Categories: ข่าว

ข่าวแวดวงรถยนต์ เจ.ดี.พาวเวอร์ เอเซีย แปซิฟิค รายงาน รูปลักษณ์ความสวยโดนใจของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลโดยรวมในประเทศไทยได้รับการปรับปรุงให้โดดเด่นขึ้น ในขณะที่รูปลักษณ์ความดึงดูดใจของรถกระบะกลับลดต่ำลง

ข่าวแวดวงรถยนต์ เจ.ดี.พาวเวอร์ เอเซีย แปซิฟิค รายงาน
รูปลักษณ์ความสวยโดนใจของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลโดยรวมในประเทศไทยได้รับการปรับปรุงให้โดดเด่นขึ้น ในขณะที่รูปลักษณ์ความดึงดูดใจของรถกระบะกลับลดต่ำลง

ในการออกแบบรูปลักษณ์และสมรรถนะของรถยนต์ใหม่
ความประหยัดน้ำมันถือเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความพึงพอใจเพิ่มขึ้นมาก

กรุงเทพฯ วันที่ 23 ธันวาคม 2554 – เจ.ดี.พาวเวอร์ เอเซีย แปซิฟิค เปิดเผยผลการศึกษาวิจัยสมรรถนะ ระบบปฎิบัติการ และการออกแบบรูปลักษณ์ของรถยนต์ (Automotive Performance, Execution and Layout – APEAL) ประจำปี 2554 ในวันนี้ พบว่า รูปลักษณ์ดึงดูดใจโดยรวมของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์อเนกประสงค์เพิ่มขึ้นจากปี 2553 ในขณะที่รูปลักษณ์ดึงดูดใจของรถกระบะกลับลดลง

ปีนี้นับเป็นปีที่ 9 ของการศึกษาสมรรถนะ ระบบการทำงาน และรูปลักษณ์ หรือ APEAL ซึ่งใช้คำตอบของผู้บริโภคในประเทศไทยเป็นเกณฑ์วัดถึงปัจจัยที่สร้างความพอใจที่เจ้าของรถมีต่อสมรรถนะและการออกแบบรถยนต์คันใหม่ของพวกเขาในช่วง 2-6 เดือนแรกของการเป็นเจ้าของ โดยการศึกษาได้พิจารณาคุณลักษณะของรถยนต์เกือบ 100 คุณลักษณะซึ่งครอบคลุมระบบการทำงานของรถยนต์ 10 หมวดหมู่ ได้แก่ ภายนอกตัวรถ, ภายในตัวรถ, พื้นที่เก็บของและพื้นที่ว่าง, เครื่องเสียง ความบันเทิง และระบบนำทาง, ระบบที่นั่ง, ระบบฮีทเตอร์ ระบบระบายอากาศ และระบบแอร์ (HVAC), สมรรถนะในการขับขี่, เครื่องยนต์/ระบบเกียร์, ทัศนวิสัยและความปลอดภัยในการขับขี่ และความประหยัดน้ำมัน

สำหรับคะแนนเฉลี่ยของภาพรวมจากการศึกษา APEAL ในปี 2554 อยู่ที่ 884 คะแนน ลดลง 2 คะแนน จากปี 2553 และความพึงพอใจลดลงในเกือบทั้ง 10 หมวดหมู่ มีเพียงระบบที่นั่ง (โดยเพิ่มขึ้น 1 คะแนน จากปี 2553) และระบบเครื่องเสียง ความบันเทิง และระบบนำทาง (โดยเพิ่มขึ้น 22 คะแนน) เท่านั้นที่ได้คะแนนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ระบบเครื่องเสียง ความบันเทิง และระบบนำทาง เป็นเพียงหมวดเดียวเท่านั้นที่ได้คะแนนเพิ่มขึ้นทั้งในรถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถกระบะ และรถยนต์อเนกประสงค์

