ทั้งสองบริษัท ต่างจะใช้ความรู้ความสามารถที่ตนเองมีอยู่ร่วมกันพัฒนายานยนต์บินได้นี้ โดยก่อนหน้านี้ เทอร์ราฟูเกีย ได้เพิ่มวิศวกรอเมริกันเข้าร่วมงานอีกเป็น 3 เท่า เพื่อเร่งเวลาในการพัฒนาให้เร็วขึ้น
กีลี่ ยืนยันที่จะเพิ่มเงินลงทุนในผู้ผลิตยานยนต์บินได้ ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่ แมสซาจูเส็ท แห่งนี้ เพื่อให้สามารถนำยานยนต์บินได้ ออกสู่ตลาดให้ได้ในปี 2562 และจะเป็นรถบิน ที่สามารถบินขึ้นและลงได้จากแนวดิ่ง เป็นลำแรกของโลก ภายในปี 2568
ขณะเดียวกัน กีลี่ ยังจะคงสำนักงานใหญ่ของ เทอร์ราฟูเกีย ไว้ในอเมริกา ที่เดิม และจะได้ประโยชน์จากการใช้ความรู้ที่ได้จากการพัฒนา นำมาใช้กับค่ายรถยนต์ในเครือ รวมทั้งประสบการณ์ในธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์
“ทีมงานของ เทอร์คาฟูเกีย มีความเชื่อและมองเห็นความเป็นไปได้ของการพัฒนารถบินได้ และพยายามหาวิธีการที่จะแก้ปัญหาให้ดีที่สุด” ลี ชูฟู Li Shufu ผู้ก่อตั้งกีลี่ และประธาน กล่าว
“การลงทุนในบริษัทซึ่งสะท้อนความเชื่อของผู้พัฒนารถบินนี้ และเราเชื่อมั่นว่าจะสามารถสนับสนุน เทอร์ราฟูเกีย ได้อย่างเต็มที่ ด้วยการนำความรู้ความสามารถที่เราได้รับในการทำธุรกิจรถยนต์ในทุกมุมโลก มาร่วมกันพัฒนาเพื่อให้โครงการรถบินนี้ มีความเป็นไปได้”
ขณะเดียวกัน คาร์ล ไดทริช Carl Dietrich ผู้ก่อตั้ง เทอร์ราฟูเกีย กล่าวว่า “เราเริ่มงานของ เทอร์ราฟูเกีย ด้วยแนวทางการทำงานที่ต้องการเปลี่ยนการเดินทางขนส่งในอนาคต ด้วยยานยนต์ที่บินได้ ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคมีสิทธิเสรีภาพในการเดินทางมากขึ้น”
ในภาพ เป็นรถต้นแบบ เทอร์ราฟูเกีย ทีเอฟ-เอ็กซ์ TF-X รถยนต์บินได้ ซึ่งสามารถบินขึ้นหรือลงจอดได้ในแนวดิ่ง กำลัง
อยู่ในระหว่างการทดสอบ โดยบริษัท ได้ทำการพัฒนา “ตัวแทน” หรือรถคันเสมือนจริงขนาดเท่ากับคันจริง อีก 2 คัน ซึ่งกำลังเร่งในการทดสอบเพื่อให้สามารถออกสู่ตลาดให้ได้ในปี 2562
บริษัทในเครือของกีลี่ มีตั้งแต่ผู้ผลิตรถยนต์ วอลโว่ เชื้อสายสวีเดน, ผู้ผลิตรถแท็กซี่ ลอนดอน แท็กซี่ โดยในปี 2559 ที่ผ่านมา กลุ่มกีลี่ สามารถจำหน่ายรถได้รวมกัน 1.3 ล้านคัน, ร่วมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของ วอลโว่ ในชื่อ คอมแพค โมดูล่าร์ อาร์ชิเทคเจอร์ Compact Modular Architecture ซึ่งจะนำมาใช้ในรถรุ่นใหม่อย่าง ซีรี่ส์ 40 เริ่มตั้งแต่รถเอสยูวี เอ็กซ์ซี40 ซึ่งจะแนะนำในออสเตรเลีย ในปีหน้า