แต่ท้ายที่สุดแล้ว บริษัทออกมายอมรับว่า การพัฒนารถที่ใช้พลังงานไฮดรอเจน เป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และสิ้นเปลืองเงินทุนจำนวนมาก ตกราวสองเท่าของการพัฒนารถยนต์ที่ใช้พลังงานจากชุดแบตเตอรี่ทีเดียว
เมอร์เซเดส-เบนซ์ จะค่อยๆ ระงับการผลิตรถยนต์ฟูอัลเซลส์ รุ่น จีแอลซี GLC ที่มีจำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งพัฒนาร่วมกับ ฟอร์ด และ นิสสัน มาตั้งแต่ปี 2556
เมอร์เซเดส-เบนซ์ ผลิตรถฟูอัลเซลส์ จำนวนเพียงไม่กี่ร้อยคัน ทั้งนี้เพราะค่าใช้จ่ายในการผลิตสูงมาก จึงผลิตเพื่อใช้ในธุรกิจของบริษัท และการโปรโมทเท่านั้น ไม่ได้ส่งออกจำหน่ายแต่อย่างใด เพราะการตั้งราคาสูง ก็ยังไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงได้
ทางด้านเดมเลอร์ แม้ว่า เมอร์เซเดส-เบนซ์ จะระงับการพัฒนาสำหรับรถยนต์นั่ง แต่ก็ยังมีโครงการที่เกี่ยวข้องกับรถบรรทุกหนัก ด้วยพลังงานไฮดรอเจน นี้อยู่ด้วย โดยได้ประกาศความร่วมมือกับ วอลโว่ ในการพัฒนา เพราะยังมีความเชื่อมั่นว่า พลังงานไฮดรอเจน เหมาะกับรถบรรทุกมากกว่าที่จะใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ สำหรับรถบรรทุกหนัก เพราะจะทำให้ต้องใช้ชุดแบตเตอรี่ขนาดใหญ่มาก
แต่กระนั้น ผู้นำโครงการ มาร์ติน ดวม Martin Daum ก็ระบุว่า เงินลงทุนจากค่ายละ 200 ล้านยูโร ราวฝ่ายละ 8,000 ล้านบาท อาจไม่พอใช้ในการพัฒนาเพื่อให้สามารถขึ้นสายการผลิตได้
ขณะเดียวกัน ค่ายฮอนด้า ซึ่งมุ่งพัฒนาฟูอัลเซลส์ พลังงานไฮดรอเจน ก็ระบุว่า ได้ระงับโครงการนี้ไว้แล้ว