ช่วงนี้คงเป็นที่ทราบกันดี กับพื้นที่ในหลายจังหวัดของประเทศ ที่มีน้ำท่วม เส้นทาง และบ้านเรือน ไร่นา ได้รับความเสียหาย ถนนบางแห่งถูกตัดขาด จนร้ายแรงถึงประชาชนต้องสูญเสียชีวิต ไม่เว้นแม้แต่ ทางรถไฟ ทำให้ประชาชนมีความเดือดร้อนกันอย่างมาก และมีแนวโน้ม ว่าจะเกิดขึ้นทุกปีหากไม่เร่งป้องกันปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจัง
ที่จะเขียนในวันนี้นั้น จะพูดในเชิงของ รถยนต์กับการวิ่งในสภาพน้ำท่วมและขังตามจุดต่างๆของผิวถนน รวมทั้งมารยาทในการใช้รถในการฝ่าคลื่นและลุยน้ำที่จะต้องมีความจำเป็นผ่านและใช้เส้นทางจราจรที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
ถนนหลายแห่งใน กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีสภาพที่แตกต่างกัน บางแห่งก็จะมีผิวทางเดินเท้า บางแห่งที่ถนนแคบอยู่แล้ว ก็ไม่มีทางเท้าสำหรับคนเดินเท้าใดใด โดยเฉพาะตามตรอกซอกซอย ต่างๆ ซึ่งในขณะนี้นั้น ถนนที่อยู่เลียบติดแม่น้ำเจ้าพระยา มีน้ำทะลักเข้าสู่ผิวถนนแล้ว แม้จะมีการป้องกันและเตรียมใช้กระสอบทราบกั้นไว้ล่วงหน้าแต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาได้ ทำให้น้ำนั้นได้เข้ามาท่วมผิวถนน ในหลายๆช่วง รถราจึงต้องขับกันอย่าง ทุลักทุเล และต้องระมัดระวังมากขึ้น
สำหรับ มารยาท ของการใช้รถในการขับผ่านเส้นทางดังกล่าวนี้ เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นการเอื้ออาทร ทั้งต่อเพื่อนร่วมทาง และคนเดินเท้า ที่เขาประสบปัญหาจากรถของท่านที่ไม่ตระหนักในเรื่องดังกล่าว ขับผ่านแอ่งน้ำด้วยความรวดเร็ว หรืออาจจะมีความคึกคะนอง โดยเฉพาะรถใหญ่ ทำให้น้ำกระเซ็น ไปโดนคนเดินเท้า ทำให้เขาเสียโอกาสที่จะเดินทางไปประกอบภารกิจประจำวัน ผู้เขียนเองก็เคยประสบด้วยตนเอง เช่นกัน คือ เปียกทั้งตัวมาแล้ว ไม่สามารถจะหลบได้ทัน จนต้องไม่สามารถเดินทางต่อเพื่อไปทำงานได้ จึงฝากผู้ใช้รถใช้ถนนพึงตระหนักและพึงระวัง อยากให้ท่านสังเกตคนเดินเท้า สักนิดและขับชะลอ เพื่อให้ไม่ส่งผลต่อ ผู้ที่ต้องเดินเท้ากันครับ นอกจากนั้นแล้ว มารยาทนี้ก็จะเป็นผลดีต่อผู้ร่วมทางที่ใช้รถยนต์เป็นพาหนะในเส้นทางเดียวกับเราได้ด้วย เพราะกระแสน้ำ คลื่นที่ขับผ่าน ไม่มีความรุนแรง ทำให้รถที่ขับร่วมทางกันมาคลื่นไม่ไปตีเอาใต้ท้องรถและทำให้เกิดปัญหาเครื่องดับได้ แต่หากรถที่สูงกว่า คิดว่า รถมีความสูง จึงขับด้วยความประมาทและไม่มีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมทาง ก็จะทำให้เกิดปัญหาตามมา คือ รถที่ใช้เส้นทางร่วมกันนั้นอาจดับ นอกจากเป็นผลเสียแล้ว ยังส่งผลต่อปัญหาจราจรเกิดขึ้นตามมาอีก
