แม้แต่ในรถรุ่นใหม่ที่เพิ่งเปิดตัว อีคลิปส์ ครอส Eclipse Cross ก็ยังใช้ระบบนี้อยู่ โดย มิตซูบิชิ กล่าวว่า กำลังค้นคว้าหาแหล่งเชื้อเพลิงที่จะสามารถพัฒนาด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงต่อไป
ค่ายมิตซูบิชิ นับเป็นผู้นำในเทคโนโลยีระบบขับเคลื่อน พีเฮชอีวี ที่ได้รับความนิยมจากผู้ที่ใส่ใจในสิ่งแวดล้อม ในขณะที่รถยนต์ไฟฟ้า ต่างพากันหาวิธีเดินทางให้ได้ระยะทางมากที่สุดต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง ในระบบของ พีเฮชอีวี นั้น เอาท์แลนเดอร์ ติดตั้งมอเตอร์บนเพลาขับหน้าและหลัง ใช้กำลังจากแบตเตอรี่ที่วางไว้ใต้พื้นรถ และระบบขับเคลื่อนสี่ล้อตลอดเวลา ในชื่อ ซูเปอร์ ออลวีล คอนโทรล Super All-Wheel Control (S-AWC)
มิตซูบิชิ ติดตั้งเครื่องยนต์เบนซินไว้ด้านหน้า เพื่อช่วยในการชาร์จแบตเตอรี่ และสามารถส่งพลังไปยังล้อหน้าเมื่อต้องการแรงบิดในการใช้ความเร็ว โดยแบตเตอรี่สามารถชาร์จด้วยแหล่งพลังจากนอกรถ พร้อมทั้งระบบแปลงแรงจลน์จากการเบรกเป็นกำลังไฟฟ้าหลายรูปแบบ
ระยะทางวิ่งด้วยแบตเตอรี่ ราว 50 กม. ความเร็วสูงสุด 120 กม./ชม. แต่ด้วยการทำงานเครื่องยนต์ช่วยชาร์จแบตเตอรี่ ทำให้สามารถเดินทางได้ระยะทาง 500 กม. ก่อนการเติมเชื้อเพลิงหนึ่งครั้ง
มิตซูบิชิ จำหน่ายรุ่น เอาท์แลนเดอร์ พีเฮชอีวี ไปมากกว่า 100,000 คัน นับแต่ปี 2556 มีส่วนแบ่งตลาดสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าในตลาดยุโรป 30% และเป็นรถยอดนิยมในนอร์เวย์, อังกฤษ และอีกหลายประเทศ
แดเนียล นาคัส Daniel Nacass ผู้จัดการมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ยุโรป คุยว่า รถยนต์ระบบ พีเฮชอีวี รุ่นต่อไป จะมาแทนที่ เอาท์แลนเดอร์ “อีคลิปส์ ครอส ออกแบบมาเพื่อใช้งานระบบ พีเฮชอีวี แต่เราก็ตัดสินใจที่จะหยุดการพัฒนาต่อไป เพราะโครงสร้างทางธุรกิจและระดับราคา ที่ไม่สมเหตุสมผล ไม่สามารถทำกำไรจากการลงทุนได้”
“แต่เราก็ยังพัฒนาระบบ พีเฮชอีวี อีกต่อไป โดยระบบในรุ่นใหม่จะมาพร้อมมอเตอร์ รุ่นล่าสุด แบตเตอรี่ และส่วนประกอบใหม่ อีกมาก”
ในรถต้นแบบ มิตซูบิชิ แกรนด์ทัวเรอร์ จีที-พีเฮชอีวี GT-PHEV ที่ออกแสดงเมื่อปี 2559 ใช้ชุดแบตเตอรี่ขนาด 25 กิโลวัตต์ เครื่องยนต์เบนซิน 2.4 ลิตร มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 90 กิโลวัตต์ ที่เพลาหน้า และอีก 2 ตัว ขนาด 45 กิโลวัตต์ ที่ล้อคู่หลัง คุยไว้ว่าเดินทางได้ระยะทาง 120 กม. และถ้ารวมการช่วยเหลือจากเครื่องยนต์ สามารถทำได้มากกว่า 1,200 กม.
นาคัส ยังบอกอีกด้วยว่า เหตุผลสำคัญที่กลุ่ม เรโนลต์-นิสสัน ต้องการค่ายมิตซูบิชิ เข้าร่วมอยู่ในเครือ ด้วยเงินลงทุนถึง 2 พันล้านยูโร ก็เพราะต้องการเทคโนโลยี พีเฮชอีวี ที่จะเสริมให้กลุ่มสามารถเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าได้อย่างแท้จริง เหมือนกับที่ นิสสัน โด่งดังในรถขนาดเล็ก ลีฟ และรถแวน เอ็นวี200 อยู่แล้ว
การหาพันธมิตรเพื่อแลกเปลี่ยนทางเทคโนโลยี เป็นวิธีที่จะทำให้การพัฒนาเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว โดยสามารถแยกแยะต้นทุนไปเป็นส่วนต่างๆ ได้ง่าย การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี พีเฮชอีวี จะทำให้สามารถแลกเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานของรถ มิตซูบิชิ ปาเจโร รุ่นต่อไป กับ นิสสัน เพโทรล เป็นไปอย่างสะดวกยิ่งขึ้น
อีซูซุส่งเครื่อ…