นอกเหนือจากการซื้อคืนและซ่อมแซมแล้ว ข้อตกลงระหว่างสำนักกฎหมายของอเมริกา และค่ายโฟล์คสวาเก้น โดยค่ายโฟล์ค จะต้องใช้เงินราว 225 ล้านเหรียญ ราว 6,750 ล้านบาท เพื่อขจัดสารไนตรัสออกไซด์ ที่อยู่ในอากาศ อันเกิดจากบรรดาไอเสียของรถยนต์โฟล์คสวาเก้น
และยังมีการจ่ายเงินสนับสนุนคณะกรรมการด้านสภาพอากาศของแคลิฟอร์เนีย เป็นเงิน 25 ล้านเหรียญ ราว 750 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน รวมทั้งยืนยันว่า ค่ายโฟล์คสวาเก้น จะส่งรถยนต์ไฟฟ้า 3 รุ่น ออกจำหน่ายในแคลิฟอร์เนีย ให้ได้อย่างน้อย 5,000 คัน/ปี
แต่ในความเป็นจริง เจ้าของรถยนต์ โฟล์คสวาเก้น ทัวเรก, ปอร์เช่ คาเยนน์, ออดี้ เอ6, ออดี้ เอ7, ออดี้ เอ8, ออดี้ คัว5 และ ออดี้ คิว7 ที่คาดหวังว่าจะได้รับการซื้อคืนหรือการซ่อมแซมเครื่องยนต์ ยังไม่มีการตกลงในทันทีทันใด ว่าจะสามารถเริ่มต้นโครงการนี้ได้เมื่อใด
ส่วนรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซล 2.0 ลิตร โฟล์ค ใช้เงิน 10 พันล้านเหรียญ ในการซื้อรถคืน รวมทั้งการตีราคารถเก่าเพื่อซื้อคืน รวมทั้งใช้จ่ายเงินระหว่าง 5,100 เหรียญ จนถึงราว 10,000 เหรียญ ในแต่ละกรณี นอกเหนือจากการซ่อมแซมปรับปรุงเครื่องยนต์ให้แล้ว
แต่สำหรับรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซล 3.0 ลิตร มีความแตกต่างออกไป โดยโฟล์ค ยืนยันว่าสามารถปรับแต่งกล่องข้อมูลของรถได้ราว 60,000-80,000 คัน และผู้ใช้รถยนต์รุ่นดังกล่าวจะได้รับสิทธิในการซื้อรถคืนหรือไม่ หรือเพียงแค่ทำการซ่อมแซมเครื่องยนต์ และมอบเงินช่วยเหลือเหมือนผู้ใช้เครื่องยนต์ดีเซล 2.0 ลิตร หรือไม่ ยังไม่เป็นที่ยืนยัน
นายณัทธร ศรีนิเ…