จีเอ็ม ตกลงขาย โอเปิล/วอลซ์ฮอลล์ 1.9 พันล้านเหรียญ

สรุปกันไปเรียบร้อยระหว่างสองค่ายยักษ์ใหญ่ในยุโรป เจเนอรัล มอเตอร์ ปล่อยค่าย โอเปิล และ วอลซ์ฮอลล์ ให้กับกลุ่ม พีเอสเอ เปอโยต์ ซีตรอง ในราคา 1.9 พันล้านปอนด์ ราว 76 พันล้านบาท หลังจากประกาศอย่างเป็นทางการในการแถลงข่าว เมื่อวันจันทร์ ที่ผ่านมา

การควบรวมครั้งนี้ ทำให้กลุ่ม พีเอสเอ เปอโยต์ ซีตรอง กลายเป็นผู้ผลิตรายใหญ่อันดับสอง ในยุโรป ด้วยส่วนแบ่งตลาด 17% ตามหลังเพียง ค่ายโฟล์คสวาเก้น ที่เป็นพี่ใหญ่อยู่ในตลาดแห่งนี้ โดยการดำเนินการด้านเอกสาร คาดว่าจะสามารถสิ้นสุดลงได้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 นี้

ปีที่แล้ว พีเอสเอ จำหน่ายรถได้ทั่วโลก 3.5 ล้านคัน ขณะที่ โอเปิล/วอลซ์ฮอลล์ ขายได้เพียง 0.8 ล้านคัน

“เราภูมิใจที่ได้ร่วมพลังกับ โอเปิล/วอลซ์ฮอลล์ ในการที่จะพัฒนาบริษัทให้ก้าวไปข้างหน้า และได้ผลประโยชน์จากการควบรวมในครั้งนี้” คาร์ลอส ทาวาเรส Carlos Tavares ประธานกลุ่ม พีเอสเอ กล่าว “หลังจากร่วมกันส่งผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จในยุโรปมาแล้ว เราเชื่อว่า โอเปิล/วอลซ์ฮอลล์ จะเป็นหุ้นส่วนที่ดี และพร้อมที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ไปสู่ระดับที่สูงกว่านี้”

ความสัมพันธ์ระหว่าง จีเอ็ม และ พีเอสเอ ยังคงดำเนินต่อไป โดยจะร่วมกันค้นคว้าในรถยนต์ไฟฟ้า และ ฟูอัลเซลส์ โดย พีเอสเอ จะได้ประโยช์จากการที่ จีเอ็ม ได้ลงทุนร่วมกับ ฮอนด้า ก่อนหน้านี้ โดยข้อตกลงครั้งนี้ จะช่วยให้ พีเอสเอ สามารถประหยัดเงินค่าค้นคว้าและพัฒนาได้ราว 1.47 พันล้านเหรียญ ภายในปี 2569 ในด้านการผลิต, การจัดซื้อ และ ค้นคว้าและพัฒนา โดยที่ พีเอสเอ ก็ยืนยันที่จะคงตำแหน่งต่างๆ เอาไว้ อย่างน้อยจนถึงปี 2564

คาร์ลอส ทาวาเรส ประธานกลุ่ม พีเอสเอ ได้พบกับประธานสหภาพแรงงาน โอเปิล/วอลซ์ฮอลล์ ถึงการคงอยู่ของตำแหน่งต่างๆ ภายในบริษัท โดยไม่มีการลดพนักงานลงทันทีทันใด

แต่กระนั้น สหภาพแรงงานก็ยังมีข้อแม้ใหม่ๆ ที่จะเสนอผู้บริหาร แม้ว่าสายการผลิตจะไม่หยุดชะงักลง หรือมีการปิดสายการผลิต อาทิ เงินชดเชยที่จะต้องระบุให้ชัดเจน โดยที่โรงงานในอังกฤษ ยืนยันว่าตำแหน่งหน้าที่ในสายการผลิต วอลซ์ฮอลล์ ซึ่งผลิตรุ่น แอสตร้า ในปัจจุบัน ที่โรงงาน เอลเมอร์ พอร์ธ Ellesmere Port จะยังคงทำงานต่อไปจนถึงี 2564 ส่วนการผลิตรถแวน วิวาโร่ Vivaro ในโรงงาน ลูตอง Luton จะดำเนินการต่อจนถึงปี 2568 หลังจากนั้น บริษัท จึงจะพิจารณาที่จะผลิตรถยนต์รุ่นใหม่ต่อไป

เจเนอรัล มอเตอร์ ยุโรป มีโรงงานในยุโรปทั้งสิ้น 9 แห่ง โดยแม้ว่าจะมีการซื้อขายกันเกิดขึ้น แต่ทุกโรงงานยังคงดำเนินงานตามปกติ นักวิเคราะห์เชื่อว่า หาก พีเอสเอ ต้องการผลกำไรจากการผลิตในโรงงานต่างๆ เหล่านี้ ก็จำเป็นต้องลดตำแหน่งและการผลิตในยุโรปลง เพราะปัจจุบัน ผลิตได้เกินความต้องการของตลาด รวมทั้งตลาดในยุโรปก็กำลังอยู่ในสภาวะตกต่ำ ผู้บริโภคลดความต้องการใช้รถยนต์นั่งลงจำนวนมาก

Facebook Comments
ลุงอ๊อด

Recent Posts