การศึกษายังพบว่าความสามารถในการประหยัดน้ำมันมีผลต่อความพึงพอใจโดยรวมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะต่อเจ้าของรถยนต์นั่งส่วนบุคคล และรถยนต์อเนกประสงค์ อีกทั้งเจ้าของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลยังให้ความสำคัญต่อความสวยงามภายนอกรถยนต์เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม หมวดหมู่ของทัศนวิสัยและความปลอดภัยในการขับขี่ยังคงเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงสุดต่อความน่าสนใจของรถยนต์โดยรวม โดยให้น้ำหนักความสำคัญประมาณ 20%
“รถยนต์นั่งส่วนบุคคลซึ่งขับเคลื่อนด้วยพลังงานทางเลือกหรือเทคโนโลยี่น้ำมันชนิดใหม่ อย่างเช่น รถอีโคร์คาร์ รถยนต์ไฮบริด หรือ รถยนต์ที่ใช้ก๊าซซีเอ็นจีเป็นเชื้อเพลิง เป็นรถยนต์ที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในประเทศไทย” โลอิค เปอ็อง ผู้จัดการอาวุโสของ เจ.ดี.พาวเวอร์ เอเซีย แปซิฟิค ประจำประเทศไทย กล่าว “แม้ว่ารถกระบะยังคงเป็นที่ต้องการอย่างกว้างขวาง แต่ช่องว่างระหว่างความพึงพอใจของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลกับรถกระบะ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมารถกระบะเคยได้รับความนิยมสูงกว่า กลับลดลง” การเปลี่ยนความนิยมมาสู่รถยนต์นั่งส่วนบุคคลยังสามารถเห็นได้จากยอดจำหน่ายของรถยนต์ใหม่ซึ่งสัดส่วนยอดจำหน่ายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถกระบะในประเทศไทยมีจำนวนไล่เลี่ยกันในปี 2554

ผลการศึกษารุ่นรถในแต่ละส่วนตลาดรถยนต์
รุ่นรถยนต์จาก 5 ค่ายผู้ผลิตรถยนต์ที่ได้รับรางวัล ได้แก่ นิสสันและโตโยต้า ได้รับค่ายละ 2 รางวัล ในขณะที่ เชฟโรเลตมาสด้า และมิตซูบิชิ ได้รับค่ายละ 1 รางวัล

ในกลุ่มรถยนต์ขนาดกลางระดับต้น มาสด้า2 และนิสสัน ทีด้า ครองอันดับสูงสุด ด้วยคะแนนเสมอกัน (894 คะแนน) โดยที่นิสสัน ทีด้า ครองอันดับหนึ่งในกลุ่มนี้ติดต่อกันเป็นปีที่ 2 และ ฮอนด้า แจ๊ซ ครองอันดับสาม (888 คะแนน)

ในกลุ่มรถยนต์ขนาดกลาง โตโยต้า พริอุส ซึ่งเป็นรถยนต์ที่เพิ่งเปิดตัวไปหมาดๆ ครองตำแหน่งสูงสุด (904 คะแนน) ตามมาด้วยเชฟโรเลต ครูซ ซึ่งเป็นรุ่นใหม่ที่มาแทนรุ่นออพตร้า ครองอันดับสอง ด้วยคะแนน 897 คะแนน โดย ฮอนด้า ซีวิค และมาสด้า3 ต่างครองอันดับสาม (890 คะแนน) ด้วยคะแนนเสมอกัน

ในกลุ่มรถยนต์ขนาดกลางระดับพรีเมียม โตโยต้าแคมรี่ ไฮบริด ครองอันดับสูงสุดติดต่อกันเป็นปีที่ 2 ด้วยคะแนน 919 คะแนน ตามมาด้วย โตโยต้า แคมรี่ ครองอันดับสอง ด้วยคะแนน 908 คะแนน และฮอนด้า แอคคอร์ด ครองอันดับสาม (902 คะแนน)

ในกลุ่มรถยนต์อเนกประสงค์กึ่งสปอร์ต มิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต ครองอันดับสูงสุด (909 คะแนน) ตามติดมาด้วย ฮอนด้า ซีอาร์-วี และ อีซูซุ มิว 7 ครองอันดับสอง ด้วยคะแนนเสอกัน (904 คะแนนน)

