มาสด้าปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจสู่การเติบโตแบบยั่งยืนยกระดับคุณค่าแบรนด์ ดูแลลูกค้าแบบพรีเมี่ยม

  • บุกธุรกิจรถมือสอง Mazda CPO ยกระดับคุณภาพ เพิ่มมูลค่ารถมือสอง ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ และการันตีจากมาสด้า
  • ขยายศูนย์ซ่อมตัวถังและสีให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ตั้งเป้าเพิ่มขึ้น 58 แห่ง
  • ขยายบริการตรวจเช็กระยะแบบเร่งด่วน Fast Track ใช้เวลาเพียง 60 นาที ตั้งเป้าเพิ่มขึ้น 34 แห่ง
  • สร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าในทุก Touchpoints
  • มุ่งมั่นสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน Sustainable Zoom-Zoom ภายในปี 2573
  • กลยุทธ์ Building Block Strategy เพื่อบรรลุเป้าหมายในการลด CO2 แบบ Well-to-Wheel ด้วยแนวทาง Multi-Solution นำเสนอรูปแบบพลังงานที่ถูกต้องในสถานการณ์ที่เหมาะสมในแต่ละตลาด
  • เดินหน้าตามแผนระยะกลาง Middle – Term Technology and Policy เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางด้านคาร์บอนไดออกไซด์ ในปี 2593

  5 เมษายน 2565 – มาสด้าจัดงาน “2022 Mazda Business Review & Way Forward”ภายใต้ธีม “ท้าทายความสำเร็จอีกขั้น…สู่อนาคตที่เป็นไปได้” หรือ “Challenge to the New Possibilities” พร้อมเปิดเผยถึงผลสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ ประจำปีงบประมาณ 2564 โดยเฉพาะตัวเลขยอดขายทะลุ 35,654 คัน ครองส่วนแบ่งการตลาด 4.5% โดยเฉพาะรถยนต์นั่งมาสด้า2 ยังคงครองใจลูกค้ามากที่สุด ด้วยยอดขายเกือบ 20,000 คัน ครอสโอเวอร์เอสยูวีมาสด้า CX-30 และมาสด้า CX-3 รวมกันกว่า 12,000 คัน เดินหน้าแตกไลน์ธุรกิจใหม่กับมาสด้า CPO ยกระดับมูลค่าราคารถมือสอง ปรับกลยุทธ์การบริหารธุรกิจสู่ความยั่งยืน ด้วย Retention Business Model เน้นสร้างคุณค่าของแบรนด์จากการบริการ ยกระดับการดูแลลูกค้าระดับพรีเมี่ยมด้วยโปรแกรม Privilege ตั้งเป้าปีนี้ยอดขายทะลุ 40,000 คัน เติบโตเพิ่มขึ้น 15% 

นายธีร์ เพิ่มพงศ์พันธ์ รองประธานบริหารอาวุโส บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า จากการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ผู้บริโภคยังคงระมัดระวังด้านการใช้จ่ายเนื่องจากไม่แน่ใจต่อสถานการณ์ และยังส่งผลกระทบถึงโรงงานผลิตชิ้นส่วนหลายแห่งต้องหยุดการผลิต ทำให้เกิดการขาดแคลนชิ้นส่วนการผลิตและกระทบต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ทั้งระบบ อย่างไรก็ดี ยังมีสัญญาณบวกจากการที่ประชาชนได้รับวัคซีนเพิ่มขึ้น การผ่อนคลายมาตรการต่างๆ จากภาครัฐ ทำให้ภาพรวมอุตสาหกรรมรถยนต์ไทยปีงบประมาณ 2564 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปี 2563 ที่ 1% ประมาณ 795,000 โดยตลาดรถปิกอัพได้รับความนิยมสูงสุด มีจำนวนรวม 357,000 คัน ตามมาด้วยรถยนต์นั่ง จำนวน 214,000 คัน รถอเนกประสงค์เอสยูวี (รวม PPV) จำนวน 143,000 คัน อื่นๆ จำนวน 81,000 คัน ซึ่งในจำนวนนี้มีรถยนต์พลังงานไฟฟ้า จำนวน 2,097 คัน 

