10 อันดับความเชื่อไทยที่เป็นอันตรายต่อการขับรถ

ประเทศไทยติดอันดับ 4 ของโลกสำหรับสถิติคนเสียชีวิตบนท้องถนน ทั้งการออกแบบถนนและคนขับมีผลต่อความสูญเสียดังกล่าวทั้งสิ้น ในวันนี้เรามาจัดอันดับความเชื่อของเราที่เป็นอันตรายต่อสถิติที่สูงติดเป็นแถวหน้าของโลก

Country Road fatalities
per 100 000
inhabitants
per year
Road fatalities
per 100 000
motor vehicles
Road fatalities
per 1 billion
vehicle-km
Total fatalities
latest year
(adjusted/estimated
figures by WHO report)
Year, data source
(standard report:
The WHO report
from 2013,[1]
data from 2010
)
Eritrea 48.4[9] 4400.0* n/a 2009
Dominican Republic 41.7 151.5 n/a 4143 2010
Libya 40.5[9] 139.2* n/a 2009
Thailand 38.1 92.4 n/a 26 312 2010
Venezuela 37.2 266.4 n/a 10 791 2010
Iran 34.1 96.7 n/a 19 969 2010/2013[16]
Nigeria 33.7 425.2 n/a 53 339 2010
South Africa 31.9 156.4 n/a 14 993 2011[23]
Iraq 31.5 293.8 n/a 9962 2010
Guinea-Bissau 31.2 872.5 n/a 472 2010

10. ถึงเร็วบ่งบอกความสามารถในการขับ “ขับเก่งนะกรุงเทพ-เชียงใหม่ใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมงเอง” ความเร็วในการเดินทางไม่ได้บอกความสามารถใด ๆ ของคนขับเลย หากแต่เป็นการเสี่ยงทำความเร็วเกินกว่ากฎหมายที่กำหนดซึ่งเป็นอันตรายทั้งกับตัวเองและเพื่อนร่วมทาง

9. คร่อมเลนเมื่อเข้าโค้ง นอกจากจะการกระทำที่ผิดกฎหมายแล้วยังเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากรถที่สวนมา การขับให้ช้าลงไปตามถนนที่กำหนด เป็นการลดอุบัติเหตุและประหยัดน้ำมันโดยการควบคุมความเร็วโดยไม่ต้องเบรกตัวโก่งและเร่งเครื่องโดยไม่จำเป็น

8. เดินทางกลางคืน ขับสบายและปลอดภัยกว่ากลางวัน การร่วมทางกับบรรทุกและรถใหญ่ ในช่วงเวลาที่คุณควรหลับเป็นสองสิ่งที่ไม่ทำให้เกิดความปลอดภัยแน่นอน อีกทั้งเสี่ยงกับสิ่งที่มองไม่เห็นอีกหลายอย่างเช่นจักรยานที่ไม่มีไฟ รถที่ไฟหน้าเสียข้างเดียว คนข้ามถนนในจุดที่มืด และอีกนานาประการ ดังนั้นหากเลือกได้ควรเดินทางในเวลากลางวันเพราะทั้งผู้ร่วมทางและผู้ขับสามารถชื่มชมในเส้นทางพร้อม ๆ กัน ไม่ต้องฝืนง่วงขับอยู่ในเดียว และเมื่อถึงที่หมายก็นอนอยู่คนเดียว

7. เปิดไฟหน้าวิ่งตอนมืดเท่านั้น หลายคนกลัวจะเปลืองไฟ ถนอมรักษาหลอดไฟและเข้าใจว่าไฟหน้านั้นเปิดเมื่อตอนค่ำเท่านั้น แท้จริงแล้ว ไฟหน้าหลายประเทศเป็นกฎหมายว่าต้องเปิดแม้แต่ตอนกลางวันเพราะช่วงลดอุบัติเหตุ การเปิดไฟหน้าไม่ได้มีไว้ให้คนขับเห็นอย่างเดียว แต่เพื่อให้คนอื่นเห็นรถคุณเช่นกัน

