หลังจากเปิดตัว Mazda CX-5 ไปเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2560 ทางมาสด้าก็ได้ให้สื่อมวลชนได้ร่วมขับรถทดสอบMazda CX-5 โดยแบ่งการทดสอบออกเป็น 3 ทริป รวมระยะทางประมาณ 2,500 กิโลเมตร
ทริปที่ 1 ระยะทางประมาณ 900 กิโลเมตร โดยดิฉันได้เดินทางไปทริปนี้ เราเดินทางกัน 3 วัน วันแรกจากเชียงราย-น่าน วันที่ 2 จากน่าน – เชียงคาน วันที่ 3 จากเชียงคาน –อุดรธานี โดยเส้นทางจะขึ้นภูเขาและคดเคี้ยวตลอดเส้นทาง ขอบอกว่าโค้งมากมาก และจะเลียบฝั่งโขง
CX-5 ที่ไปขับในครั้งนี้ จะเป็นตัวท็อปของทั้งเบนซินและดีเซล เบนซินคือตัว 2.0 SP และ ดีเซลคือรุ่น XDL
All New Mazda CX-5 ใช้เครื่องยนต์ 2 แบบ คือเครื่องยนต์เบนซิน Skyactive G ขนาด 2,000 ซีซี. DOHC 4 สูบ 16 วาล์ว 165 แรงม้าที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิด 210 นิวตันเมตรที่ 4,000 รอบต่อนาที
เบนซินสามารถเติมน้ำมัน E10 E20 E85 และน้ำมันอกเทน 95 ได้ และจะเป็นรุ่นขับเคลื่อน 2 ล้อทั้ง 3 รุ่นที่มีอยู่
ส่วนเครื่องยนต์ดีเซล Skyactive D ขนาด 2,200 ซีซี DOHC 4 สูบ 16 วาล์ว พร้อมระบบเทอร์โบชาร์จเจอร์ 2 ชั้น 175 แรงม้า ที่ 4,500 รอบ/นาที แรงบิด 420 นิวตันเมตรที่ 2,000 รอบต่อนาที
ดีเซล มี 2 รุ่น แต่ตัวท็อปคื่อรุ่น XDL จะเป็นตัวขับเคลื่อน 4 ล้อ
เบนซินถังน้ำมันจุ 56 ลิตร ดีเซลจุ 58 ลิตร ดีเซลจะจุน้ำมันมากกว่า
ไฟหน้า โปรเจดเตอร์ LED มีในทุกรุ่น ไฟหน้าปรับสูงต่ำอัตโนมัติมีทุกรุ่น ระบบเปิด-ปิดไฟอัตโนมัติมีทุกรุ่น ไฟส่องสว่าง Daytime Running Lamp เป็นแบบ LED ยกเว้นรุ่น 2.0 C
ไฟท้ายเป็นแบบ LED ยกเว้นรุ่น 2.0 C
วัสดุตกแต่งเสาด้านนอกสีดำเปียโน ยกเว้น 2.0 C เป็นสีดำ
สปอยเลอร์หลังและเสาอากาศครีบฉลามมีทุกรุ่น ท่อไอเสียคู่แบบสปอร์ตพร้อมปลายท่อโครเมี่ยมมีทุกรุ่น
ส่วนหลังคาซันรูฟมีเฉพาะตัวท็อปของ ดีเซลเท่านั้น และเป็นเลื่อนเปิดและปิดแบบไฟฟ้า
หน้าจอแสดงข้อมูลแบบสีบนกระจกหน้า สามารถเปิดและปิดได้ ขับไปก็มองเห็นขัดเจนว่าวิ่งด้วยความเร็วเท่าไหร่
เบาะหนังสีดำแต่งด้วยด้ายสีน้ำตาล (ยกเว้น 2.0 C เบาะจะเป็นสีดำล้วน )
เบาะนั่งคนขับปรับได้ 8 ทิศทางส่วนเบาะนั้งผู้โดยสารด้านหน้าปรับได้ 6 ทิศทางพร้อมระบบบันทึกตำแหน่ง (ยกเว้นรุ่น2.0C ไม่มีระบบบันทึกตำแหน่ง)
จอแสดงข้อมูลแบบสี LED
ระบบปรับอากาศอัตโนมัติแบบ Dual Zone และมีช่องแอร์สำหรับผู้โดยสารด้านหลัง
ระบบสตาร์ทเครื่องยนต์แบบ Push Start
กระจกมองหลังแบบตัดแสง และกระจกไฟฟ้าพร้อมระบบ Jam Protection ที่ตำแหน่งคนขับ
แผงบังแดดคู่หน้าพร้อมกระจกแต่งหน้าและไฟส่องสว่าง และไฟอ่านแผนที่พร้อมสวิทช์ควบคุม
มีช่องเก็บแว่นตา และช่องใส่เอกสารหลังพนักพิงเบาะคู่หน้า
ช่อง USB สำหรับชาร์จไฟ 2 ช่องที่ตรงพนักวางแขนด้านหลัง และช่องจ่ายไฟสำรอง แบบ 12 V 3 ตำแหน่ง
