นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนพฤษภาคม 2558 มีปริมาณการขายทั้งสิ้น 56,942 คัน ลดลง 18.3% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 23,139 คัน ลดลง 21.1% รถเพื่อการพาณิชย์ 33,803 คัน ลดลง 16.2% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 25,850 คัน ลดลง 21.6%
ประเด็นสำคัญ
1.) ตลาดรถยนต์เดือนพฤษภาคม มีปริมาณการขาย 56,942 คัน ลดลง 18.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 21.1% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 16.2% เนื่องจากภาระหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง รวมทั้งสถาบันทางการเงินที่ยังคงเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อ ประกอบกับกำลังซื้อที่ยังไม่ขยายตัวอันเป็นผลมาจากรายได้เกษตรกรที่ทรงตัวในระดับต่ำ ทำให้สภาพคล่องในระบบและการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนลดลง
2.) ตลาดรถยนต์สะสม 5 เดือน มีปริมาณการขาย 308,787 คัน ลดลง 15.9% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 16.7% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 15.3% อัตราการเติบโตของยอดขายสะสมส่งสัญญาณชะลอตัวต่อเนื่อง เป็นผลจากการความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ทำให้ทั้งภาคธุรกิจและครัวเรือน ระมัดระวังเรื่องการลงทุนและใช้จ่าย
3.) ตลาดรถยนต์ในเดือนมิถุนายน แนวโน้มทรงตัว ถึงแม้ว่าการเร่งลงทุนจากโครงการของภาครัฐจะมีผลในเชิงบวกต่อภาพรวมของการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ แต่อย่างไรก็ตามดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือนพฤษภาคมยังคงปรับตัวลง จากความกังวลต่อความไม่แน่นอนของสภาวะเศรษฐกิจโลกที่เป็นปัจจัยเชิงลบให้การส่งออกยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ส่งผลกระทบให้การลงทุนของภาคเอกชนยังคงชะลอตัว ทำให้แนวโน้มตลาดรถยนต์ในเดือนมิถุนายนยังอยู่ในสภาวะทรงตัว
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนพฤษภาคม 2558
1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 56,942 คัน ลดลง 18.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 18,006 คัน ลดลง 29.5% ส่วนแบ่งตลาด 31.6%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 10,871 คัน ลดลง 20.4% ส่วนแบ่งตลาด 19.1%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 8,875 คัน เพิ่มขึ้น 2.7% ส่วนแบ่งตลาด 15.6%
2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 23,139 คัน ลดลง 21.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 7,440 คัน ลดลง 36.3% ส่วนแบ่งตลาด 32.2%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 6,060 คัน ลดลง 23.6% ส่วนแบ่งตลาด 26.2%
อันดับที่ 3 นิสสัน 2,192 คัน ลดลง 8.1% ส่วนแบ่งตลาด 9.5%
3. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 25,850 คัน ลดลง 21.6%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 9,782 คัน ลดลง 22.6% ส่วนแบ่งตลาด 37.8%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 9,713 คัน ลดลง 26.0% ส่วนแบ่งตลาด 37.6%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,190 คัน ลดลง 7.2% ส่วนแบ่งตลาด 8.5%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 2,583 คัน
อีซูซุ 1,008 คัน – โตโยต้า 929 คัน – มิตซูบิชิ 526 คัน – เชฟโรเลต 114 คัน – ฟอร์ด 6 คัน
4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 23,267 คัน ลดลง 19.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 8,784 คัน ลดลง 22.9% ส่วนแบ่งตลาด 37.8% อันดับที่ 2 อีซูซุ 8,774 คัน ลดลง 19.1% ส่วนแบ่งตลาด 37.7%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 1,746 คัน ลดลง 10.0% ส่วนแบ่งตลาด 7.5%
5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 33,803 คัน ลดลง 16.2%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 10,871 คัน ลดลง 20.4% ส่วนแบ่งตลาด 32.2%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 10,566 คัน ลดลง 23.8% ส่วนแบ่งตลาด 31.3%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 2,815 คัน เพิ่มขึ้น 297.6% ส่วนแบ่งตลาด 8.3%
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – พฤษภาคม 2558
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 308,787 คัน ลดลง 15.9%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 101,294 คัน ลดลง 25.8% ส่วนแบ่งตลาด 32.8%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 58,448 คัน ลดลง 16.2% ส่วนแบ่งตลาด 18.9%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 46,875 คัน เพิ่มขึ้น 22.7% ส่วนแบ่งตลาด 15.2%
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 125,579 คัน ลดลง 16.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 45,813 คัน ลดลง 28.0% ส่วนแบ่งตลาด 36.5%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 33,782 คัน เพิ่มขึ้น 0.7% ส่วนแบ่งตลาด 26.9%
อันดับที่ 3 นิสสัน 10,149 คัน ลดลง 30.7% ส่วนแบ่งตลาด 8.1%
3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 141,322 คัน ลดลง 20.8%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 53,423 คัน ลดลง 17.6% ส่วนแบ่งตลาด 37.8%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 50,979 คัน ลดลง 25.9% ส่วนแบ่งตลาด 36.1%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 13,025 คัน ลดลง 15.4% ส่วนแบ่งตลาด 9.2%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 13,014 คัน
อีซูซุ 5,289 คัน – โตโยต้า 4,427 คัน – มิตซูบิชิ 2,690 คัน – เชฟโรเลต 592 คัน – ฟอร์ด 16 คัน
4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 128,308 คัน ลดลง 17.8%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 48,134 คัน ลดลง 13.1% ส่วนแบ่งตลาด 37.5%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 46,552 คัน ลดลง 22.6% ส่วนแบ่งตลาด 36.3%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 10,335 คัน ลดลง 17.7% ส่วนแบ่งตลาด 8.1%
5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 183,208 คัน ลดลง 15.3%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 58,448 คัน ลดลง 16.2% ส่วนแบ่งตลาด 31.9%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 55,481 คัน ลดลง 23.8% ส่วนแบ่งตลาด 30.3%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 13,093 คัน เพิ่มขึ้น 182.6% ส่วนแบ่งตลาด 7.1%
“ไพรม์มัส กรุ๊ป…