นายสุรศักดิ์ สุทองวัน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนกรกฎาคม 2565 มีตัวเลขการขายรวมทั้งสิ้น 64,033 คัน เพิ่มขึ้น 22.1% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 19,194 คัน เพิ่มขึ้น 15% รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 44,839 คัน เพิ่มขึ้น 25.4% และรถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ มีจำนวน 34,054 คัน เพิ่มขึ้น 22.4%
นายสุรศักดิ์ เปิดเผยว่า “ตลาดรถยนต์เดือนกรกฎาคมมีปริมาณการขาย 64,033 คัน เพิ่มขึ้น
15.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 15% ส่วนตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเจริญเติบโตเช่นเดียวกันที่ 25.4% แม้จะอยู่ในช่วงกลางฤดูฝนซึ่งปกติเป็นช่วง Low Season ของทุกปี แต่ด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวกลับมาเป็นปกติ หลังหยุดชะงักจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 สังเกตุได้จากสภาพการจราจรบนท้องถนนที่กลับมาติดขัดในชั่วโมงเร่งด่วน (Rush hour) ซึ่งประชาชนต่างเร่งเดินทางออกจากบ้านเพื่อไปทำงาน และกลับมาติดขัดอีกครั้งในช่วงเย็นหลังเลิกงาน และถึงแม้สถานการณ์ราคาน้ำมันยังไม่ปรับลดลงจนประชาชนพอใจ ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคในการใช้รถยนต์ส่วนตัว เนื่องจากมีความจำเป็นในการเดินทางที่สะดวก ปลอดภัย กว่าการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ ทำให้ยอดขายรถยนต์ใหม่ยังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง”
นายสุรศักดิ์ กล่าวถึงแนวโน้มตลาดรถยนต์ในเดือนสิงหาคมว่า “มีแนวโน้มการเจริญเติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่อง จากการแนะนำรถยนต์รุ่นสำคัญเข้าสู่ตลาดของค่ายรถยนต์ ประกอบกับแรงกระตุ้นของแคมเปญการตลาดในช่วงงาน Bangkok International Grand Motor Show 2022 ในระหว่างวันที่ 19 – 28 สิงหาคม ศกนี้ ซึ่งนอกจากกระตุ้นยอดขายรถยนต์ภายในงาน ยังขยายข้อเสนอพิเศษไปยังโชว์รูมผู้แทนจำหน่าย ทั่วประเทศอีกด้วย นับเป็นโอกาสดีที่ทำให้ประชาชนสามารถมีรถยนต์ใช้ได้ง่ายขึ้น และขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เจริญเติบโตผ่านเครือข่ายธุรกิจรถยนต์ได้อีกทางหนึ่ง”
อันดับที่ 1 โตโยต้า 20,277 คัน เพิ่มขึ้น 19.0% ส่วนแบ่งตลาด 31.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 16,282 คัน เพิ่มขึ้น 19.0% ส่วนแบ่งตลาด 25.4%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 7,256 คัน เพิ่มขึ้น 4.3% ส่วนแบ่งตลาด 11.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 5,096 คัน เพิ่มขึ้น 14.1% ส่วนแบ่งตลาด 26.5%อันดับที่ 2 ฮอนด้า 4,635 คัน ลดลง 23.6% ส่วนแบ่งตลาด 24.1%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 1,788 คัน เพิ่มขึ้น 48.4% ส่วนแบ่งตลาด 9.3%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 16,282 คัน เพิ่มขึ้น 19.0% ส่วนแบ่งตลาด 36.3%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 15,181 คัน เพิ่มขึ้น 20.7% ส่วนแบ่งตลาด 33.9%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 3,609 คัน เพิ่มขึ้น 70.2% ส่วนแบ่งตลาด 8.0%
ปริมาณการขาย 34,054 คัน เพิ่มขึ้น 22.4%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 14,832 คัน เพิ่มขึ้น 19.6% ส่วนแบ่งตลาด 43.6%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 12,659 คัน เพิ่มขึ้น 19.8% ส่วนแบ่งตลาด 37.2%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 3,609 คัน เพิ่มขึ้น 70.2% ส่วนแบ่งตลาด 10.6%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 4,240 คัน
อีซูซุ 1,567 คัน – โตโยต้า 1,321 คัน – ฟอร์ด 700 คัน – มิตซูบิชิ 560 คัน – นิสสัน 92 คัน
อันดับที่ 1 อีซูซุ 13,265 คัน เพิ่มขึ้น 15.8% ส่วนแบ่งตลาด 44.5%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 11,338 คัน เพิ่มขึ้น 19.9% ส่วนแบ่งตลาด 38.0%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,909 คัน เพิ่มขึ้น 53.8% ส่วนแบ่งตลาด 9.8%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 162,309 คัน เพิ่มขึ้น 20.9% ส่วนแบ่งตลาด 33.0%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 126,171 คัน เพิ่มขึ้น 18.1% ส่วนแบ่งตลาด 25.7%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 47,417 คัน ลดลง 4.5% ส่วนแบ่งตลาด 9.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 43,990 คัน เพิ่มขึ้น 28.7% ส่วนแบ่งตลาด 28.4%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 34,209 คัน ลดลง 19.8% ส่วนแบ่งตลาด 22.1%
อันดับที่ 3 มาสด้า 13,843 คัน เพิ่มขึ้น 13.7% ส่วนแบ่งตลาด 8.9%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 126,171 คัน เพิ่มขึ้น 18.1% ส่วนแบ่งตลาด 37.5%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 118,319 คัน เพิ่มขึ้น 18.3% ส่วนแบ่งตลาด 35.2%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 18,510 คัน เพิ่มขึ้น 0.5% ส่วนแบ่งตลาด 5.5%
ปริมาณการขาย 261,896 คัน เพิ่มขึ้น 16.5%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 116,271 คัน เพิ่มขึ้น 19.3% ส่วนแบ่งตลาด 44.4%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 101,891 คัน เพิ่มขึ้น 20.3% ส่วนแบ่งตลาด 38.9%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 18,510 คัน เพิ่มขึ้น 0.5% ส่วนแบ่งตลาด 7.1%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 33,826 คัน
โตโยต้า 14,787 คัน – อีซูซุ 10,662 คัน – มิตซูบิชิ 4,714 คัน – ฟอร์ด 2,946 คัน – นิสสัน 717 คัน
อันดับที่ 1 อีซูซุ 105,609 คัน เพิ่มขึ้น 21.3% ส่วนแบ่งตลาด 46.3%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 87,104 คัน เพิ่มขึ้น 22.2% ส่วนแบ่งตลาด 38.2%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 15,564 คัน ลดลง 0.6% ส่วนแบ่งตลาด 6.8%