ค่ายฟอร์ด ประกาศถอนตัวจากตลาดรถยนต์ประเทศญี่ปุ่น และ ประเทศอินโดนีเซีย ภายในปีนี้ โดยฟอร์ด กล่าวว่า มันเป็นการยากที่จะเจาะเข้าสู่ตลาดที่ไม่ยอมรับรถยนต์จากต่างประเทศ แม้ว่าฟอร์ด จะเปิดตลาดญี่ปุ่น นับแต่ปี 2517 แต่ก็ไม่สามารถทำให้ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นยอมรับได้
ขณะที่ในอินโดนีเซีย โฆษกของฟอร์ดซึ่งมีสำนักงานในเซี่ยงไฮ้ ซึ่งยืนยันการถอนตัวทางอีเมล์เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา กล่าวว่า การทำธุรกิจในอินโดนีเซีย โดยปราศจากคู่ค้าชาวอินโดนีเซีย ทำให้ไม่สามารถที่จะเจาะตลาดได้ ขณะที่ ฟอร์ด เอง ก็ไม่มีคู่ค้าชาวอินโดนีเซียเช่นกัน
ในญี่ปุ่น ฟอร์ด มีผลิตภัณฑ์ เฟียสต้า, มัสแตง และ เอ็กพลอเรอร์ ซึ่งตลาดส่วนใหญ่ ครอบครองโดย โตโยต้า, ฮอนด้า และ นิสสัน ขณะที่ยอดการขายรถยนต์ในประเทศญี่ปุ่นเอง ก็หดตัวลง ซึ่งสาเหตุมาจากประชากรส่วนใหญ่ อยู่ในช่วงอายุสูงวัย และความต้องการใช้รถของคนรุ่นใหม่ลดลง เนื่องจากความสะดวกสบายในการเดินทางทั่วประเทศ
ฟอร์ด วางแผนที่จะปิดผู้แทนจำหน่ายทั่วประเทศ และค้ารถยนต์ด้วยการสั่งนำเข้า ทั้งผลิตภัณฑ์ฟอร์ด และ ลินคอน แทน โดยระบุว่าจากการทำธุรกิจที่ผ่านมา “no reasonable path to profitability,” ไม่สามารถทำกำไรได้เลย แม้ว่าฟอร์ด จะใช้ความพยายามในการเข้าไปถือหุ้นในค่ายมาสด้า แต่ได้ขายออกไปจนเหลือหุ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และไม่มีแผนงานที่จะพัฒนารถยนต์รุ่นใหม่ๆ แต่อย่างใด
ค่ายรถยนต์จากต่างประเทศส่วนใหญ่ ต่างประสบปัญหาในการเจาะตลาดประเทศญี่ปุ่น สามารถทำส่วนแบ่งตลาดได้ไม่มากนัก และถอนตัวจากการทำธุรกิจไปหลายเจ้าแล้ว แม้แต่ค่ายยักษ์ใหญ่ จีเอ็ม ที่เคยส่ง แซทเทิร์น เข้าไปทำตลาด ก็ทำธุรกิจอยู่ได้ไม่กี่ปี ต้องถอนตัวเช่นกัน
ซีอีโอ มาร์ค ฟีลด์ ระบุว่า จะยังคงทำตลาดในรัสเซียต่อไป แม้ว่าจะมีปัญหาด้านสภาวะเศรษฐกิจก็ตาม
ปีที่ผ่านมา ฟอร์ด จำหน่ายรถยนต์ได้เพียง 5,000 คัน มีส่วนแบ่งตลาดเพียง 0.15% เท่านั้น โดยมีผู้แทนจำหน่าย 52 ราย และพนักงานประจำ 292 คน
ขณะที่ในอินโดนีเซีย ฟอร์ด เข้าสู่ตลาดในปี 2545 มีผู้แทนจำหน่าย 44 ราย พนักงาน 35 คน และยอดการขายปีที่ผ่านมา ตกลงเหลือส่วนแบ่งเพียง 0.6% ขายได้ราว 6,000 คัน