สนามแห่งนี้เป็นสนามปิด ซึ่งสถาบันวิจัยโตโยต้า จะใช้ในการทดสอบด้านความปลอดภัยของยานยนต์ไร้คนขับ ในสถานการณ์ต่างๆ ที่อันตรายเกินกว่าจะใช้สถานที่สาธารณะเป็นสถานที่ทดสอบ
“การก่อสร้างสนามของเราเอง เราจะสามารถออกแบบเหตุการณ์เฉพาะเจาะจงในกรณีต่างๆ ในการทดสอบ และสามารถทราบผลได้ด้วยความรวดเร็ว เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนายานยนต์ของเรา” ไรอัน อุสติค Ryan Eustice รองประธานอาวุโสของสนาม กล่าว “สนามแห่งนี้จะช่วยให้สามารถปรับเปลี่ยนสถานการณ์ ที่จะดึงเอาความสามารถของเทคโนโลยีออกมาใช้ให้มากที่สุด ที่จะช่วยให้สามารถออกแบบยานยนต์ที่มีความสามารถในการปกป้องเพื่อป้องกันอุบัติเหตุอย่างเต็มที่”
สนามทดสอบความยาว 2.8 กม. แห่งนี้ จะรวมเอาสภาพถนนในต่างจังหวัด ที่ขรุขระในรูปแบบต่างๆ สภาพยางมะตอยหลุดร่อน หรือมีแต่ก้อนกรวด จนไม่เหลือสภาพถนนเลย รวมทั้งถนน 4 เลนที่สามารถใช้ความเร็ว และทางเข้า-ออกที่ปลอดภัย
โตโยต้า เช่าที่ดินจาก มิชิแกน เทคนิคเคิล และออกแบบสนาม ก่อสร้างรวมทั้งบำรุงรักษาสถานที่แห่งนี้ รวมทั้งโตโยต้า จะสามารถใช้สนามที่มิชิแกน เทคนิคเคิล มีอยู่ในบริเวณเดียวกัน และให้บริการแก่บุคคลทั่วไปอีกด้วย
มิชิแกน เทคนิคเคิล แห่งนี้ ก่อตั้งโดยผู้ผลิตชิ้นส่วน เทียร์ 1 Tier 1 หลายเจ้า นับแต่ปี 2553 และบรรดาค่ายผู้ผลิตรถยนต์หลายแห่ง ก็ใช้สถานที่แห่งนี้เพื่อการทดสอบและพัฒนายานยนต์ของตนเองหลายค่าย ซึ่งรวมทั้งโตโยต้า เช่นกัน