ในส่วนของรถกระบะมีแค็บ เชฟโรเลต โคโลราโด ครองตำแหน่งสูงสุด (909 คะแนน) ตามติดมาด้วย มาสด้า บีที 50 ไฮเรเซอร์ (907 คะแนน) และนิสสัน ฟรอนเทียร์ นาวารา คาลิเบอร์ (891 คะแนน) ครองอันดับสาม

ในส่วนของรถปิคอัพ 4 ประตู นิสสัน ฟรอนเทียร์ นาวารา คาลิเบอร์ (895 คะแนน) ครองอันดับสูงสุด ส่วนมิตซูบิชิ ไทรทัน พลัส, โตโยต้า ไฮลักซ์ วีโก้ และ โตโยต้า ไฮลักซ์ วีโก้ พรีรันเนอร์ ทั้งสามมรุ่นรถยนต์ตามมาเป็นอันดับสองด้วยคะแนนที่เสมอกัน (889 คะแนน)

ผลการศึกษาเพิ่มเติมสำหรับตลาดรถยนต์
จากการศึกษาพบว่าความพึงพอใจที่อยู่ในระดับสูงที่มีต่อรูปลักษณ์และสมรรถนะของรถยนต์ใหม่ส่งผลบวกอย่างมากต่อการบอกต่อและความภักดีของเจ้าของรถยนต์ ในส่วนของเจ้าของรถยนต์ที่ไห้คะแนน APEAL เท่ากับหรือสูงกว่าคะแนนค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม โดย 75% ของเจ้าของรถยนต์บอกว่าจะแนะนำรุ่นที่พวกเขาใช้อย่าง “แน่นอน” ซึ่งจำนวนดังกล่าวลดลงเหลือ 41% สำหรับเจ้าของรถยนต์ที่ให้คะแนน APEAL ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม และในทำนองเดียวกันเจ้าของรถยนต์ที่มีระดับความพึงพอใจสูงกว่าค่าเฉลี่ย จำนวน 53% บอกว่าพวกเขาจะกลับมาซื้อรถยี่ห้อเดิมอีกอย่าง “แน่นอน” เปรียบเทียบกับเจ้าของรถยนต์ที่มีระดับความพึงพอใจต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ซึ่งมีเพียง 19% เท่านั้นที่บอกว่าจะกลับมาซื้ออีก

“ความดึงดูดใจของสมรรถนะของรถยนต์ใหม่ส่วนใหญ่แล้วขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ผลิตในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆรวมถึงการปรับปรุงคุณภาพรถยนต์ในส่วนสำคัญต่างๆให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด อาทิเช่น ความสามารถในการใช้งาน ความสะดวกสบาย สมรรถนะและความปลอดภัย ซึ่งจะทำให้ลูกค้าตื่นตาตื่นใจและพึงพอใจ” เปอ็อง กล่าว “ตลาดรถยนต์ในประเทศไทยเติบโตขึ้น และรถยนต์ในแต่ละรุ่นก็มีให้เลือกเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นนวัตกรรมและการปรับปรุงคุณภาพรถยนต์ในแต่ละรุ่นจึงมีความสำคัญที่ต่อการกระตุ้นความสนใจและคำพูดชื่นชมจากลูกค้า”

การศึกษาวิจัย APEAL ในประเทศไทยประจำปี 2554 จัดทำขึ้นโดยประเมินผลจากเจ้าของรถยนต์ใหม่จำนวน 4,248 ราย ที่ซื้อรถยนต์ใหม่ระหว่างเดือน ตุลาคม 2553 ถึงเดือนมิถุนายน 2554 โดยทำการศึกษาจากผู้ซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถกระบะ และรถยนต์อเนกประสงค์ จากรถยนต์ 13 ยี่ห้อ การศึกษานี้ได้เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน ถึงเดือนกันยายน 2554

thunyaluk@caronline.net

Facebook Comments
CarOnline Team

Recent Posts