การเปิดตัวสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โครงการคมนาคมอย่างยั่งยืน
เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2557 องค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้เห็นชอบร่วมกัน ที่จะดำเนินโครงการคมนาคมอย่างยั่งยืน 2.0 ได้จัดพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือกับสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างเป็นทางการ และได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการฯ กรุงเทพฯ นำโดย นายไมเคิล ฟาฮี ผู้อำนวยการสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน นายธีระพงษ์ รอดประเสริฐ รองปลัดกระทรวงคมนาคม นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พล.ต.ต. นิพนธ์ เจริญผล รองผู้บัญชาการ กองบัญชาการตำรวจนครบาล และ นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ ตัวแทนบริษัทสมาชิกสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โครงการคมนาคมอย่างยั่งยืน 2.0 โครงการกรุงเทพฯ (รองประธานกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด) เพื่อขับเคลื่อนโครงการฯ ให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างราบรื่น โดยมีแขกผู้มีเกียรติจากภาครัฐและเอกชนเข้าร่วม
สภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้เริ่มโครงการคมนาคมอย่างยั่งยืน 2.0 ในปี 2556 โดยมีสมาชิกทั้งสิ้น 15 บริษัท ร่วมขับเคลื่อนโครงการฯ ได้แก่ บีเอ็มดับเบิลยู บีพี บริดจสโตน Brisa เดมเลอร์ Deutsche-Bahn ฟอร์ด ฟูจิสึ ฮอนด้า มิชลิน นิสสัน พีรารี่ เชลล์ โตโยต้า และโฟล์คสวาเกน ซึ่งมีกำหนดระยะเวลา 3 ปี โดยมุ่งเน้นที่จะเร่งและขยายวิธีการแก้ปัญหาการคมนาคมอย่างยั่งยืน โดยอาศัยระบบการจัดการและเทคโนโลยีล่าสุด เพื่อปรับปรุงการเดินทางและคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น โดยจำแนกเมืองต่างๆ ทั่วโลกออกเป็น 6 กลุ่มย่อย ตามลักษณะเฉพาะของการสัญจร และคัดเลือกเมืองทั้งหมด 6 เมือง เพื่อใช้เป็นเมืองสาธิตในการพัฒนาแนวทางการดำเนินการสำหรับการคมนาคมอย่างยั่งยืนร่วมกับรัฐบาลของเมืองนั้นๆ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยความปรารถนาที่จะนำมาซึ่งคำตอบที่ดีกว่าของการคมนาคมอย่างยั่งยืน ซึ่งกรุงเทพฯ ได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 6 เมืองสาธิต โดยได้รับความร่วมมือจากบริดจสโตน ฟอร์ด ฟูจิสึ ฮอนด้า นิสสัน เชลล์ และโตโยต้า
สภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โครงการคมนาคมอย่างยั่งยืน 2.0 โครงการกรุงเทพฯจะมุ่งเน้นการทำงานบนเสาหลัก 5 ประการดังนี้
1) ตั้งเป้าให้การแก้ปัญหาการจราจรติดขัดมีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งเนื่องจากปัญหาดังกล่าวเป็นประเด็นใหญ่ที่สุดสำหรับการเดินทางในกรุงเทพมหานคร
2) พัฒนาแนวทางการดำเนินงานสำหรับการสร้างสังคมที่มีหลายรูปแบบภายในปี 2562 และปีต่อๆ ไป เมื่อระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่สามารถเปิดใช้งานได้
3) หาจำนวนผลข้างเคียงในการปรับปรุงการจราจรที่ติดขัดโดยการใช้ตัวชี้วัดการเคลื่อนไหวที่พัฒนาโดยสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
4) พัฒนาแผนธุรกิจสำหรับการร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนโดยมีเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้คน
5) ดำเนินการทดลองทางสังคมเพื่อจำลองผลกระทบจากมาตรการภายในปี 2558 เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาแนวทางการปฏิบัติในปี 2562 และปีต่อๆ ไป
6) ด้วยความร่วมมือระหว่างกระทรวงคมนาคม กรุงเทพมหานคร กองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ รถไฟฟ้าบีทีเอส การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (MRTA) ตัวแทนภาคธุรกิจสาทรและสีลม และบริษัทสมาชิกสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทำให้โครงการคมนาคมอย่างยั่งยืน 2.0 มีการนำวิธีการแก้ปัญหาที่มีความหลากหลายมาผสมผสานกัน เพื่อโน้มน้าวพฤติกรรมการเดินทางของผู้คนให้มีความเป็นไปได้ ก่อให้เกิดการสร้างคุณค่าและธุรกิจใหม่ๆ ซึ่งนำไปสู่ผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมและวงจรการเติบโตทางเศรษฐกิจ
โครงการนี้จะเริ่มที่ถนนสาทรและบริเวณโดยรอบ เพื่อสาธิตให้เห็นสิ่งที่สามารถทำได้ และจะขยายตัวไปยังพื้นที่ส่วนอื่นๆ ของกรุงเทพฯ ซึ่งวิธีแก้ปัญหาต่างๆ จะถูกทดลองนำไปใช้ รวมถึงการส่งเสริมนโยบายจอดและสัญจร เวลาทำงานที่ยืดหยุ่นได้ การใช้รถบัสรับส่งที่จุดต่างๆ และการทำให้การจราจรคล่องตัว ซึ่งความพิเศษของโครงการนี้คือการพัฒนาและการใช้งานแบบจำลองการจราจรของกรุงเทพฯ โดยนำมุมมองแบบ “ภาพมุมสูง” มาใช้เพื่อการปรับปรุงและจัดลำดับความสำคัญให้กับวิธีการแก้ปัญหาที่มีหลากหลาย
การทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ จะมีส่วนช่วยกระตุ้นให้เมืองอื่นๆ ที่กำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายแบบเดียวกัน สามารถขยายผลและค้นพบวิธีการแก้ไขปัญหาจากโครงการดังกล่าว ทำให้กรุงเทพฯ มีส่วนสำคัญในการพัฒนาสังคมโลกให้เจริญรุ่งเรืองและยืนหยัดอย่างมั่นคงตลอดไป