สำหรับค่ายโตโยต้า แม้ว่าจะประกาศยกเลิกการทำตลาดรถยนต์ในอเมริกา ภายใต้ยี่ห้อ ไซคอน Scion ไปแล้วก็ตาม แต่ผลจากฝีมือการตลาดดั้งเดิมที่ทำไว้ ยังคงอยู่ในใจวัยรุ่นที่ชื่นชอบอยู่บ้าง ทำให้กลุ่มวัยรุ่นที่ศึกษาวิชาวิศวกรรม ที่ มหาวิทยาลัยเคล็มสัน Clemson University International Center for Automotive Research ยังคงใช้ ไซคอน เอ็กซ์บ็อกซ์ Scion xB ที่เคยได้รับความนิยม มาเป็นต้นแบบในการพัฒนารถต้นแบบในการเรียน
โดยนักศึกษา 18 คน ของเคล็มสัน และอีก 2 คนจากวิทยาลัยศิลปะ ArtCenter College of Design ใช้โครงสร้างของรถไฟฟ้า ไซคอน เอ็กซ์บ็อกซ์ และใช้เทคนิคการพิมพ์ภาพแบบ 3-ดี 3-D สร้างแผงหน้าปัด ชิ้นส่วนพลาสติค และช่องแอร์ จากเครื่องพิมพ์ มาใช้เป็นอุปกรณ์ในรถ ซึ่งก็ให้ไปสอดคล้องกับรถมินิแวน พรีเวียร์ ในอดีต
โครงสร้างหลังคาของรถคันนี้ มีส่วนประกอบของ คาร์บอน ไฟเบอร์ และอลูมิเนียม โดยทำเป็นราง เพื่อรองรับหลังคากระจกและกระจกบังลมหน้า ที่ทำให้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารเห็นทัศนียภาพได้รอบตัว โดยอาจารย์ที่ควบคุมการพัฒนา ระบุว่า การออกแบบวิธีนี้สามารถช่วยให้ลดค่าใช้จ่ายในสายการผลิตได้มหาศาล
โครงสร้างเบาะที่นั่งหยิบเอามาจากรุ่น เซียนน่า ตั้งอยู่บนราง สามารถพับเบาะนั่งและกระชับพื้นที่เหมือนกับ ฮอนด้า ฟิท เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการบรรทุกสัมภาระ และด้วยความที่เป็นผลงานของนักศึกษา ที่หยิบยืมเอาระบบขับเคลื่อนและช่วงล่างหน้าและหลังมาจาก รัฟ4, แคมรี่ และ เซียนน่า
นักศึกษาของ เคล็มสัน ผลิตรถต้นแบบมาแล้วหลากรุ่น ตั้งแต่แปลงรถเล็กของเชฟวี่ ให้เป็นเลาจน์ขนาดใหญ่, แปลง จีเอ็มซี เอ็กซ์ยูวี, แปลงเอสยูวี บีเอ็มดับเบิลยู เอ็กซ์ 3 ให้เปิดหลังคาได้, แปลง ไซคอน ไอเอ็ม, ไอเอ เป็นโคโรลล่า ไอเอ็ม และยาริส ไอเอ และโตโยต้า ยูบ็อกซ์ คันนี้นับเป็นรถต้นแบบคันที่ 6 แล้ว