6. เปิดไฟฉุกเฉินเมื่อข้ามแยก อย่างที่ชื่อบอกไว้ว่าไฟฉุกเฉิน ไฟฉุกเฉินควรใช้เมื่อยามรถหยุดหรือจำเป็นจริง ๆ เท่านั้น การเปิดไฟฉุกเฉินข้ามแยก รถทางด้านข้างจะไม่มีทางรู้ได้เลยว่ารถคุณจะตรงหรือเลี้ยงสร้างความสับสนและอุบัติภัยในข้ามแยกอย่างมาก

5. อุ้มเด็กไว้กับตัวปลอดภัยกว่าให้นั่งเอง เมื่อเกิดแรงจากการปะทะเด็กจะหลุดจากมือและพุ่งออกจากตัวรถเนื่องจากไม่มีเข็มขัดรัดไว้ไม่ว่าจะอุ้มไว้แน่นเพียงใด

4. ยกหิ้งพระมาตั้งหน้ารถ นอกจากจะบดบังทัศนะในการขับขี่และยังเป็นอัตรายอย่างมากหาเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากอาจทำให้ถุงลมนิรภัยไม่ทำงาน รวมทั้งอาจหลุดออกมาปะทะกับคนในรถอีกด้วย กระจกหน้ารถควรเป็นจุดที่ไร้การบดบังใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นพระหรือตุ๊กตาห้อยหน้ารถก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรนำมาแขวนให้เกะกะสายตา

3. ไม่คาดเข็มขัดรอดเพราะหลุดออกจากรถ รถยนต์ไม่ใช่เครื่องบินรบจะได้ดีดตัวออก ร่มกาง ปลอดภัยเมื่อถูกข้าศึกยิง รถยนต์ถูกออกแบบให้ปกป้องชีวิตของผู้โดยสารภายในควบคู่กับเข็มขัดนิรภัย เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ไม่มีใครทราบสภาพแวดล้อมภายนอกได้เลยว่าจะหลุดออกไปเจอกับรถที่สวนมา กระเด็นหลุดลงจากทางด่วน หรือตกลงไปให้น้ำ การยึดยิดกับตัวรถที่ถูกออกแบบให้ปกป้องร่างกายคุณจึงเป็นที่ปลอดภัยที่สุด

2. ยกมือไหว้ศาลพระภูมิขณะรถวิ่ง การละจากพวงมาลัยหรือสายตาเพื่อยกมือไหว้ขึ้นมาเป็นอันตรายอย่างมากให้การขับรถ อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุกเสี้ยววินาที การละสายได้จากถนนไปมองศาลพระภูมิหรือทำสิ่งใด ผลที่ตามมาอาจไม่ใช่ชีวิตของคุณแค่คนเดียว

1. ดื่มแค่นิดหน่อยขับได้ อุบติเหตุต่าง ๆ เกิดการที่ไม่ผู้ขับขี่ไม่สามารถขวบคุมรถได้ ซึ่งแอลกอฮอล์เป็นเหตุผลหลัก ไม่ว่าดื่มมากหรือน้อย รู้สึกเมาหรือไม่ จากสภาพถนนและผู้ใช้ถนนในประเทศที่ทำให้สถิติอุบติภัยทางถนนของประเทศสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลกอย่างที่เห็นแล้ว จะเห็นว่าไม่มีอะไรที่คนขับสามารถไว้ใจได้เลย การเพิ่มแอลกอฮอล์เข้าไป ยิ่งทำให้ตัวเองและคนร่วมทางตกเป็นหนึ่งในสถิตินั้น ๆ ง่ายดายเข้าไปอีก

 

เห็นแบบนี้กันแล้ว เราต้องตั้งคำถามกับความเชื่อของเราว่ามีผลต่อความปลอดภัยหรือไม่ แน่นอนว่าเราต้องความเชื่อมั่น แต่ความเชื่อมันที่ดีและได้ผลที่สุดคือความมีสติและมั่นใจว่ารถอยู่ในความควบคุมของตนทุกเสี้ยววินาที

 

 

Facebook Comments
CarOnline Team

Recent Posts