วิธีการขับรถผ่านเส้นทางที่มีน้ำท่วมผิวถนน ผมอยากให้ท่านสังเกต ก่อนครับว่า น้ำที่ท่วมเส้นทางนั้น อยู่ในระดับใด สูงมากกว่าที่รถจะผ่านไปหรือไม่ ให้สังเกตดูจาก ขอบทางหรือ มองไปที่ผิวน้ำที่ขัง หากไม่เห็นผิวถนน แล้ว ท่านอย่าได้นำรถวิ่งผ่านเด็ดขาด เพราะระดับน้ำ จะสูง อาจจะเกินระดับครึ่งล้อ ของรถเก๋งทั่วไป อาจทำให้ไม่สามารถผ่านได้ และเกิดความเสียหายต่อทั้งระบบเครื่องยนต์ และทำให้รถยนต์ของท่านน้ำเข้าห้องโดยสารได้อีก แต่หากน้ำที่ท่วมนั้นไม่สูงมากตามที่กล่าวมานั้น ท่านสามารถผ่านได้ แต่หากเป็นเส้นทางที่น้ำท่วมยาวกินระยะทางไกล ผมอยากให้ลองเปลี่ยนเส้นทางหลบเลี่ยงไปเส้นทางอื่นที่จะปลอดภัยกว่า แต่หากเป็นเส้นทางไม่ไกลนัก ทางที่ดี ควรป้องกัน รถตนเองในระดับหนึ่ง คือ ปิดเครื่องปรับอากาศของท่าน เปิดกระจกรถเพียงเล็กน้อย พอให้อากาศไหลเวียน ถ่ายเท และป้องกัน น้ำจากรถใกล้เคียงวิ่งด้วยความเร็วกระเซ็นเข้ามาในรถท่านได้ด้วย และควรขับอย่างช้าๆ เลี้ยงรอบให้คงที่
ห้ามเบารถแล้วเร่งเครื่อง โดยเด็ดขาด ไม่ควรให้รอบต่ำจนเกินไป เพราะอาจทำให้ดับได้ แต่ก็ไม่ถึงกับเร่งเครื่องยนต์ของท่านอยู่ตลอดเวลา เพราะอาจทำให้น้ำเข้าท่อไอเสีย เครื่องสำลักน้ำขึ้นมาได้อีก และรักษาความเร็ว และรอบให้คงที่ไปเรื่อยๆ จะอยู่ประมาณ 2000 – 2500 รอบ/นาที น่าจะเหมาะสม ครับ
นอกจากนั้น ในช่วงนี้ที่ฟ้าฝน เอาแน่เอานอนไม่ได้ และความไม่แน่นอน ของน้ำที่จะมาท่วมผิวจราจรก็ ต้องติดตามกันเป็นวันต่อวัน ฉะนั้น การตรวจตรา รถยนต์ของท่านให้มีสภาพสมบูรณ์ จึงเป็นการป้องกันที่ดีที่สุด อย่างน้อยตรวจสอบ น้ำต่างๆในรถยนต์ ทั้งน้ำมันเครื่อง น้ำมันเบรก น้ำมัน คลัทช์ (เกียร์ธรรมดา) น้ำมันพาวเวอร์ ต่างๆ รวมทั้งระดับน้ำในระบบหล่อเย็น เพียงเท่านี้ก็จะอุ่นใจ ว่ารถของท่านมีความสมบูรณ์ และหากทุกๆท่าน ได้มีความระวังในการใช้รถลุยน้ำในภาวะต่างๆตามที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ทุกๆท่านก็จะใช้รถในช่วงหน้าน้ำ ผ่านมันไปได้อย่างแน่นอนที่สุดครับ
ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การมีน้ำใจ ตระหนักในการใช้รถของผู้ร่วมทางและสำคัญอย่างยิ่ง คือ ใส่ใจต่อคนเดินเท้า ที่พวกเขาไม่มีเครื่องป้องกันตัว ใดใดทั้งสิ้น สักนิด เราจะสามารถป้องกันตนเอง ให้เดินทางไปประกอบกิจการ ธุระประจำวัน ของท่านได้อย่างมีความสุขกันถ้วนหน้า ครับ
“ไพรม์มัส กรุ๊ป…