Categories: ข่าว

เชลล์ มองผ่านเลนส์สู่อนาคต ชี้ให้เห็นภาพการขยายตัวของเมือง ส่งผลต่อกรุงเทพฯ

บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากหลายหน่วยงาน เผยผลการศึกษาล่าสุด “เชลล์ มองผ่านเลนส์สู่เมืองแห่งอนาคต” เพื่อสร้างความเข้าใจถึงวิถีการใช้พลังงานของเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลก รวมถึงร่วมทำความเข้าใจถึงผลกระทบจากการขยายตัวของเมือง
ดร.โช อุน คง หัวหน้าทีมนักวิเคราะห์ของเชลล์ กล่าวว่า “จากข้อมูลโดยหน่วยงานสำคัญทางด้านการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของสหประชาชาติ (UN-Habitat) ภายในปี พ.ศ. 2563 หรืออีกเพียง 6 ปี ข้างหน้านี้ 2 ใน 3 ของประชากรชาวเมือง ในประเทศที่เป็นสมาชิกของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จะมีการย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในภาคมหานคร (Mega-Urban Regions) เพียง 5 แห่งเท่านั้น ได้แก่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะมีประชากรถึง 30 ล้านคน, กรุงกัวลาลัมเปอร์ 6 ล้านคน, สิงคโปร์ 10 ล้านคน, ชวา 100 ล้านคน และกรุงมะนิลา 30 ล้านคน”
“การขยายตัวของเมืองนั้น ส่งผลกระทบต่อเราทุกคนและทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชนหรือรัฐบาล ต้องทำงานร่วมกัน เพื่อที่จะเห็นถึงคุณค่าของการที่เมืองต่างๆ ในอนาคตนั้น ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีอากาศที่บริสุทธิ์มากขึ้น” ดร.โช กล่าว
ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง UddC และบริษัท ออกแบบและสถาปัตย์ มาร์ค แอนด์ จอร์ดี้ Marques & Jordy นับเป็นตัวอย่างจากภาคเอกชน ที่มุ่งมั่นทำงานด้านการวางแผนและพัฒนาทางด้านต่างๆ เพื่อคุณภาพที่ดีกว่าของชาวกรุงเพทฯ โดยอาศัยนวัตกรรมใหม่ๆ มาร่วมใช้กับแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
รายงานเรื่อง “เชลล์ มองผ่านเลนส์สู่เมืองแห่งอนาคต” นี้ ศึกษาถึงความเป็นไปได้ในแหล่งอาศัยที่มีความหนาแน่นกว่า 500 แหล่งทั่วโลก รวมถึงเมืองขนาดใหญที่มีคนอาศัยอยู่กว่า 10 ล้านคน และได้แบ่งเมืองเหล่านี้ออกเป็น 6 กลุ่ม ชี้ให้เห็นว่าพื้นที่ใดมีการใช้พลังงานสูงสุด และหาความเป็นไปได้ว่า จะมีเมืองใหญ่เกิดขึ้นที่ใดอีกในอนาคต
จากผลการศึกษานี้ มี 2 จาก 6 กลุ่ม ที่มีการใช้พลังงานสูง ได้แก่ Sprawling Metropolises หรือเมืองขนาดใหญ่ที่กำลังขยายตัว เช่น กรุงโตเกียว และ Prosperous Communities เมืองที่ร่ำรวย อย่าง ดูไบ เป็นต้น ในขณะที่เมืองในกลุ่ม Urban Powerhouses หรือเมืองที่พัฒนาแล้วที่มีประชากรหนาแน่น เช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ หรือนิวยอร์ค ถูกจัดว่าเป็นเมืองที่มีความหนาแน่นสูง และในขณะเดียวกันก็เป็นผู้มีรายได้สูง ดังนั้น ผู้คนในเมืองเหล่านี้ มีความต้องการใช้พลังงานสูง แต่ทว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆ ในระดับโลกแล้ว ยังถือว่าเป็นความต้องการที่น้อยอยู่
กลุ่ม Underdeveloped Urban Centres หรือเมืองหลักที่ยังไม่พัฒนา เป็นกลุ่มของเมืองที่มีการศึกษาในครั้งนี้ แต่กลับใช้พลังงานเพียง 11% ของความต้องการของโลก ส่วนเมือง Developing Mega-Hubs หรือเมืองขนาดใหญ่ที่กำลังพัฒนา เช่น ไฮเดอราบาด ในอินเดีย หรือเมืองฉงชิ่ง เป็นกลุ่มที่ใช้พลังงานน้อยที่สุดใน 6 กลุ่ม ในขณะที่เมืองที่มีคนยากจนอยู่อย่างหนาแน่น หรือ Underprivileged Crowded Cities อย่างมะนิลา และบังกาลอร์ นั้น ยังจัดว่ามีการใช้พลังงานน้อยอยู่ แต่ว่าในอนาคต การใช้พลังงานของคนกลุ่มนี้จะเพิ่มขึ้นเมื่อประชากรมีการขยายตัว และมีรายได้ที่สูงขึ้น ความต้องการที่สูงขึ้นนี้ จะส่งผลต่อการใช้พลังงานโดยรวมของโลก ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่พวกเขาต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบ
เชลล์ ได้ใช้แบบจำลองสถานการณ์ (Scenario Planning) ศึกษาถึงโอกาสและความเป็นไปได้ของ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เป็นเวลากว่า 40 ปีมาแล้วในปีนี้ มีบทบาทในการตัดสินใจด้านนโยบาย ได้เข้าใจถึงความท้าทายทางด้านพลังงานในอนาคต โดยรายงานฉบับล่าสุดนี้ มองผ่านเลนส์ไปยังอนาคตถึงปี พ.ศ. 2603 ซึ่งไกลกว่ารายงานชิ้นก่อนๆ ที่เคยทำมา ชี้ให้เห็นถึงความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นจากการที่ประชากรมีรายได้มากขึ้น การขยายตัวของเมือง และการส่งผลต่อการใช้พลังงานในระยะยาว
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงาน “มองผ่านเลนส์สู่เมืองแห่งอนาคต” สามารถดูได้ที่ www.shell.com/futurecities

Facebook Comments
ลุงอ๊อด

Recent Posts