Brand: MITSUBISHI Model: Lancer
Year: 78 Miles: 100001 – More
From: นเรศ โพธิรัตน์
มิตซูบิชิ : ไฟแอล
เรียนรบกวนคุณอาครับ คือผมอยากทราบว่ามาตรฐานในการอ่านค่าต่างๆตามเบอร์ของ shock Ab นั้น ว่าเขาอ่านหรือดูรหัสกันอย่างไร เช่น ระยะชัก ความหนืด หรืออื่นๆ เขาดูกันที่ตัวโช๊คเลยหรือบริษัทผู้ผลิตเขามีรหัสให้นำไปอ่านค่าอีกทีหนึ่ง แล้วแต่ละบริษัทที่ผลิตออกมานั้นมีมาตรฐานในการอ่านค่าเดียวกันหรือไม่ครับ ผมจะเอาไปเป็นข้อมูลในการซ่อมรถของผมเพื่อเทียบรุ่นครับ และอีกข้อหนึ่งครับคืออยากทราบว่าแหนบของรถเก๋งรุ่นไฟแอลนี้ถ้าจะเปลี่ยนสามารถจะเทียบรุ่นกับรุ่นไหนได้หรือเขามีวิธีวัดขนาดกันอย่างไรครับ ผมกราบขอบพระคุณคุณอาที่ให้ความรู้ครับ ผมได้ความรู้มากๆ และหลายสิ่งจากที่นี่ครับ เพื่อการซ่อมเองและใช้เองตามอัตภาพแต่ถูกต้องเหมาะสมตามหลักวิชาจากผู้ที่รู้จริงและจริงใจตรงไปตรงมาตามวิสัยช่างอย่างคุณอาธเนศครับ ด้วยความเคารพครับ
ผมมั่นใจว่า ตัวรหัสของ shock Absorber นั้น มีความหมาย แต่ก็จะต้องขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทผู้ผลิตสินค้า ว่าจะเลือกทำอย่างไร และเอารหัสไว้ตรงไหน บางคนเอาไว้ที่เบอร์อะไหล่ บางรายเอาไว้ที่ชื่อโมเดล ซึ่งแล้วแต่เขาทั้งสิ้น เราไม่รู้ ต่อให้เราทำงานกับบริษัทผู้ผลิตรายหนึ่ง ก็มักจะรู้เฉพาะของบริษัทที่เราทำอยู่เท่านั้น
ความรู้เรื่องนี้ อาจจะเป็นเรื่องดี สำหรับความต้องการบางอย่าง และบางขณะ ดังนั้น จึงไม่มีใครสนใจอยากรู้นัก ผมเองก็ไม่ได้สนใจ
เชื่อว่ามีความหมายซ่อนอยู่ แต่ไม่ใช่ความหมายเดียวกันทุกบริษัทครับ
แหนบก็เช่นกันครับ ลองว่าคุณไม่ได้ทำรถแบบทำช่วงล่างแบบโมดิฟายโดยเฉพาะ ก็คงไม่ทราบเหมือนผมนี่แหละ ผมอาจจะเคยทราบ ของยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่ง แต่เมื่อไม่ได้สนใจในระยะหลัง ก็ลืมไปหมดแล้ว อีกทั้งแต่ละยี่ห้อ ก็ไม่ได้ใช้รหัสเดียวกัน
ยิ่งเป็นของแลนเซอร์ ไฟแอล ที่ผมเคยสนุกกับการแข่งขันแรลลี่มายุคนั้น เมื่อถึงยุคนี้ ผมก็ลืมหมดแล้วครับ ว่าจะเปลี่ยนเป็นของอะไร
การวัดแหนบนั้น คุณจะวัดเอาอะไร เช่นวัดขนาด ก็วัดได้ภายนอกอยู่แล้ว เทียบกันก็ต้องเทียบภายนอกอยู่เหมือนกัน ไม่น่ามีปัญหาอะไร
แต่หากจะวัดว่า ความถี่เท่ากันหรือไม่ ตรงนี้ คุณต้องมีเครื่องมือครับ คือเครื่องมือสำหรับจับแหนบให้ติดอยู่กับที่ข้างหนึ่ง ตรงกลางนั่นแหละ แล้วเครื่องมือกดที่ไวมาก คือกดลงครั้งเดียว แล้วเลื่อนเครื่องมือออกให้ทัน จากนั้นก็นับการกระเด้งของตับแหนบ หรือชิ้นแหนบ ในเวลา 5 หรือ 10 วินาที แล้วเทียบให้ครบ 1 นาที ก็จะได้อัตราความถี่ของแหนบ ที่ไม่ใช่ค่า K ซึ่งค่า K บอกอะไรไม่ได้ครับ ผมไม่ได้ใช้ค่า K ของแหนบหรือสปริงตัวใดเลยแม้แต่น้อย แต่ผมใช้ค่าความถี่ บอกได้ว่า แหนบนั้น จะให้ความกระเด้งกระดอนขนาดไหน
แหนบหรือสปริงที่เด้งตัวถี่ยิบ ประมาณตั้งแต่ 65 หรือ 70 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป เหมาะสำหรับรถบรรทุก แบบกระบะนี่แหละครับ หากต่ำกว่านั้น ก็จะเป็นแหนบสำหรับรถยนต์นั่ง ที่ให้ความนุ่มนวลสูงกว่า และแพงกว่ามาก
ผมทำแค่นี้เอง-ธเนศร์
“ไพรม์มัส กรุ๊ป…