สำหรับปีงบประมาณ 2564 (ระหว่างเดือนเมษายน 2564 – มีนาคม 2565) มาสด้าทำยอดขายได้ 35,654 คัน ลดลงเล็กน้อย 11% เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2563 ครองส่วนแบ่งการตลาด 4.5% แบ่งเป็นรถยนต์นั่งจำนวน 20,115 คัน โดยเฉพาะมาสด้า2 ยังร้อนแรงต่อเนื่องด้วยยอดขายเกินกว่าครึ่ง มีจำนวนสูงถึง 18,426 คัน ตามมาด้วยมาสด้า3 จำนวน 1,685 คัน และมาสด้า MX-5 จำนวน 4 คัน ขณะที่รถปิกอัพ มาสด้า BT-50 ยอดขาย 1,224 คัน ส่วนครอสโอเวอร์เอสยูวีตระกูล CX-Series มีจำนวนทั้งสิ้น 14,315 คัน เติบโตเพิ่มขึ้น 2% อันได้แก่ รถครอสโอเวอร์เอสยูวี มาสด้า CX-30 มียอดขายสูงสุดถึง 6,879 มาสด้า CX-3 จำนวน 5,378 คัน มาสด้า CX-8 จำนวน 1,074 และมาสด้า CX-5 จำนวน 984 คัน ตามลำดับ

สรุปยอดจำหน่ายรถยนต์มาสด้าประจำปีงบประมาณ 2564 เทียบกับปีงบประมาณ 2563

ข้อมูลการขายรถเมษายน 2564 – มีนาคม 2565เมษายน 2563 – มีนาคม 2564% เปลี่ยนแปลง
MAZDA218,42620,742– 11.16
MAZDA31,6852,800– 39.82
MAZDA CX-35,3783,096+ 73.70
MAZDA CX-306,8797,582– 9.27
MAZDA CX-59841,386– 29.00
MAZDA CX-81,0741,918– 44.00
MAZDA BT-501,2242,473– 50.50
MAZDA MX-547– 42.85
ยอดรวม35,65440,004– 10.87

ธีร์ เพิ่มพงศ์พันธ์ แสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ในปีงบประมาณ 2565 ว่า “สถานการณ์ในปีนี้ แม้ว่าจะยังมองไม่เห็นปัจจัยบวกที่ชัดเจน อีกทั้งยังมีปัจจัยลบที่อยู่นอกเหนือการควบคุมรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็น ความตึงเครียดในยุโรป ภาวะเงินเฟ้อ ค่าเงินบาทที่มีความผันผวน ความหวาดหวั่นต่อการกลายพันธุ์ของโรคโควิด-19 ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ระบบขนส่งโลจิสติกส์ และการขาดแคลนชิ้นส่วนเพื่อผลิตรถยนต์ แต่เชื่อว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว การที่ประชาชนได้รับวัคซีน เป้าหมายการปรับเป็นโรคประจำถิ่น การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าประเทศ และมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐ ล้วนแล้วจะช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นกลับมาได้เร็วขึ้น ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เติบโตหวือหวามากนัก แต่เชื่อว่าจะดีกว่าปีผ่านมา คาดว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ในปีงบประมาณนี้จะมียอดขายรวมอยู่ที่ประมาณ 820,000 – 850,000 คัน และมาสด้าคาดว่าจะมียอดขายมากกว่า 40,000 คัน หรือเติบโตเพิ่มขึ้น 15%

สำหรับในปีงบประมาณ 2565 นี้ มาสด้าเตรียมบุกตลาดรถมือสอง ด้วยการเปิดตัวธุรกิจใหม่ MAZDA CPO (Certified Pre-Owned) นำเสนอรถยนต์ใช้แล้วคุณภาพดีให้กับลูกค้า เพื่อเป็นช่องทางให้ลูกค้าได้นำรถเก่ามาเทรด-อิน ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดการซื้อซ้ำ หรือซื้อเพิ่มเติม ภายใต้กลยุทธ์ Trade Cycle Management ซึ่งลูกค้าได้ประโยชน์สูงสุดจากการครอบครองรถยนต์มาสด้าที่ผ่านการตรวจสอบอุปกรณ์และชิ้นส่วนกว่า 100 รายการ ผ่านมาตรฐานและการรับรองจากมาสด้า เซลส์ ประเทศไทย ซึ่งโครงการ MAZDA CPO จะเป็นการยกระดับมูลค่ารถมาสด้ามือสองในตลาด รวมถึงเสริมความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์ และสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น ปัจจุบัน เปิดดำเนินการแล้ว 9 แห่ง ปีนี้ตั้งเป้าขยายเพิ่ม 18 แห่ง และจะเพิ่มขึ้นเป็น 38 แห่ง ภายในปี 2568 ครอบคลุมทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด

ธีร์ เพิ่มพงศ์พันธ์ กล่าวถึงกลยุทธ์และแนวทางการดำเนินธุรกิจในปีงบประมาณใหม่นี้ว่า มาสด้าจะเดินหน้าอย่างเต็มรูปแบบตามแผนงานระยะกลาง (Mid-Term Plan) เพื่อยกระดับคุณค่าแบรนด์มาสด้าในประเทศไทย ผ่านโมเดลธุรกิจที่เรียกว่า “Retention Business Model” โดยให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่าแบรนด์ และสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้าในระยะยาว ซึ่งโมเดลธุรกิจใหม่นี้จะเป็นแกนหลักสำคัญที่จะถูกส่งต่อเพื่อกำหนดเป็นกลยุทธ์ในการทำงานในทุกๆ ส่วน โดยแบ่งออกเป็น 5 แกนหลัก ได้แก่

