จากปัญหาการจราจรที่ติดขัดกันไปทั่ว ไม่เว้นแม้แต่ประเทศใหญ่ๆ อย่างสหรัฐอเมริกา รัฐบาลสหรัฐ เลยตั้งเงินรางวัลเพื่อการพัฒนา หรือโครงการที่จะจัดระบบการขนส่งในเมืองใญ่ สำหรับโลกในยุคศตวรรษที่ 21 เป็นเงิน 20 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 1,200 ล้านบาท จากกระทรวงการขนส่งสหรัฐ มั่งเนนพัฒนาและปรับปรุงการจราจรด้วยยานยนต์ไร้คนขับ โดยมีมลรัฐที่เสนอตัวเข้าร่วมโครงการนี้ 7 เมือง ที่จะต้องทำงานร่วมกับค่ายเทคโนโลยีชื่อดังระดับโลก ในการคิดค้นวิธีแก้ปัญหานี้
กระทะรวงการขนส่งสหรัฐเปิดเผยชื่อเมืองที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ สมาร์ท ซิตี้ ขาเลนจ์ Smart City Challenge ดังนี้ เมืองออสติน มลรัฐเท็กซัส, เมืองโคลัมบัส มลรัฐโอไฮโอ, เมืองเดนเวอร์ มลรัฐโคโลราโด, เมืองแคนซัส ซิตี้ มลรัฐมิสซูรี่, เมืองพิทส์เบิร์ก มลรัฐเพนซิลวาเนีย, เมืองพอร์ทแลนด์ มลรัฐโอเรกอน และเมือง ซาน ฟรานซิสโก มลรัฐแคลิฟอร์เนีย
เมืองที่ 7 แห่งนี้ จะได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายขั้นต้น เมืองละ 100,000 เหรียญ และจะลงมือทำงานร่วมกับกระทรวงการขนส่งสหรัฐ รวมทั้งค่ายเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่จะตีบทจากโจทย์ที่ตั้งไว้ให้แตก และหากกระทรวงพิจารณาเปรียบเทียบแล้ว ว่าโครงการมีความเป็นไปได้มากที่สุด ก็จะได้รับเงินสนับสนุน 40 ล้านเหรียญ เพื่อลงมือปฏิบัติจริงตามโครงการ โดยจะประกาศชื่อเมืองที่ชนะเลิศภายในเดือนมิถุนายน ปีนี้
โครงการ สมาร์ท ซิตี้ ชาเลนจ์ นี้ เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองรายงานด้านการจราจรของกระทรวงการขนส่ง นับแต่ปี 2558 ที่ส่งคำเตือนระบุว่า เมืองที่ไม่มีการเตรียมการรับมือกับ การขยายตัวของเมืองใหญ่อย่างรวดเร็ว, ความหนาแน่นของประชากรในแต่ละพื้นที่, อายุเฉลี่ยของพลเมืองที่มากขึ้น จะประสบปัญหาด้านการจราจรอย่างมาก และอาจเป็นไปได้ว่า รัฐบาลจะต้องเสียเงินงบประมาณรับพันล้านเหรียญ เพื่อก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่จำเป็นสำหรับการใช้งาน โดยที่ไม่มีการพิจารณารายละเอียดอย่างถี่ถ้วน
เมื่อเดือนมกราคม มีรายงานข่าวระบุว่า กระทรวงได้เตรียมงบประมาณปี 2559 เอาไว้ 4 พันล้านเหรียญ สำหรับประธานาธิบดี บารัค โอบาม่า เพื่อใช้ในการสนับสนุนการพัฒนายานยนต์ไร้คนขับ
เป็นเวลานานมาแล้ว ที่เมืองเหล่านี้ได้แต่เฝ้ามองปัญหาการจราจรที่เกิดขึ้น เวลาที่มากขึ้นในการเดินทางของประชาชน โดยรู้สึกว่า ตนเองไม่มีมาตรการแก้ไขใดๆ กระทรวงการขนส่ง เลยมองหาวิธีการที่จะช่วยเหลือในการแก้ปัญหาการจราจรติดขัดของเมืองต่างๆ เพื่อเป็นต้นแบบให้เมืองอื่นๆ ที่ประสบปัญหา ได้ใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขการจราจรภายในเมืองของตนเอง
เมืองที่ชนะเลิศการคิดค้นโครงการแก้ปัญหาการจราจร นอกจากจะได้เงินรางวัล 40 ล้านเหรียญ เพื่อการก่อสร้างหรือแก้ปัญหาตามโครงการที่เสนอแล้ว ยังจะได้รับความช่วยเหลือจากพันธมิตรอีกหลายเจ้า อาทิ ข้อมูลจาก อะเมซอน เว็บ เซอร์วิส Amazon Web Services, เทคโนโลยีช่วยเหลือการขับขี่ จาก โมบิลอาย Mobileye, พื้นฐานการออกแบบ 3D จาก ออโต้เดสก์ Autodesk, ระบบการเชื่อมต่อ V2V จาก เอ็นเอ็กซ์พี NXP และยังจะได้รับโบนัสอีก 10 ล้านเหรียญ จากผู้ร่วมก่อตั้งไมโครซอฟท์ ซึ่งมุ่งเน้นการลดค่าไอเสียจากยานยนต์ และช่วยให้สภาพอากาศของเมืองดีขึ้น อันจะเป็นการช่วยรักษาภาวะโลกร้อนได้ส่วนหนึ่ง
“ไพรม์มัส กรุ๊ป…