นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนพฤศจิกายน 2559 มีปริมาณการขายทั้งสิ้น 64,771 คัน ลดลง 15.3% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 23,306 คัน ลดลง 9.4% รถเพื่อการพาณิชย์ 41,465 คัน ลดลง 18.2% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 34,345 คัน ลดลง 15.8%
1) ตลาดรถยนต์เดือนพฤศจิกายน มีปริมาณการขาย 64,771 คัน ลดลง 15.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยแบ่งเป็นตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 9.4% และตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 18.2% เนื่องจากฐานยอดขายของปลายปีที่ผ่านมาสูงกว่าปกติจากการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ประกอบกับการเร่งกำลังซื้อก่อนการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่ในช่วงเวลานั้น
2) ตลาดรถยนต์สะสม 11 เดือน มีปริมาณการขาย 681,930 คัน ลดลง 2.3% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยแบ่งเป็นตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 5.3% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 0.5% เนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงฟื้นตัวช้า ทำให้ภาคธุรกิจและครัวเรือนระมัดระวังเรื่องการลงทุนและใช้จ่าย
3) ตลาดรถยนต์ในเดือน ธันวาคม แนวโน้มทรงตัว ถึงแม้ว่ารัฐบาลได้ดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการเร่งเบิกจ่ายเงินจากภาครัฐที่ส่งผลในเชิงบวกต่อภาพรวมของเศรษฐกิจในประเทศ ประกอบกับสถิติการขายที่ชี้ว่า เดือนธันวาคม จะเป็นเดือนที่มียอดขายสูงสุดของปี ทั้งจากการจัดงานมอเตอร์เอกซ์โป ตลอดจนความต่อเนื่องของกิจกรรมส่งเสริมการขาย จะส่งผลในเชิงบวกต่อตลาดรถยนต์ แต่อย่างไรก็ตามความกังวลต่อความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ทำให้ภาคเอกชนยังชะลอการลงทุน ประกอบกับกำลังซื้อที่ยังไม่ขยายตัว ส่งผลให้แนวโน้มตลาดรถยนต์ในเดือนธันวาคมยังอยู่ในสภาวะทรงตัว
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 64,771 คัน ลดลง 15.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 23,549 คัน ลดลง 4.2% ส่วนแบ่งตลาด 36.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 12,010 คัน เพิ่มขึ้น 3.7% ส่วนแบ่งตลาด 18.5%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 7,389 คัน ลดลง 28.2% ส่วนแบ่งตลาด 11.4%
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 23,306 คัน ลดลง 9.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 8,947 คัน เพิ่มขึ้น 2.1% ส่วนแบ่งตลาด 38.4%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 5,635 คัน ลดลง 20.5% ส่วนแบ่งตลาด 24.2%
อันดับที่ 3 มาสด้า 2,045 คัน ลดลง 18.9% ส่วนแบ่งตลาด 8.8%
3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 34,345 คัน ลดลง 15.8%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 13,568 คัน ลดลง 10.2% ส่วนแบ่งตลาด 39.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 10,772 คัน เพิ่มขึ้น 3.7% ส่วนแบ่งตลาด 31.4%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 3,621 คัน ลดลง 9.7% ส่วนแบ่งตลาด 10.5%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 4,399 คัน
โตโยต้า 2,050 คัน –อีซูซุ 847 คัน – มิตซูบิชิ 784 คัน –ฟอร์ด 623 คัน – เชฟโรเลต 95 คัน
4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 29,946 คัน เพิ่มขึ้น 6.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 11,518 คัน เพิ่มขึ้น 13.0% ส่วนแบ่งตลาด 38.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 9,925 คัน เพิ่มขึ้น 7.7% ส่วนแบ่งตลาด 33.1%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,998 คัน เพิ่มขึ้น 0.8% ส่วนแบ่งตลาด 10.0%
5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 41,465 คัน ลดลง 18.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 14,621 คัน ลดลง 7.7% ส่วนแบ่งตลาด 35.2%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 12,010 คัน เพิ่มขึ้น 3.7% ส่วนแบ่งตลาด 29.0%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 3,785 คัน ลดลง 11.8% ส่วนแบ่งตลาด 9.1%
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 681,930 คัน ลดลง 2.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 217,046 คัน ลดลง 8.6% ส่วนแบ่งตลาด 31.8%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 127,654 คัน เพิ่มขึ้น 2.7% ส่วนแบ่งตลาด 18.7%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 97,000 คัน ลดลง 2.6% ส่วนแบ่งตลาด 14.2%
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 250,360 คัน ลดลง 5.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 78,061 คัน ลดลง 17.1% ส่วนแบ่งตลาด 31.2%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 71,391 คัน เพิ่มขึ้น 3.5% ส่วนแบ่งตลาด 28.5%
3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 347,591 คัน เพิ่มขึ้น 1.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 130,841 คัน ลดลง 2.8% ส่วนแบ่งตลาด 37.6%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 114,735 คัน เพิ่มขึ้น 2.0% ส่วนแบ่งตลาด 33.0%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 34,379 คัน ลดลง 3.9% ส่วนแบ่งตลาด 9.9%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 53,775 คัน
โตโยต้า 24,882 คัน – มิตซูบิชิ 13,917 คัน – อีซูซุ 7,633 คัน– ฟอร์ด 6,285 คัน – เชฟโรเลต 1,058 คัน
4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 293,816 คัน เพิ่มขึ้น 1.5%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 107,102 คัน เพิ่มขึ้น 5.1% ส่วนแบ่งตลาด 36.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 105,959 คัน ลดลง 3.9% ส่วนแบ่งตลาด 36.1%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 26,822 คัน เพิ่มขึ้น 28.5% ส่วนแบ่งตลาด 9.1%
5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 431,570 คัน ลดลง 0.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 138,985 คัน ลดลง 3.0% ส่วนแบ่งตลาด 32.2%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 127,654 คัน เพิ่มขึ้น 2.7% ส่วนแบ่งตลาด 29.6%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 35,065 คัน เพิ่มขึ้น 27.3% ส่วนแบ่งตลาด 8.1%