นายสุรศักดิ์ สุทองวัน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนมีนาคม 2565 มียอดการขายรวมทั้งสิ้น87,245 คัน เพิ่มขึ้น 9.1% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 29,771 คัน ลดลง 1.4% รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 57,474 คัน เพิ่มขึ้น 15.4% และรถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ มีจำนวน 46,363 คัน เพิ่มขึ้น 21.7%
ตลาดรถยนต์เดือนมีนาคม 2565 มีปริมาณการขาย 87,245 คัน เพิ่มขึ้น 9.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลงเล็กน้อยที่ 1.4% ส่วนตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ยังคงเติบโตต่อเนื่องที่ 15.4% สืบเนื่องจากผู้บริโภคสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ซึ่งแม้อัตราการแพร่ระบาดยังคงสูงอย่างต่อเนื่อง แต่ผู้ป่วยไม่มีอาการรุนแรง และสามารถหายเป็นปกติภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งผู้บริโภคสามารถดูแลตัวเองตามหลักการ VUCA คือ Vaccine – Universal Prevention – COVID Free Setting และ ATK ทำให้สามารถใช้ชีวิตในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้เกือบเป็นปกติ ส่งผลให้ตลาดรถยนต์โดยรวมมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ตลาดรถยนต์ในเดือนเมษายนมีแนวโน้มเจริญเติบโตเช่นเดียวกัน จากยอดจองรถยนต์ในงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 43 ที่มากถึง 31,896 คัน เป็นปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนตลาดรถยนต์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี รวมไปถึงกระตุ้นแรงจูงใจในการซื้อของผู้บริโภคด้วยแคมเปญ “เงื่อนไขเดียวกับมอเตอร์โชว์” ช่วยกระตุ้นการตัดสินใจซื้อรถยนต์ของลูกค้าทั่วประเทศ โดยทุกบริษัทรถยนต์ต่างเร่งทำการผลิต เพื่อส่งมอบถึงมือลูกค้าตามกำหนดนัดหมาย ทำให้ตลาดรถยนต์เดือนเมษายนมีแนวโน้มเปิดไตรมาสที่ 2 ของปีด้วยอัตราการเจริญเติบโตที่ดีเช่นเดียวกัน
อันดับที่ 1 โตโยต้า 29,997 คัน เพิ่มขึ้น 34.7% ส่วนแบ่งตลาด 34.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 21,801 คัน เพิ่มขึ้น 24.4% ส่วนแบ่งตลาด 25.0%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 10,009 คัน ลดลง 2.8% ส่วนแบ่งตลาด 11.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 8,795 คัน เพิ่มขึ้น 50.2% ส่วนแบ่งตลาด 29.5%อันดับที่ 2 ฮอนด้า 8,326 คัน ลดลง 7.0% ส่วนแบ่งตลาด 28.0%
อันดับที่ 3 มาสด้า 2,602 คัน ลดลง 6.6% ส่วนแบ่งตลาด 8.7%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 21,801 คัน เพิ่มขึ้น 24.4% ส่วนแบ่งตลาด 37.9%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 21,202 คัน เพิ่มขึ้น 25.5% ส่วนแบ่งตลาด 36.9%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,858 คัน ลดลง 6.5% ส่วนแบ่งตลาด 5.0%
ปริมาณการขาย 46,363 คัน เพิ่มขึ้น 21.7%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 20,324 คัน เพิ่มขึ้น 28.6% ส่วนแบ่งตลาด 43.8%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 18,989 คัน เพิ่มขึ้น 31.5% ส่วนแบ่งตลาด 41.0%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,844 คัน ลดลง 5.5% ส่วนแบ่งตลาด 6.1%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 5,770 คัน
โตโยต้า 2,607 คัน – อีซูซุ 1,947 คัน – มิตซูบิชิ 749 คัน – ฟอร์ด 310 คัน – นิสสัน 157 คัน
อันดับที่ 1 อีซูซุ 18,377 คัน เพิ่มขึ้น 32.1% ส่วนแบ่งตลาด 45.3%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 16,382 คัน เพิ่มขึ้น 38.2% ส่วนแบ่งตลาด 40.4%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,469 คัน ลดลง 10.7% ส่วนแบ่งตลาด 6.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 77,144 คัน เพิ่มขึ้น 37.9% ส่วนแบ่งตลาด 33.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 57,420 คัน เพิ่มขึ้น 16.6% ส่วนแบ่งตลาด 24.8%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 25,624 คัน เพิ่มขึ้น 2.7% ส่วนแบ่งตลาด11.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 20,336 คัน เพิ่มขึ้น 40.2% ส่วนแบ่งตลาด 26.9%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 19,896 คัน ลดลง 6.8% ส่วนแบ่งตลาด 26.3%
อันดับที่ 3 มาสด้า 6,705 คัน เพิ่มขึ้น 4.9% ส่วนแบ่งตลาด 8.9%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 57,420 คัน เพิ่มขึ้น 16.6% ส่วนแบ่งตลาด 36.9%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 56,808 คัน เพิ่มขึ้น 37.1% ส่วนแบ่งตลาด 36.5%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 8,567 คัน เพิ่มขึ้น 16.0% ส่วนแบ่งตลาด 5.5%
ปริมาณการขาย 122,772 คัน เพิ่มขึ้น 23.5%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 53,156 คัน เพิ่มขึ้น 17.1% ส่วนแบ่งตลาด 43.3%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 50,089 คัน เพิ่มขึ้น 44.3% ส่วนแบ่งตลาด 40.8%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 8,524 คัน เพิ่มขึ้น 19.5% ส่วนแบ่งตลาด 6.9%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 16,256 คัน
โตโยต้า 7,765 คัน – อีซูซุ 4,932 คัน – มิตซูบิชิ 2,140 คัน – ฟอร์ด 1,097 คัน – นิสสัน 322 คัน
อันดับที่ 1 อีซูซุ 48,224 คัน เพิ่มขึ้น 19.9% ส่วนแบ่งตลาด 45.3%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 42,324 คัน เพิ่มขึ้น 50.0% ส่วนแบ่งตลาด 39.7%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 6,384 คัน เพิ่มขึ้น 23.6% ส่วนแบ่งตลาด 6.0%
อีซูซุส่งเครื่อ…