ผู้แทนจากอุตสาหกรรมยานยนต์เวียดนาม โดย โตรุ คิโนชิตะ Toru Kinoshita กรรมการผู้จัดการ โตโยต้า เวียดนาม ในนามของ ประธานสมาคมผู้ผลิตยานยนต์เวียดนาม Vietnam Automobile Manufacturers’ Association (VAMA) ร่วมประชุมกับผู้นำในรัฐบาล ทั้งรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และผู้แทนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์จากภาครัฐ เพื่อปรึกษาหารือในข้อกำหนดมาตรา 116 Decree 116 ที่รัฐบาลประกาศบังคับใช้ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ที่สำนักงานรัฐบาล
โดยประธานผู้ผลิตยานยนต์ฯ แสดงความกังวลถึงข้อกำหนดในมาตรา 116 โดยอธิบายว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล failing to observe international practice ส่งผลกระทบถึงการผลิตและธุรกิจด้านยานยนต์ที่เกี่ยวเนื่อง โดยเฉพาะสมาชิกของสมาคมผู้ผลิตยานยนต์ฯ
ก่อนหน้านี้ กลุ่มผู้ผลิตได้ส่งเสียงเรียกร้องภาครัฐ ให้พิจารณาข้อกำหนดดังกล่าวเสียใหม่ หลายครั้ง ก่อนจะมีการจัดประชุมในครั้งนี้
นักวิเคราะห์ ระบุว่า ผู้ผลิตต่างชาติที่มาลงทุนในประเทศเวียดนาม เรียกร้องว่า ข้อกำหนดดังกล่าว จะเอื้อประโยชน์ให้กับรถยนต์บางรุ่น โดยเฉพาะเป็นรุ่นที่ประกอบในอินโดนีเชีย 2 รุ่น และประเทศไทย 1 รุ่น ที่จะเข้ามาแย่งชิงตลาดเวียดนาม
“ผู้ผลิตเหล่านั้น วางแผนที่จะยกเลิกการผลิตในเวียดนาม และสั่งนำเข้ารถยนต์เพื่อมาจำหน่ายแทน” เหงียน มิน ดอง Nguyen Minh Dong ผู้เชี่ยวชาญด้านยานยนต์ในเวียดนาม กล่าวว่า จากผู้ผลิตจะกลายมาเป็นผู้ขายแทน โดยชี้แจงว่า เมื่อหลายปีก่อน มีผู้ผลิตรายใหญ่ ที่ลงทุนสร้างโรงงานผลิตในประเทศไทย และอินโดนีเชีย ตั้งเป้าจำหน่ายในตลาดเวียดนาม และต้องการลดกำลังการผลิตในเวียดนาม และเปลี่ยนมาสั่งนำเข้าแทน
เมื่อปี 2560 มีรายงานของเวียดนาม ระบุว่า ดัชนีการผลิตในนิคมอุตสาหกรรม เริ่มลดลงอย่างรวดเร็ว โดยลดลงทุกเดือนเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า โดยเมื่อปลายปี 2560 ลดลงถึง 19.16% และก่อนหน้านั้นสำนักภาษีอากรประจำจังหวัด ประเมินว่า จะสามารถเรียกเก็บเม็ดเงินภาษีจากผู้ผลิตต่างชาติได้ 27.751 เวียดนามดอง ราว 38 หมื่นล้านบาท กลับสามารถเรียกเก็บได้เพียง 18.001 เวียดนามดอง ราว 9,450 พันล้านบาท เท่านั้น
ยังไม่มีรายงานข่าวจากเวียดนาม ว่ารัฐบาลเวียดนามจะสามารถแก้ไขสถานการณ์นี้ได้อย่างไร
อีซูซุส่งเครื่อ…