  1. สร้างคุณค่าของแบรนด์ Brand Value Management (BVM) ยกระดับคุณค่าแบรนด์ด้วยการสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าในทุก Touchpoint เพื่อยกระดับความพึงพอใจสูงสุด โดยเริ่มต้นก่อนที่ลูกค้าจะตัดสินใจซื้อ ผ่านขั้นตอนการซื้อ จนถึงการเอาใจใส่ดูแลลูกค้าไปตลอดอายุการใช้งาน
  2. สร้างความผูกพันกับลูกค้า Customer Retention Business ส่งมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าด้วยบริการหลังการขาย และสร้างความผูกพันกับแบรนด์มาสด้า ภายใต้ธุรกิจรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การขยายศูนย์ซ่อมตัวถังและสี เพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการของลูกค้า การขยายไลน์ธุรกิจรถมือสองคุณภาพเหนือระดับMAZDA CPO การขยายศูนย์บริการตรวจเช็กระยะแบบเร่งด่วนภายใน 30 นาที หรือ Mazda Fast Service ให้ครอบคลุมพื้นที่ที่มีการใช้บริการของลูกค้าหนาแน่น และเน้นสร้างความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า ด้วยโครงการ CRM และ Customer Privilege Program มอบสิทธิประโยชน์ให้ลูกค้า ดูแลลูกค้าแบบพรีเมี่ยม เป็นบุคคลพิเศษสุดเกิดเป็นความจงรักภักดีกับแบรนด์ กลับมาใช้บริการซ้ำ และส่งต่อไปยังเจเนอเรชั่นถัดไป
  3. กลยุทธ์ด้านการขยายเครือข่าย Dealer Network Strategy รองรับปริมาณลูกค้าที่เพิ่มขึ้น สร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุด ให้บริการลูกค้าได้ครอบคลุมในทุกพื้นที่ มาสด้ามีแผนงาน ดังนี้
  4. ขยายโชว์รูมและศูนย์บริการให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ปัจจุบันมีอยู่ทั้งหมด 139 แห่ง พร้อมปรับทุกฟังก์ชันให้สามารถรองรับการบริการแบบครบวงจร
  5. ขยายศูนย์ซ่อมตัวถังและสี ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ปัจจุบันมีอยู่ทั้งหมด 54 แห่ง เพิ่มขึ้นเป็น 58 แห่ง
  6. เพิ่มช่องการให้บริการตรวจเช็กตามระยะแบบเร่งด่วน ภายในเวลา 60 นาที หรือ Mazda Fast Track เพิ่มเป็น 34 แห่ง
  7. ขยายศูนย์บริการในเขตที่มีประชากรมาสด้าหนาแน่น Mazda Fast Service หรือ Mazda Satellite Serviceเพื่อให้บริการตรวจเช็กตามระยะแบบเร่งด่วนภายใน 30 นาที ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยตั้งเป้าเพิ่มขึ้นเป็น3 แห่ง 
  1. การตลาดยุคดิจิทัล Use of Digital Platform นำแพลตฟอร์มออนไลน์สื่อสารกับลูกค้าเพื่อเพิ่มโอกาสในการทำการตลาดแบบ Fan-Based Marketing แบบ One-to-One Communication รวมถึงการนำฐานข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผ่านระบบที่เรียกว่า Global One Customer Data Management System
  2. มุ่งมั่นสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน Sustainable Zoom-Zoom ภายในปี 2573
  3. มาสด้าประกาศวิสัยทัศน์เกี่ยวกับแผนพัฒนาเทคโนโลยีระยะยาว Sustainable Zoom-Zoom เมื่อปี 2550 และอัปเดตอีกครั้งในปี 2560 เป็น “Sustainable Zoom-Zoom 2030” โดยแก่นแท้ของวิสัยทัศน์ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง มาสด้าให้คำมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายในเรื่องของการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์ ภายในปี 2593
  4. ภายใต้กลยุทธ์ Building Block Strategy เพื่อบรรลุเป้าหมายในการลด CO2 แบบ Well-to-Wheel ด้วยการใช้แนวทาง Multi-solution ช่วยให้นำเสนอรูปแบบพลังงานที่ถูกต้องในสถานการณ์ที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความเหมาะสมในแต่ละตลาด ตลอดจนสถานการณ์ด้านพลังงานของแต่ละภูมิภาค การผลิตไฟฟ้า และอื่นๆ

