เกียร์อัตโนมัติ(อีกแล้วครับ)

Brand: TOYOTA Model: 4Runner
Year: 2008 Miles: 0-5000
From: suwat limwhrangura

VIOS
ในคู่มือลงข้อแนะนำในการใฃ้เกียร์ออโต้น้อยมากครับ ยังไม่เข้าใจ
จะถามไปที่โตโยต้า ก็กลัวคนตอบรู้ไม่จริง ต้องรบกวนอาหมูอีกแล้วครับ
1.N – เกียร์ว่างควรใช้ตอนไหนครับ
2.3 – เบรคด้วยเครื่องยนต์(ไม่สามารถเลื่อนไปที่ตำแหน่ง overdrive)
2 – เพิ่มการเบรคด้วยเครื่องยนต์มากขึ้น
L – ให้กำลังเบรคด้วยเครื่องยนต์สูงสุด
3 , 2 ,L ทำไมต้องเบรคด้วยเครื่องยนต์
ทำไมไม่แค่เหยียบแป้นเบรคก็พอ ไม่เข้าใจครับ
3.สมมติว่ามีประโยชน์นะครับ มีคำเตือนจากคู่มือว่า
"อย่าเหยียบคันเร่ง ขณะเปลี่ยนเกียร์"
การเปลี่ยนจาก "D" ไป 3,2 ,L เท่ากับทำอย่างนี้ใช่หรือไม่
3.1 ยกเท้าออกจากคันเร่ง แล้วผลักเกียร์ไป 3/2/L แล้วเหยียบคันเร่งต่อ
3.2 เหยียบเบรคแล้วเปลี่ยนไป 3/2/L
กรณ๊ 3.1 น่าจะอยู่บนทางราบ และ 3.2 คือรถหยุดนิ่ง
4.หากขึ้นเขาสูงชันอย่างภูชี้ฟ้า ดอยอ่างขาง ผมจะใช้ "D" อย่างเดียว
ได้มั๊ย หรือว่าบางสถานการณ์อาจต้องเบรคให้หยุดนิ่งแล้วเปลี่ยน
เป็นเกียร์ต่ำ ใช่หรือไม่ครับ
3.มีคนบอกว่าถ้าจะเร่งแซงควรเปลี่ยนจาก "D" เป็น "3"
แต่ดูจากคู่มือแล้วบอกว่าเป็นการเบรคด้วยเครื่องยนต์ งงครับ

ขอบคุณอาหมูมากครับ


1-เกียร์ว่าง ใช้ตอนติดเครื่องเพื่อปรับแต่ง หรือตอนจอดอยู่กับที่นานนาน แบบจอดรถและมีคนในรถ ต้องเปิดแอร์ แต่ต้องใช้คู่กับเบรกมือ หรือใช้ตอนจอดรถเผื่อไว้ให้คนเข็น หรือติดเครื่องยนต์ ยกล้อหลังขึ้นเพื่อลากรถ ในรถมีคน ต้องเปิดแอร์ อะไรทำนองนี้แหละครับ
ที่จริง เบรกด้วยห้ามล้อเท้าก็พอถมไปแล้ว
แต่คนที่เขียนเรื่องนี้ในคู่มือ คงเป็นคนไทย ที่อยากให้ใช้การช่วยห้ามล้อของเครื่องยนต์อีก เท่านั้นเองแหละครับ
อย่านึกว่า ไม่มี หรือเป็นไปไม่ได้นะครับ เรื่องแค่น้ำมันเครื่องที่ควรเปลี่ยน 10,000 กิโลเมตร เขายังดำน้ำ ให้เปลี่ยน 5,000 อยู่ตั้งนานแสนนาน หลายปีเลยทีเดียว จนผมพูดออกอากาศ เขียนลงในคอลัมน์ ถึงได้สติ หันไปตรวจสอบกับต้นฉบับจริงจากญี่ปุ่น แล้วแก้ไขออกมาภายหลัง
2-“3.1 ยกเท้าออกจากคันเร่ง แล้วผลักเกียร์ไป 3/2/L แล้วเหยียบคันเร่งต่อ” ก็เป็นสิ่งที่ดี หากทำได้ และอยากทำ แต่ไม่ถึงกับจำเป็น เพราะปกติ คุณก็จะไม่เปลี่ยนเกียร์เล่นอยู่แล้วไม่ใช่หรือ
ที่ควรทำ ก็เพราะไม่ให้เกิดการเสียดสีของแผ่นคลัทช์กับแผ่นโลหะรุนแรงนัก จนคลัทช์สึกได้เร็วขึ้นครับ
แต่ผมก็ไม่ค่อยสนใจนะ เพราะปกติ ก็ไม่เปลี่ยนเกียร์อยู่แล้ว
3-ภูชี้ฟ้า ชันอย่างไร ผมจำไม่ได้ครับ แต่ผมก็ใช้เกียร์ D ตลอดทางวิ่งไปแม่ฮ่องสอน และไปอุ้มผาง คือหากคุณใช้รถเกียร์อัตโนมัติ อย่างเกียร์อัตโนมัติ ก็ปล่อยให้มันทำงานไปอย่างอัตโนมัติก็พอแล้วละครับ
จะมีกรณีใด ที่ต้องจอดให้สนิท แล้วเข้าเกียร์ L เพื่อออกตัวใหม่หรือครับ
ผมเห็นแต่หากไปไม่ไหว ก็ดึงเกียร์ลงมาถึงตัว L แล้วลากเกียร์ขึ้นไป ซึ่งก็ต้องระวังน้ำร้อนจัดเหมือนกันเท่านั้นเอง
4-คู่มือจะเขียนอย่างไรก็ช่างเถิด สำหรับเรื่องอย่างนี้
แต่คุณควรเข้าใจด้วยว่า การเปลี่ยนเกียร์เพื่อเร่งแซงนั้น เป็นการเปลี่ยนอัตราทดเหมือนกับเกียร์ธรรมดา ที่เปลี่ยนจาก 5 ไปเป็น 4 เพื่อเร่งแซง เมื่อเปลี่ยนเกียร์แล้ว ก็กดคันเร่งลงไปลึกลึกไปเลย
ส่วนการเปลี่ยนเพื่อช่วยห้ามล้อนั้น เขาทำให้ลักษณะตรงกันข้าม คือเปลี่ยนจาก 5 ไปเป็น 4 แต่ไม่ได้เหยียบคันเร่ง เพื่อแซงใครออกไปข้างหน้า
จริงไหมครับ-ธเนศร์

Facebook Comments