แต่จากการศึกษาของ สถาบันประกันภัยเพื่อการเดินทางทางถนน IIHS พบว่า ถุงลมนิรภัย ในรูปแบบใหม่ ที่ติดตั้งเอาไว้ในแผงหน้าปัดด้านล่าง เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของหัวเข่า และส่วนล่างของขา ไม่ค่อยมีประโยชน์เท่าที่ควร และในบางกรณีอาจทำให้เสี่ยงต่อการบาดเจ็บขึ้นได้
จากการศึกษาข้อมูลกรณีที่เกิดอุบัติเหตุมากกว่า 400 ราย พบว่า อาจเกิดการบาดเจ็บบริเวณเข่า และส่วนล่างในจำนวนที่น้อยมาก
โดยจากการทดสอบการชนเยื้องด้านหน้า ซึ่งเป็นระเบียบข้อหนึ่งสำหรับรถที่จะได้ค่าคะแนนความปลอดภัยในระดับดีหรือดีมาก จากการออกแบบเพื่อทดสอบการชน เมื่อมุมด้านหนึ่งของรถเกิดชนกับรถยนต์คันอื่น หรือวัสดุที่อยู่กับที่ แรงกระแทกจากการชน อาจทำให้ล้อหน้า กระแทกเข้ามาในห้องโดยสาร ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดการบาดเจ็บที่ขาได้
จากข้อมูลในอดีตพบว่า ถุงลมนิรภัยที่ป้องกันเข่า ไม่สามารถปกป้องการบาดเจ็บส่วนขา ในการทดสอบการชนเยื้องด้านหน้า หรือการประสานงาของรถยนต์สองคันได้เลย
จากข้อมูลในโลกความเป็นจริงที่ IIHS ได้รับรายงานจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นใน 14 มลรัฐ พบว่า ถุงลมนิรภัยป้องกันเข่า ไม่สามารถลดการบาดเจ็บจาก 7.9% ให้เหลือ 7.4% ซึ่งทำให้ไม่มีการปกป้องมากเท่าที่ควรจะเป็น
ในทางตรงข้าม ผลจากการศึกษาระบุเช่นกันว่าถุงลมนิรภัยป้องกันเข่านี้ อาจทำให้เกิดบาดเจ็บมากกว่าเป็นการป้องกัน โดยมีความเป็นไปได้ว่า ถุงลมนิรภัย จะทำให้ผู้ที่อยู่ในรถซึ่งไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ได้ประโยชน์จากการป้องกันมากกว่า
แต่สำหรับผู้ผลิตแล้ว การติดตั้งถุงลมนิรภัยป้องกันเข่านี้ ทำเพื่อให้ผ่านการทดสอบการชนของแต่ละมลรัฐ ด้วยหุ่นเสมือนคนจริง แต่ในการทดสอบการชนที่แท้จริง หุ่นเสมือนคน ก็จะต้องได้รับการคาดเข็มขัดนิรภัยอยู่แล้ว
ไม่มีคำแนะนำจาก IIHS ว่าควรจะทำอย่างไรกับกรณีนี้
อีซูซุส่งเครื่อ…