นอกจากระบบเบรกแบบดิสค์เบรกทั้ง 4 ล้อ แล้วยังมีแบบ AUTO Hold ซึ่งผู้ขับขี่สามารถเปิดปิดฟังก์ชั่นนี้ได้ เพื่อความสะดวกในการขับขี่ในเมืองเมื่อยกเท้ารถก็ไม่เคลื่อนแต่ถ้าเหยียบคันเร่งรถก็ออกตัวทันที
นอกจากนี้ยังมีระบบนำทางเนวิเกเตอร์และช่องเสียบ SD card สำหรับเนวิเกเตอร์ หน้าจอสัมผัสขนาด 7 นิ้ว เครื่องเล่น DVD สวิทช์ควบคุมเครื่องเสียงและและแสดงข้อมูลการขับขี่ที่พวงมาลัย
เครื่องเสียง BOSE รอบทิศทางพร้อมลำโพง 10 ตำแหน่ง เฉพาะตัวท็อปของเบนซินและดีเซล
แค่นี้ก็เยอะแล้วนะคะ
ระบบความปลอดภัยที่ให้มาเหมือนกันทุกรุ่นก็คือ
กุญแจนิรภัย ถุงลมนิรภัย 6 ตำแหน่ง
กล้องมองหลัง และระบบเตือนเมื่ออยู่ในช่องอับสายตาเมื่อถอยหลัง ระบบCruise Control ระบบป้องกันล้อล็อคและระบบกระจายแรงเบรก EBD และระบบช่วยเบรก BA ระบบป้องกันล้อหมุนฟรีและการลื่นไถล ระบบช่วยออกตัวรถเมื่ออยู่บนทางลาดชัน ระบบสัญญาณไฟฉุกเฉินเตือนอัตโนมัติเมื่อเบรกกะทันหัน
ส่วนที่เพิ่มเติมมีเฉพาะรุ่นเบนซินและดีเซลตัวท็อปก็คือ เบนซิน 2.0 SP และดีเซลXDL ก็คือระบบช่วยควบคุมรถให้อยู่ในเลน ซึ่งอาการเหล่านี้เมื่อไหร่ที่เราขับออกนอกเลนหรือเบี่ยงออกโดยไม่เปิดไฟเลี้ยวเราก็จะรู้สึกเหมือนมีอะไรดึงๆที่พวงมาลัย ซึ่งดิฉันก็เจออาการเหล่านี้ และเมื่อเรารู้แล้วก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับรถ
ระบบช่วยหยุดรถ ระบบช่วยหยุดรถอัตโนมัติขณะถอยหลัง ระบบเตือนเมื่อเกิดอาการเหนื่อยล้าในการขับขี่จะเห็นรูปถ้วยกาแฟขึ้นมาให้เห็นบนหน้าจอแสดงว่าหยุดพักได้แล้ว
ระบบเตือนการชนด้านหน้าและช่วยเบรกอัตโนมัติ เมื่อรถด้านหน้าอยู่ใกล้เกินไปก็จะช่วยทันที และมีระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติ
พูดมาซะเยอะ
ทีนี้มาถึงการขับขี่บ้างละ ซึ่งคันที่ดิฉันได้ขับคันแรก็คือตัวเบนซินเครื่องยนต์ 2,000 ซีซีตัวท็อป ก็คือรุ้น 2.0 SP ซึ่งเส้นทางจากเชียงราย-น่าน ระยะทางประมาณ 272 กิโลเมตร
ตอนแรกก็เป็นผู้โดยสารไปก่อนนั่งคู่กับคนขับที่นั่งปรับไฟฟ้ายกสูงต่ำได้ปรับได้6 ทิศทางเบาะใหญ่ดีนั่งสบายเป็นเบาะหนัง ปรับแอร์ความเย็นอย่างที่เราต้องการไม่สนใจด้านคนขับล่ะ ทัศนวิสัยมองเห็นชัดเจนดี ช่วงล่างนุ่มนวลนั่งสบาย เปิดที่บังแดดมองหน้าตาตัวเอง เห็นชัดเพราะมีไฟส่องสว่างให้ด้วยก็โอเคนะ ที่นั่งปรับให้ตัวเองนั่งได้สบาย ซึ่งผู้โดยสารด้านหลังซึ่งเป็นมีความสูงประมาณ 170 ซม.ก็บอกว่ายื่นขาได้สบายมาก
ภายในรถก็ดูกว้างขวางดีนะ
และเมื่อถึงเวลาที่ต้องสลับมาเป็นคนขับที่นั่งคนขับก็ปรับได้ 8 ทิศทาง ดิฉันเป็นคนที่ชอบนั่งแบบสูงๆเวลาขับรถก็ปรับขึ้นให้สูงไว้ แต่ก็ต้องระวังไม่ให้เท้าลอยจากพื้นก็ต้องปรับให้เหมาะสม คันเร่งเหยียบไปความเร็วก็มาในทันที แต่เนื่องจากทางที่เราขับเป็นทางขึ้นเขาลงเขาเยอะ อัตราเร่งแซงก็เลยใช้น้อย แต่เมื่อเหยียบเพื่อขึ้นไปทางลาดชันก็แรงก็มาเลย ไม่ได้เปลี่ยนเกียร์ช่วยหรือใช้คิ๊กดาวน์เลย
