนเดียวกับเขาไม่ได้
จริงไหม
คำว่า OFF เล็กน้อย เป็นไปไม่ได้เสียแล้ว สำหรับการทำงานของเครื่องยนต์ ของเกียร์ ของเบรก ของช่วงล่าง ทุกอย่างต้องได้ที่แม่นยำกว่าก่อน
ตรงนี้เอง ที่คอมพิวเตอร์เข้ามามีส่วนมากขึ้น
ส่วนของการเจียร์จาน ก็ใช้คอมพิวเตอร์ ใช้เครื่องมืออัตโนมัติมาควบคุม และควรจะเจียร์กับเพลาล้อเลยทีเดียว เพื่อไม่ให้มีการ OFF ขึ้นมาอีกง่ายง่าย
ก็เท่านี้แหละครับ
เข้าใจไหมก็ไม่ทราบ ผมก็พูดได้อย่างนี้ และเท่านี้ สำหรับไดโนเสาร์ หรือเต่าล้านปีอย่างผม ฮ่า ฮ่า-ธเนศร์
“ไพรม์มัส กรุ๊ป…