แต่การก่อสร้างเพื่อติดตั้งสายไฟด้านบนของรางรถไฟ ในบางตำแหน่ง บางสถานที่ก็มีปัญหาอุปสรรค ขณะเดียวกัน ผู้ผลิตรถไฟ ก็พยายามหาเชื้อเพลิงมาใช้ทดแทนรถไฟที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง เพราะมีปัญหาเรื่องเป็นตัวสร้างมลภาวะในอากาศเช่นกัน
ผู้ผลิตรถไฟสัญชาติฝรั่งเศส อัลสตอม Alstom ที่การรถไฟของเราก็ใช้หัวรถจักรที่ใช้เชื้อเพลิงน้ำมันดีเซลอยู่เช่นกัน ก็นำเสนอเทคโนโลยีใหม่ ที่ปราศจากมลภาวะ ด้วยการใช้ไฮดรอเจน เป็นเชื้อเพลิง เป็นครั้งแรก โดยออกแสดงในงาน อินโนทรานส์ เรลโร้ด อินดัสตรี้ InnoTrans railroad-industry ที่กรุงเบอร์ลิน เมื่อเดือนที่แล้ว ในชื่อ โคราเดีย Coradia iLint ที่มีพื้นฐานจากรถไฟพลังงานเชื้อเพลิงดีเซลเช่นกัน
รถไฟพลังไฮดรอเจนนี้ มีหลักการเช่นเดียวกับที่ใช้ในรถยนต์ โดยใช้ฟูอัลเซลส์ เชื้อเพลิงไฮดรอเจน แปลงเป็นพลังงานไฟฟ้า เพื่อเอากำลังไฟฟ้าไปขับมอเตอร์อีกทีหนึ่ง ส่วนพลังงานไฟฟ้าที่เหลือจะนำไปประจุในแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน โดยถังบรรจุไฮดรอเจน จะติดตั้งอยู่บนหลังคารถ มีความจุที่สามารถเดินทางได้ไกล 800 กม. ด้วยความเร็วสูงสุด 140 กม./ชม.
อัลสตอม มีแผนที่จะเตรียมสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน สำหรับลูกค้าที่ต้องการซื้อรถไฟพลังไฮดรอเจน ไปใช้ ตั้งแต่การติดตั้งสถานีเติมไฮดรอเจน การซ่อมบำรุง
สำหรับประเทศเยอรมัน พลังงานไฮดรอเจน เป็นของเสียที่เกิดจากอุตสาหกรรมเคมีภายในประเทศ และต้องเผาผลาญทิ้งเหมือนกับที่เห็นตามปล่องโรงกลั่นน้ำมันท่ัวไป
รถไฟพลังไฮดรอเจน นี้ จะนำไปใช้ในการเดินรถระหว่าง Buxtehude-Cuxhaven ระยะทางราว 100 กม. ซึ่งอยู่ห่างจากการให้บริการจ่ายกระแสไฟฟ้าสำหรับรถไฟ และการติดตั้งสายไฟฟ้าบนราง ตลอดระยะทาง สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูงมาก ปัจจุบัน ต้องใช้รถไฟเครื่องยนต์ดีเซลวิ่งอยู่
เมื่อปี 2557 มลรัฐ 3 แห่ง ในเยอรมันนี ได้แสดงความจำนงในการใช้รถไฟพลังงานไฮดรอเจนนี้ ซึ่งจะทำให้รถไฟพลังงานไฮดรอเจนนี้ แพร่หลายในไม่ช้า
บริษัท โตโยต้า …
“ไพรม์มัส กรุ๊ป…