การควบคุมพวงมาลัยและการเกาะถนนดีมาก เพราะเส้นทางที่เดินทางในครั้งนี้ เป็นเส้นทางขึ้นเขาคดเคี้ยวบางช่วงรู้สึกเหมือนหมุน 360 องศาเลย
ซึ่ง cx-5 รุ่นใหม่นี้มี G-Vectoring Control ซึ่งช่วยปรับแรงบิดของเครื่องยนต์ให้ตอบสนองการทำงานของพวงมาลัยเป็นการควบคุมที่ทำงานร่วมกันช่วยเพิ่มความการเกาะถนนของล้อหน้าและเพิ่มความสามารถในการตอบสนองของรถ และเมืออเราหมุนพวงมาลัยกลับมาระบบนี้ก็ช่วยให้เกิดการสมดุลระหว่างล้อหน้ากับหลัง ก็จะรู้สึกว่ารถเกาะถนนเพิ่มความั่นใจมากขึ้น เพราะเหตูนี้เองทางมาสด้าถึงเลือกเส้นทางนี้ให้เราได้ลองสมรรถนะของรถ SUV รุ่นนี้
เมื่อถึงจุดเปลี่ยนรถคราวนี้ดิฉันต้องไปนั่งด้านหลังแล้วละคะ
ที่นั่งด้านหลังสามารถปรับเอนได้ หนึ่งระดับ และพับได้แบบ 40:20:40 พนักพิงแขนกว้างดี วางแก้วน้ำได้ 2 ใบ มีช่องเสียบ USB 2 ช่อง มีช่องแอร์สำหรับผู้โดยสารด้านหลัง และช่องเสียบไฟสำรองแบบ 12 โวลท์ที่ใต้ช่องแอร์ด้านหลัง
นั้งด้านหลังช่วงล่างก็นุ่มนวลดี
หลังจากนั้นวันที่ 2 ซึ่งเราต้องเดินทางจากน่านไปเชียงคาน ถนนคดเคี้ยวเยอะกว่าวันแรก บางช่วงก็เป็นดินลูกรังกำลังซ่อมถนน ซึ่งในวันนี้คันที่ดิฉันเดินทางผู้โดยสาร 3 คนเช่นเดิม รถได้สลับไปขับ CX-5 ดีเซลตัวท็อป XDL ขับเคลื่อน 4 ล้อซึ่งเครื่องยนต์ขนาด 2,200 ซีซี เครื่องยนต์ใหญ่กว่า แรงม้ามากกว่า แรงบิดมากกว่าตัวเบนซิน
และน้ำหนักดีเซลหนักกว่าเบนซินถึง 157 กิโลกรัม
ภายในแทบไม่มีอะไรแตกต่างกันมาก ยกเว้นตัวเบนซินมีปุ่มปรับที่อยู่ข้างเกียร์เป็นแบบสปอร์ตได้ ดีเซลไม่มีแต่ดีเซลมีซันรูฟ
ช่วงล่างความนุ่มนวลไม่ต่างกัน แต่อัตราเร่งรู้สึกว่าตัวดีเซลจัดจ้านกว่า เพราะแรงม้าและแรงบิดที่มากกว่า
ส่วนเรื่องการกินนำมันนั้นเนื่องจากเป็นทางขึ้นเขาลงเขาเสียเป็นส่วนใหญ่การกิน้ำมันก็จะมากว่าทางปกติ
เพราะเราใช้เกียร์ต่ำอยู่ตลอดเวลา เท่าที่เช็คดูได้ 10.5 ก็ถือว่าน่าพอใจแล้วสำหรับการวิ่งในเส้นทางแบบนี้
ล้อที่ใช้เป็นล้ออัลลอย 19×7 j ยางขนาด 225/55 R 19
ที่เก็บของสัมภาระด้านหลังเป็นปุ่มกดไฟฟ้านะคะ ใช้มือแตะแล้วปุ่มก็จะเปิดเองค่ะ และมีแผ่นปิดสัมภาระด้านท้ายด้วย
1. รุ่น 2.0 C เครื่องยนต์เบนซิน ราคาจำหน่าย 1,290,000 บาท
2. รุ่น 2.0 S เครื่องยนต์เบนซิน ราคาจำหน่าย 1,400,000 บาท
3. รุ่น 2.0 SP เครื่องยนต์เบนซิน ราคาจำหน่าย 1,530,000 บาท
4. รุ่น XD เครื่องยนต์คลีนดีเซล ราคาจำหน่าย 1,560,000 บาท
5. รุ่น XDL เครื่องยนต์คลีนดีเซล ราคาจำหน่าย 1,770,000 บาท
ท่านจะชอบหรือจะซื้อรุ่นไหนก็อยู่ทีงบประมาณของแต่ละคนแล้วละคะ ถ้าท่านต้องการออฟชั่นเพิ่มมากๆก็เลือกราคาสูงเข้าไว้นะคะ
“ไพรม์มัส กรุ๊ป…