ภายใต้การบริหารงานของ แฮคเก็ต มีการพิจารณาถึงการปรับปรุงองค์กร ใน 3 ส่วน ส่วนแรกคือการกระชับการบริหารธุรกิจรวมทั้งปิดจุดอ่อนด้านการจัดหาชิ้นส่วน ส่วนที่สอง คือการพัฒนาการบริหารองค์กรให้มีความทันสมัย และท้ายสุดเพื่อสร้างความมั่นใจว่าองค์กรจะตอบสนองความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมยานยนต์นี้ได้
แฮคเก็ต เข้าดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการของ ฟอร์ เมื่อปี 2556 และได้รับแต่งตั้งให้ดูแลโครงการ สมาร์ท โมบิลิตี้ เมื่อเดือนมีนาคม ปีที่แล้ว ขณะที่ ฟีลด์ เข้าดำรงตำแหน่งในปี 2557 ก่อนถูกปลดออกจากตำแหน่งครั้งนี้
สำนักพิมพ์นิวยอร์ค ไทมส์ เป็นสำนักข่าวแห่งแรกที่นำเสนอข่าวลือว่า ฟีลด์ อาจถูกปลดออกจากตำแหน่ง ซีอีโอ มาจากผลประกอบการที่แสดงตัวเลขขาดทุนมากยิ่งขึ้น อันทำให้ราคาหุ้นของฟอร์ด ร่วงลงไปเกือบ 40% นับแต่เดือนกรกฎาคม 2557 จากราคาหุ้นละ 17.72 เหรียญ ราว 531.6 บาท เหลือเพียง 10.87 เหรียญ ราว 326.1 บาท เมื่อตอนปิดตลาดสัปดาห์ที่แล้ว
ผลิตภัณฑ์ของฟอร์ด เฟียสต้า ยังคงเป็นรุ่นที่ขายดีที่สุดในอังกฤษ และเคยขึ้นไปถึงอันดับที่ขายดีที่สุดในยุโรป แต่ภาพที่ฉายให้เห็นว่า ฟอร์ด กำลังตกอยู่ในยุคที่ตกตำ่ ก็จากรายงานของ นิวยอร์ค ไทมส์ เช่นกัน ที่ระบุว่า ยอดขายฟอร์ด ทั่วโลก ลดลงจากปี 2559 ถึง 25% โดยที่ฟอร์ดเองก็เริ่มตระหนักถึงสถานการณ์ทางการเงิน และยกเลิกการก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่มูลค่า 1.6 พันล้านเหรียญ ราว 48 พันล้านบาท ในเม็กซิโก และปรับเป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพโรงงานใน มิชิแกน ที่ใช้เงินเพียง 700 ล้านเหรียญ ราว 21,000 ล้านบาท แทน
จากคำแถลงของ ฟอร์ด มาร์ค ฟีลด์ วัย 56 ปี เลือกที่จะลาออกจากบริษัทหลังจากทำงานในค่ายยักษ์ใหญ่ของอุตสาหกรรมยานยนต์มาแล้ว 28 ปี