ค่ายเจเนอรัล มอเตอร์ ยอมเสียเงินลงทุน 720 ล้านเหรียญ ในความพยายามที่จะลดมลภาวะที่เกิดจากการผลิต ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด โดยก่อสร้างโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า ใช้ของเสียที่เกิดจากการผลิต มาทำกระบวนการทางเคมี เป็นตัวเริ่มต้น ได้ก๊าซธรรมชาติออกมา ราว 40-60 เปอร์เซนต์ เป็นก๊าซมีเธน ส่วนที่เหลือเป็นส่วนประกอบของ คาร์บอนไดอ็อกไซด์ และอื่นๆ นำก๊าซที่ได้ไปผลิตกระแสไฟฟ้า
โครงการที่ว่า จีเอ็ม ใช้ชื่อว่า แลนด์ฟีลด์ แก๊ส landfill gas ใช้บริเวณของโรงงานประกอบฟอร์ธ เวย์น ในอินเดียน่า เป็นที่ตั้ง สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 14 เมกะวัตต์ ลดการปล่อยมลพิษคาร์บอนไดอ็อกไซด์ ได้ถึง 89,000 เมตริคตัน/ปี หรือเทียบเท่ากับการปล่อยไอเสียจากรถยนต์ 18,500 คัน
กระบวนการทางเคมีนี้ จีเอ็ม ต้องการแยกก๊าซธรรมชาติจากการทำงาน ออกมาเพื่อใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งไม่เพียงลดการทิ้งของเสียในการผลิต ลดการปล่อยมลภาวะออกสู่บรรยากาศ แต่ยังสามารถลดการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิลอีกด้วย ตั้งเป้าที่จะประหยัดค่าพลังงานของโรงงานผลิตได้รวมกันปีละ 300 ล้านบาท
โรงงานโอเรียนต์ The Orion แห่งนี้ ริเริ่มใช้กระบวนการ แลนด์ฟีลด์ แก๊ส landfill gas มาตั้งแต่ปี 2542 เป็นส่วนหนึ่งในการป้อนพลังงานความร้อนให้กับแผนกสี และหากโครงการใหม่นี้แล้วเสร็จ จะเทียบเท่าการใช้พลังงานของโรงงานทั้งหมดถึง 54 เปอร์เซนต์ ส่วนที่ ฟอร์ธ เวย์นเทียบเท่าราว 40 เปอร์เซนต์
ค่ายจีเอ็ม ค้นหากระบวนการทางเทคนิคเกี่ยวข้องกับพลังงาน นำมาใช้ในโรงงานผลิต เพื่อลดค่าใช้จ่าย และลดมลภาวะที่เกิดขึ้น โดย
โรงงานผลิตในดีทรอยต์ ซึ่งผลิต เชฟโรเลต โวลต์ ได้ติดตั้งแผงโซล่าร์ เซลล์ ขนาด 264,000 ตารางฟุต เสริมการใช้พลังงานในโรงงาน สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ราว 450,000 บาท/ปี ขณะที่ยี่ห้ออื่น อย่าง ฮอนด้า และ นิสสัน ต่างก็ค้นหาพลังงานทดแทน นำมาใช้ในโรงงานประกอบ ทั้งแผงโซล่าร์ เซลล์ และพลังงานจากกังหันลม เช่นกัน