ด้วยสถานการณ์โรคระบาดของ COVID-19 ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน รัฐบาลทั่วโลกได้ดำเนินมาตราการต่างๆในการควบคุมสถานการณ์ อาทิเช่น การจัดการทางสาธารณสุข การควบคุมพื้นที่ และการจำกัดการเดินทาง ด้วยความหวังที่จะควบคุมการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อ (flattening the curve) ในการต่อสู้กับโรคระบาดนี้ บุคลากรทางสาธารณสุขไม่ว่าจะเป็น แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล รวมไปถึงเจ้าหน้าที่ทำความสะอาดและขนส่งต่างๆ ล้วนอยู่ในแนวหน้า เพื่อต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโรค และนี่เป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย
ด้วยการคำนึงถึงความเสียสละของนักสู้เหล่านี้ มูลนิธิโตโยต้าโมบิลิตี้ (Toyota Mobility Foundation – TMF) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่ไม่ประสงค์ผลกำไร และมุ่งหวังที่จะสนับสนุนการสัญจรสำหรับทุกคนในสังคม (mobility for all) จึงมีความตั้งใจที่จะมอบรถโดยสารที่ติดตั้งระบบการเชื่อมต่ออัจฉริยะ (connected) ที่ผ่านการฆ่าเชื้อจำนวน 10 คัน ให้ใช้เพื่อปฎิบัติภารกิจ เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยปราศจากค่าใช้จ่ายใดๆ แก่โรงพยาบาลที่รับผู้ติดเชื้อ COVID-19 (รายละเอียดของโรงพยาบาลนั้น จะแจ้งให้ทราบในภายหลัง)
รถโดยสารเหล่านี้มีระบบเพื่อให้ผู้โดยสารซี่งเป็นบุคลากรทางสาธารณสุข สามารถจองที่นั่งและคำนวณเส้นทางที่สามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างทันท่วงที เพื่อให้แน่ใจว่าเส้นทางเดินรถนั้น เป็นเส้นทางที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ผู้โดยสารจะได้รับการยืนยันจุดขึ้นรถและเวลาที่นัดหมายเพื่อให้มั่นใจว่าสามารถเดินทางไปปฎิบัติหน้าที่ตามเวลาที่ต้องการ ในส่วนของซอฟท์แวร์ “Just In Time” ที่ใช้ในการจัดการนั้น ได้รับการออกแบบจากบริษัท SWAT Mobility ในประเทศสิงคโปร์ โดยบริษัทนี้เป็นบริษัทผู้พัฒนาการจัดการ ที่สนองตอบต่อความต้องการ (solution) ในการเดินทาง รวมถึงการเดินทางร่วมกัน (ride-sharing)
ทั้งนี้ รถโดยสารดังกล่าวจะได้รับการฆ่าเชื้อด้วยผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ เช่น อุปกรณ์ฟอกอากาศ ที่คลุมเบาะที่นั่ง ซึ่งจะได้รับการเปลียนและการทำความสะอาดเป็นระยะ และจะมีการปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับการเว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing)
ในฐานะตัวแทนของ มูลนิธิโตโยต้าโมบิลิตี้ Mr. Pras Ganesh ผู้อำนวยการโครงการในภูมิภาคเอเชีย กล่าวว่า จุดมุ่งหมายของมูลนิธิโตโยต้าโมบิลิตี้ คือการจัดการการเดินทางของบุคลากรทางสาธารณสุข ให้มีความปลอดภัย และความสะดวก เพื่อแบ่งเบาภาระของบุคลากรฯ และ TMF มีแผนที่จะขยายบริการนี้ไปยังประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยอาศัยกรณีตัวอย่างในกรุงเทพมหานครฯ ภายหลังจากการจัดทำระบบและขั้นตอนการปฏิบัติการเรียบร้อยแล้ว และจะเปิดให้ผู้ที่สนใจ นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
บริการนี้ได้รับการสนับสนุนด้านการดำเนินการจาก บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด และ บริษัท โตโยต้า ไดฮัทสุ เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด และจะเริ่มให้บริการตั้งแต่กลางเดือนเมษายนเป็นต้นไป
มูลนิธิกลุ่มอีซ…
“มหกรรมยานยนต์ …
นายณัทธร ศรีนิเ…