แต่หลังจากค่ายดาวสามแฉก เปิดตัว เอส-คลาส รุ่นใหม่ ในปี 2556 ที่คุยว่าเป็นรถดีที่สุด และถือว่าเป็นจุดพลิกผันของยอดขายเบนซ์ เป็นครั้งแรก ที่ยอดขายและกำไรของรถในกลุ่มรถยนต์นั่ง และ สมาร์ท ก็ค่อยๆ เพิ่มขึ้นทีละนิด
รายงานข่าวระบุว่า ในเดือนกันยายน เบนซ์ ขายรถได้มากกว่า 200,000 คัน เป็นยอดขายสูงสุดประจำเดือน และสูงสุดในรอบ 9 เดือนของปีเช่นกัน จากความต้องการของรถรุ่น อี-คลาส และทำให้ผลกำไรจากการดำเนินงานในควอเตอร์ที่ 3 เพิ่มขึ้น 26% เป็นประวัติการณ์ 2.7 พันล้านยูโร ราว 108 พันล้านบาท
กอร์เด็น วาเกนเนอร์ หัวหน้าฝ่ายออกแบบ
การกลับมาของเบนซ์ หนนี้ มาจากผลิตภัณฑ์ที่เข้าตาผู้บริโภค รวมทั้รถหรูอย่าง เอส-คลาส เปิดประทุน ซึ่งเป็นรถเปิดประทุนที่ดีที่สุดในรอบ 40 ปี และยังมีรถที่เข้าตาผู้บริโภค อย่างครอสโอเวอร์ จีแอลเอ รวมทั้งสามารถบีบต้นทุนลงได้ถึว 2 พันล้านยูโร
ออโตโมทีฟ นิวส์ ยุโรป ถามถึงปัจจัยที่ทำให้เบนซ์ประสบความสำเร็จหนนี้ เซ็ทเซ่ ตอบว่า “น่าจะเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน ตั้งแต่ การออกแบบ รุ่นของผลิตภัณฑ์ และมีความเข้าใจในตลาดประเทศจีนเป็นอย่างดี”
แม้ว่าผู้บริโภคในยุโรปและอเมริกา จะยังคงชื่นชอบในรถเมอร์เซเดส-เบนซ์ แต่การก้าวเข้าไปอยู่ในใจของคนจีนอย่างเต็มภาคภูมิ ก็มาจากแผนงานของ เซ็ทเซ่ นับแต่ปลายปี 2555 ที่ เซ็ทเซ่ แต่ตั้งผู้บริหารอาวุโสจากฝ่ายรถบรรทุก ฮิวเบอร์ตุส ทรอสก้า Hubertus Troska ให้รับผิดชอบตลาดในประเทศจีนโดยเฉพาะ และรายงานตรงต่อซีอีโอ หลังจากนั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงด้านฝ่ายขาย และเพิ่มจำนวนพนักงานขาย ที่มีความเข้าใจชาวจีน เพื่อปิดช่องว่างที่เกิดขึ้นกับ บีเอ็มดับเบิลยู และ ออดี้ จากนั้นก็เข้ายึดการบริหารงานของคู่ค้าชาวจีนที่เป็นผู้สั่งนำเข้า และแยกฝ่ายขายสำหรับรถที่ผลิตในประเทศจีนโดยเฉพาะ
ต่อจากฝ่ายขาย เบนซ์ก็มุ่งมั่นในตัวผลิตภัณฑ์ โดยในปี 2553 เบนซ์ มีรุ่นรถจำหน่าย 24 แบบ จนถึงในปี 2563 คาดว่าจะมีทั้งสิ้น 40 แบบ โดยในปี 2557 เบนซ์ ก็มีรุ่น ซี-คลาส ช่วงยาว สำหรับบรรดาเศรษฐีจีน ส่วนในสหราชอาณาจักร ตลาดที่ใหญ่รองจากเยอรมัน ก็มีรถเอสยูวี จีแอลซี ออกจำหน่าย โดยที่ค่ายอื่นยังไม่มีรถพวงมาลัยขวาจำหน่ายเลย
อีซูซุส่งเครื่อ…