ดังนั้นแนวทาง Building Block Strategy ที่จะทำให้มาสด้าบรรลุวัตถุประสงค์ตามวิสัยทัศน์ดังกล่าว คือ การสร้างรากฐานด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้วยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง ตามลำดับเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อให้เกิดการพัฒนารถยนต์ที่ตอบสนองการใช้งานในกรอบเวลาที่เหมาะสม

  • เฟส 1 พัฒนาเทคโนโลยีบนพื้นฐานของรถทั้งคัน ด้วยเทคโนโลยีสกายแอคทีฟ ประกอบด้วย เครื่องยนต์ ระบบส่งกำลัง โครงสร้างตัวถัง และแพลตฟอร์มที่มีประสิทธิภาพสูง โดยนำเสนอผลิตภัณฑ์หลากหลายรุ่น ขั้นตอนในการพัฒนานี้ได้มีการนำเอาเทคโนโลยีพื้นฐานของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเข้ามาใช้ เช่น ระบบ i-Stop และ Regenerative Braking System ที่นำเอาพลังงานจากการหยุดรถกลับมาชาร์จเป็นพลังงานไฟฟ้าและนำพลังงานกลับมาใช้ในระบบไฟฟ้าของรถยนต์
  • จากเฟส 1 จนมาถึง เฟส 2 ได้มีการพัฒนาเครื่องยนต์และระบบส่งกำลังเจเนอเรชั่นใหม่ พร้อมกับการพัฒนาแพลตฟอร์ม Skyactiv Scalable Architecture เป็น Multi-Solution สำหรับกลุ่มรถขนาดเล็กและขนาดกลาง ล่าสุด ได้พัฒนา Large Platform สำหรับกลุ่มรถขนาดใหญ่ที่มีการวางเครื่องยนต์ตามแนวยาว
  • รวมถึงการนำเอาพลังงานไฟฟ้าเข้ามาเสริม อาทิ HEV, ​PHEV, Rotary Range Extender และรถยนต์ไฟฟ้า BEV โดยรุ่นแรก คือ MX-30 ด้วยพื้นฐาน Platform และเครื่องยนต์ที่มีประสิทธิภาพสูง ทำให้รถยนต์ xEVประหยัดพลังงาน และมีสมรรถนะการขับขี่ที่ดีเยี่ยม
  • และในอนาคต เฟส 3 มาสด้ากำลังพัฒนา Skyactiv EV Scalable Architecture หรือ Next Generation บนโครงสร้างพื้นฐาน Skyactiv สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่ปรับขนาดได้ โดยมีเป้าหมายเพื่อนำเสนอโครงสร้างที่ตอบโจทย์รถไฟฟ้าในทุกองค์ประกอบ ในทุกเซกเมนต์ ซึ่งลูกค้ามีความต้องการที่แตกต่างกัน ภายใต้ Building Block Strategy และ Multi-Solution โดยนำเสนอรถยนต์ ICE ประสิทธิภาพสูงและรถพลังงานไฟฟ้า xEV แบบ Multi-Solution ในแต่ละตลาดที่แตกต่างกัน

ธีร์ เพิ่มพงศ์พันธ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า มาสด้ายังคงเดินหน้าเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ที่มาพร้อมเครื่องยนต์สันดาปภายใน ที่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยีและความปลอดภัย ให้การประหยัดน้ำมันที่ดีเยี่ยม เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์ของมาสด้า มาสด้าเชื่อว่ารถยนต์ภายใต้เครื่องยนต์สันดาปภายในจะยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องจากลูกค้าในประเทศไทย แต่ในขณะเดียวกัน ก็ได้เตรียมความพร้อมเพื่อสนับสนุนนโยบายของภาครัฐ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  โดยจะทำการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับตลาดในประเทศไทยแบบเป็นขั้นเป็นตอน ภายใต้กรอบเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้ลูกค้าได้รับเทคโนโลยีที่ดีที่สุด ในเวลาช่วงที่เหมาะสมที่สุดกับการใช้งานในชีวิตประจำวัน

มร.ทาดาชิ มิอุระ(ซ้ายประธานบริหารคนใหม่ ) และคุณชาญชัย ตระกาลอุดมสุข ได้หมดวาระขึ้นดำรง ตำแหน่งเป็นประธานที่ปรึกษา

สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการดำเนินธุรกิจของมาสด้า ในปีงบประมาณ 2565 ที่จะมาเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจในห้วงเวลาที่อุตสาหกรรมรถยนต์กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย เพื่อมอบทางเลือกที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า และขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ มาสด้าจะมุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ มอบความคุ้มค่า และส่งมอบเทคโนโลยียานยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง ตามวิสัยทัศน์ของมาสด้า Sustainable Zoom-Zoom 2030 เพื่อให้โลกของเรายังคงสวยงาม เพื่อความสุขผู้คนในสังคม และสร้างสังคมให้น่าอยู่ตลอดไป

Facebook Comments