ความเคลื่อนไหวดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งในการเชิญชวนค่ายผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ที่ต้องการส่งเสริมการจำหน่ายรถไฟฟ้าของตนเอง และมีค่ายใหญ่ๆ ที่ให้การสนับสนุน ฟอร์มูลา อี รวมทั้งส่งรถยนต์ของตนเอง เข้าร่วมการแข่งขัน เพราะกีฬามอเตอร์สปอร์ต สามารถชักชวนผู้บริโภคให้เข้าชมได้จำนวนมาก โดยเฉพาะเป็นการแข่งขันแบบปิดถนนภายในเมือง ไม่ต้องเดินทางไกล เท่ากับเป็นการเชิญชวนผู้บริโภค ให้เลือกใช้รถยนต์ไฟฟ้าไปโดยปริยาย
ส่วนการแข่งขันแรลลี่ครอส ซึ่งใช้รถยนต์ไฟฟ้า ในรูปทรงเดียวกับรถยนต์ที่จำหน่ายแก่ผู้บริโภค เท่ากับเป็นการโปรโมทความจริงที่ว่า เทคโนโลยีที่ใช้ในสนามแข่งขันฟอร์มูลา อี ก็ถ่ายทอดมาสู่รถยนต์ไฟฟ้าในรูปแบบรถยนต์ปกติที่จำหน่ายอยู่ในโชว์รูมเช่นกัน
หัวหน้ากลุ่มมอเตอร์สปอร์ตของ โฟล์คสวาเก้น วูลฟ์แกง เดอไฮเมอร์ Wolfgang Dürheimer กล่าวว่า “มันเป็นความเป็นไปได้ที่เรากำลังมองอยู่ ความคิดเรื่องการแข่งขันแรลลี่ครอส สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า นั้น เยี่ยมทีเดียว เพราะผู้ชมจะได้เห็นรถยนต์คันจริง ที่สามารถซื้อออกมาจากโชว์รูมได้ รวมทั้งใช้เวลาในการแข่งไม่นาน ผู้ชมจะได้เห็นว่า การชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า ใช้วิธีการเดียวกันทั้งแบบรถแข่งล้อเปิด และรถแข่งในรูปทรงของจริง”
ยังไม่มีความชัดเจนในด้านการแข่งขันแรลลี่ครอส ที่จะทำการแข่งขันในห้วงเวลาเดียวกับ ฟอร์มูลา อี หรือจะใช้ถนนลาดยางแอสฟัลป์ ที่ทำเป็นสนามแข่งของรถล้อเปิด หรือจะแยกส่วนเป็นการแข่งแบบออฟโรด แต่กระนั้น ผู้จัดการแข่งขันแรลลี่ครอสระดับโลก ที่มีสำนักงานอยู่ในอเมริกา ก็ได้ทำการทดลองวิ่งระยะทางสั้นๆ และมีส่วนของช่วงทดสอบพิเศษ ในแบบออฟโรด ช่วงสั้นๆ ที่อาจมีเนินสูง ให้ได้เหินบินไปในอากาศอีกด้วย
ด้านการแข่งขันฟอร์มูลา อี ค่ายออดี้ ยืนยันการเข้าร่วมโดยทีมโรงงาน ขณะที่ เดอไฮเมอร์ ยังเล็งว่า น่าจะมีรถในค่ายโฟล์คสวาเก้น ยี่ห้ออื่นๆ มาลงสนามแข่งขันด้วย เพราะเป็นบริษัทในกลุ่ม ที่สามารถร่วมใช้เทคโลโลยีเดียวกันได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งนั่นก็น่าจะเป็นทีมจาก สโกด้า ผู้นำในการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก ที่เพิ่งเปิดตัวรถต้นแบบครอสโอเวอร์ วิชั่น อี Vision E ในงาน เซี่ยงไฮ้มอเตอร์โชว์ ที่ผ่านมา
ขณะที่กลุ่ม พีเอสเอ ที่ใช้ยี่ห้อ ดีเอส ลงสนามแข่งขันฟอร์มูลา อี ในขณะนี้ ก็ให้ความสนใจกับการแข่งขันแรลลี่ครอส ด้วยรถยนต์ไฟฟ้า นี้เช่นกัน
บริษัท โตโยต้า …
“ไพรม์มัส กรุ๊ป…
บริษัท มิตซูบิช…