ในโรงงานแห่งนี้ หุ่นยนต์จะทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยพนักงานในสายการผลิต ทำหน้าที่ประกอบส่วนหลังคา ที่ทำจากคาร์บอน ไฟเบอร์ โพลีเมอร์ ขึ้นรูป carbon fiber reinforced polymer ให้ยึดติดเข้าด้วยกัน ด้วยสารแอดฮีซีฟ Adhesive สำหรับรถรุ่น อาร์เอส5 RS5 และนับเป็นครั้งแรกที่โรงงานมาตรฐานแห่งนี้ ที่ใช้หุ่นยนต์ขนาดเบา ทำงานฉีดสารดังกล่าวในสายการผลิตขั้นตอนสุดท้าย
โรงงานอินโกสแตดแห่งนี้ มีหุ่นยนต์อยู่ในสายการผลิตแผนกสี และอีกแห่งที่ บรัสเซลส์ กับสายการประกอบเครื่องยนต์ที่ กอร์ Győr
ในระบบการทำงาน พนักงานทำหน้าที่วางส่วนหลังคาคาร์บอน ไฟเบอร์ ลงบนโต๊ะที่หมุนได้ ส่วนหุ่นยนต์จะทำหน้าที่ฉีดสารแอดฮีซีฟ ตามขอบในส่วนที่จะต้องยึดกับโครงชิ้นอื่น ควบคุมโดยพนักงานที่จะเป็นผู้กดปุ่มฉีดสาร โดยหุ่นยนต์จะทำหน้าที่ฉีดสารไปตามขอบ ระยะทางยาวมากกว่า 5 เมตร
เมื่อฉีดสารจนครบรอบส่วนหลังคา หุ่นยนต์จะให้สัญญาณว่าเสร็จแล้ว พนักงานก็จะใช้เครื่องช่วยจับยึด และติดตั้งขึ้นไปบนตัวรถ ซึ่งหลังคาคาร์บอน ไฟเบอร์ นี้ เป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับรถรุ่น อาร์เอส 5 คูเป้ RS5 และมีขนาดใหญ่กว่ารถรุ่นปกติทั่วไป และพนักงานในสายการผลิต จะไม่สามารถฉีดสารยึดติดให้สม่ำเสมอและเที่ยงตรงได้เหมือนกับการทำงานของหุ่นยนต์
สำหรับการทำงานร่วมกันของคนและหุ่นยนต์ในสมัยใหม่นี้ ไม่มีความจำเป็นต้องใช้สิ่งกีดขวางระหว่างคน และหุ่นยนต์ เหมือนในอดีต ที่ต้องมีรั้วกั้น นั่นหมายความว่า คนและหุ่นยนต์ ยืนทำงานเคียงคู่กัน ทำให้สามารถประหยัดพื้นที่ในสายการประกอบได้มากขึ้น โดยที่ ออดี้ ยังถือว่าความปลอดภัยของพนักงานเป็นเรื่องสำคัญอันกับหนึ่ง
พนักงานจะเป็นผู้ควบคุมขั้นตอนการทำงาน การฉีดสารยึดติด และสามารถระงับขั้นตอนการทำงานได้ทุกเวลา โดยเซ็นเซอร์ที่แขนของหุ่นยนต์ จะจดจำขณะที่สัมผัสกับผิวหนังของมนุษย์ และหยุดการทำงานด้วยตนเอง ที่อาจเป็นอันตรายกับพนักงาน รวมทั้งจะคาดการณ์เหตุการณ์ที่จะเป็นอันตราย และส่งสัญญาณเตือนด้วยวงแหวนสีแดง หากมีการกีดขวางเส้นทาง
การฉีดสารยึดติดนี้ กระทำบนโต๊ะที่หมุนได้ ทำให้สามารถทำงานได้สะดวกและรวดเร็ว รวมทั้งไม่ไปรบกวนการทำงานของหน่วยในสายการผลิตอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียง
“ไพรม์มัส กรุ๊ป…